4 พ.ค. เวลา 15:21 • ข่าวรอบโลก

เด็กญี่ปุ่นน้อยลงทุกปี ต่ำสุดต่อเนื่องเป็นปีที่ 43 เด็กอายุต่ำกว่า 15 เหลือ 14.01 ล้านคน

วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเดิมจะหมายถึงวันเด็กผู้ชาย ในวันนี้
จะมีการประดับปลาคาร์ฟตามบ้านที่มีเด็กผู้ชาย สัญลักษณ์ของความแข็งแรง และเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์
ส่วนวันเด็กผู้หญิงจะตรงกับวันที่ 3 มีนาคมของทุกปีที่บ้านไหนมีลูกสาวก็จะประดับตุ๊กตาฮินะ เมื่อพ้นวันก็ต้องรีบเก็บ มิฉะนั้น เชื่อกันว่าผู้หญิงจะออกเรือนช้า หรือ
ไม่ได้ออกเรือน แต่ไม่ได้จัดเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์
ในช่วงวันเด็กของทุกปี กองสถิติ กระทรวงมหาดไทย
ของญี่ปุ่นได้ถือโอกาสในช่วง "วันเด็ก" นี้ เปิดเผย
จำนวนประชากรเด็ก (เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี) ในปัจจุบัน ณ วันที่ 1 เมษายน 2567 ที่อยู่ภายในประเทศญี่ปุ่น ว่า มีจำนวน 14,010,000 คน หรือ 14.01 ล้านคน น้อยลงทุกจังหวัดทั้ง 47 จังหวัด และน้อยลงเรื่อยๆ ติดต่อกันเป็นปีที่ 43 นับตั้งแต่ปี 2525 และน้อยลง
กว่าปีที่แล้ว 330,000 คน ต่ำที่สุดเท่าที่เคยมีมา
โดยแบ่งเป็น
- เด็กชาย 7,180,000 คน
- เด็กหญิง 6,830,000 คน
Image Credits: กองสถิติ กระทรวงมหาดไทยญี่ปุ่น, การจำแนกจำนวนประชากรโดยการแบ่งช่วงวัยเด็กออกเป็นทุกระยะ 3 ปี
จำนวนเด็กๆ หากจำแนกจำนวนประชากรเด็ก
ออกเป็นทุกระยะ 3 ปีแล้ว พบว่า
อายุยิ่งน้อยยิ่งมีจำนวนเด็กยิ่งน้อยลง คือ
อายุตั้งแต่ 0 – 2 ขวบ 235,000 คน
อายุตั้งแต่ 3 – 5 ขวบ 257,000 คน
อายุตั้งแต่ 6 – 8 ขวบ 288,000 คน
อายุตั้งแต่ 9 – 11 ขวบ 305,000 คน
อายุตั้งแต่ 12 – 14 ปี 317,000 คน
หากแบ่งออกเป็น 3 ช่วงวัยแล้ว ประกอบด้วย
อายุตั้งแต่ 0 – 5 ปี วัยก่อนอนุบาล
ที่ยังไม่เข้าเรียน 491,000 คน
อายุตั้งแต่ 6 – 11 ปี วัยนักเรียนประถม
593,000 คน
อายุตั้งแต่ 12 –14 ปี วัยนักเรียนมัธยมต้น
317,000 คน
Image Credits: กองสถิติ กระทรวงมหาดไทยญี่ปุ่น, ข้อมูลแสดงแนวโน้มและสัดส่วนของประชากรญี่ปุ่นโดยแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุคน
เมื่อเทียบกับปี 2493 สัดส่วนของเด็กอยู่ที่ 35.4%
หรือมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด แต่หลังยุคเบบี้บูม ครั้งแรก (2490 - 2492) ได้สะท้อนถึงอัตราการเกิดที่น้อยลง โดยอัตราการเกิดในปี 2513 ลดลงเหลือ 23.9%
แต่หลังจากนั้น ได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในยุคเบบี้บูม
ครั้งที่ 2(2514 – 2517) เพิ่มขึ้น 24.4% ในปี 2517
แต่ในปี 2518 ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง
และล่าสุด ในปี 2567 เท่ากับ 11.3% ต่ำที่สุด
เท่าที่เคยมีมา อัตราส่วนของเด็กต่อประชากร
โดยรวม เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ลดลง 0.2 จุด
เหลือ 11.3% ของจำนวนประชากรทั้งหมด
ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ นับเป็นการลดลง
ของประชากรต่อเนื่องเป็นปีที่ 50 นับตั้งแต่
ปี 2518 เป็นต้นมา
จังหวัดที่มีจำนวนเด็กๆ เกิน 1,000,000 คน
มีเพียงกรุงโตเกียว และจังหวัดคานากาวะ
2 จังหวัดเท่านั้น
ในขณะเดียวกัน หากดูตามอัตราส่วนของเด็ก
ตามแต่ละจังหวัดทั่วประเทศญี่ปุ่นแล้ว ณ
เดือนตุลาคม 2566 ปีที่แล้ว ตัวเลข ณ ปัจจุบัน
ลำดับจังหวัดที่มีอัตราส่วนของเด็กมากที่สุด คือ
1. จังหวัดโอกินาวะทางตอนใต้สุดมีอัตราส่วน
ของเด็กมากที่สุด เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ
เท่ากับ 16.1%
2. จังหวัดชิกะที่อยู่กับจังหวัดเกียวโต
เท่ากับ 13%
3. จังหวัดซากะ 12.9%
4. จังหวัดคุมาโมโตะ 12.8%
5. จังหวัดมิยาซากิ และ จังหวัดคาโกชิมะ 12.7%
แต่ในทางกลับกัน ลำดับจังหวัดที่มีอัตราส่วนของ
เด็กน้อยที่สุด คือ
1. จังหวัดอาคิตะ 9.1%
จังหวัดที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
2. จังหวัดอาโอโมริ 10.0%
จังหวัดที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. เกาะฮ็อกไกโด
ตอนเหนือสุดของญี่ปุ่น 10.1%
4. จังหวัดอิวาเทะ 10.3%
5. จังหวัดโคจิ 10.5%
โดย 3 อันดับแรกเท่ากับปีที่แล้ว
Image Credits: Pixabay, จังหวัดโอกินาวะทางตอนใต้สุดมีอัตราส่วนของเด็กมากที่สุด เมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ คือ มีเท่ากับ 16.1%
อัตราการเกิดในจังหวัดโอกิตาวะ จำนวนเฉลี่ย
ของหญิงหนึ่งคนสามารถให้กำเนิดจำนวนบุตร
ต่อตลอดช่วงชีวิตของเธอมากที่สุด
ศาสตราจารย์มาโกโตะ โมโตมุระ จาก
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลังริวกิว จังหวัดโอกินาวะ
วิเคราะห์ถึงสาเหตุที่จังหวัดโอกินาวะ
มีอัตราการเจริญพันธุ์ของประชากร
สูงกว่าที่อื่น ว่า
“ ในจังหวัดโอกินาวะ ทุกคนยังมีส่วนของวัฒนธรรม
การช่วยเหลือกันที่ยังหลงเหลืออยู่ทั้งเมืองนาฮา
และตามท้องที่หลายแห่งก็จะช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ในระหว่างญาติมิตรด้วยกัน ในกรณีที่ต้องจัดอันดับความสำคัญ จึงน่าจะจะเลือกเรื่องการอยู่กับเด็กมาก่อนได้ง่าย”
บางคนที่สามีภรรยาทำงานทั้งคู่และต้องกลับบ้านดึก
ก็จะมีคุณแม่ ที่พักอาศัยด้วยกัน ทำอาหารเย็นและช่วยเลี้ยงดูลูกให้เป็นส่วนใหญ่ ยิ่งกว่านั้น ในช่วงใดที่ยุ่งกับภารกิจหน้าที่การงาน ก็จะช่วยไปรับลูกถึงโรงเรียนอนุบาลบ้าง อาบน้ำให้บ้าง และอื่นๆ
บางคนกล่าวว่า ปู่ย่าตายายที่อยู่รอบข้าง ก็มักจะพูดเสมอตั้งแต่ตนยังเด็กว่า “พวกเราเป็นลูกๆ ของทุกคน
ลูกๆ เป็นของมีค่า” หมายถึง “ลูกของคนอื่นก็เหมือน
ลูกของตน“
มีการแบ่งปันกับข้าวกันระหว่างคนรู้จักบ้าง มอบเสื้อผ้าของลูกให้เด็กๆ ได้ใส่บ้างโดยกล่าว่า มีความรู้สึกของ
“จิตวิญญาณการช่วยเหลือกัน” ที่ฝังรากลึกไว้
แต่ถึงกระนั้นก็พบว่า แนวโน้มของประชากร
ในจังหวัดโอกินาวะก็น้อยลงเรื่อยๆ ตั้งแต่
สองปีที่แล้วเป็นต้นมา
ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้หน่วยงานปกครองท้องถิ่น หรือ อบจ. ของจังหวัดโอกินาวะก็เป็นจังหวัด
ที่ให้ความกระตือรือร้นในการเดินหน้าเปิดรับผู้มา
พักอาศัย หรือ ย้ายถิ่นมาอยู่ประจำ
ภายในเมือง มีศูนย์ช่วยเหลือการเลี้ยงเด็ก
เพื่อเสนอสถานที่ที่สำหรับสร้างความสัมพันธ์
แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันระหว่างพ่อแม่ลูกด้วยกัน
การให้การดูแลช่วยเหลือผู้ปกครอง รวมถึงเรื่อง
การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลกับผู้ปกครอง
ในการเลี้ยงดูเด็กๆ ด้วย
บางคนที่มาอยู่อาศัยกล่าวว่า ผู้คนใน
จังหวัดโอกินาวะจะแตกต่างจากการเลี้ยงดู
เด็กเล็กของจังหวัดอื่นๆ
ผู้คนในท้องถิ่นมีอัธยาศัยไมตรีดี ทักทายปราศัย
ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกัน ทำให้เกิดวัฒนธรรม
ความผูกพันที่ฝังลึกมาตั้งแต่เด็ก
ในส่วนของทางราชการก็ให้ความสำคัญในเรื่อง
การเลี้ยงดูเด็ก การช่วยเหลือพักพิงของเด็กๆ การให้คำปรึกษาต่างๆ ด้วยเช่นเดียวกัน
Image Credits: Gettyimage, ปัญหาจำนวนประชากรเด็กน้อยลงเรื่อยๆ กำลังเป็นปัญหาวิกฤติในสังคมญี่ปุ่นที่สร้างความหนักใจในการวางมาตรการเพื่อแก้ไขของรัฐบาลญี่ปุ่น
ปัญหาจำนวนประชากรเด็กน้อยลงเรื่อยๆ จึงเป็นปัญหา
ที่สร้างความหนักใจให้กับสังคมญี่ปุ่นและเป็นวาระวิกฤติ
ที่รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามหามาตรการทุกวิถีทางเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ทั้งการให้สิทธิ์ลาคลอดบุตรของสามีภรรยา การให้เงินช่วยเหลือแก่ครัวเรือน การให้คำปรึกษาและช่วยเหลือด้านการบริการการเลี้ยงดูเด็ก และอื่นๆ
เพื่อจูงใจให้คนมีบุตร แต่ดูจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก
Image Credits: Pixabay, อัตราส่วนของเด็กญี่ปุ่นเมื่อเทียบกับอัตราส่วนของประชากรในระดับโลกแล้ว ญี่ปุ่นยังมีสัดส่วนของเด็กอยู่อันดับ 2 มากกว่าเกาหลีใต้
หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ตามข้อมูลของ
“World Population Prospects, The 2022 Revision” ของสหรัฐอเมริกา ประเทศที่เมื่อเทียบกับประชากรโดยรวมแล้ว มีอัตราส่วนของเด็กน้อยที่สุด ญี่ปุ่นจะอยู่อันดับ 2 โดยมีลำดับ ดังนี้
1. เกาหลีใต้ 11.2%
2. ญี่ปุ่น 11.3%
3. อิตาลี 12.2%
4. สเปน 13.5%
5. เยอรมัน 14.0%
6. โปแลนด์ 14.9%
7. ไทย 15.2%
8. จีน 16.8%
9. ฝรั่งเศส 17.0%
10. อังกฤษ 17.2%
11. รัสเซีย 17.6%
12. สหรัฐอเมริกา 17.7%
13. บราซิล 20.0%
14. โคลัมเบีย 21.1%
15. เวียดนาม 22.2%
ภาพและข้อมูลอ้างอิง:
news/01toukei03_01000120.html
topi1410.html
กด “ไลค์ (like)”
กด “แชร์ (share)”
กด “คอมเมนท์ (comment)”
เพื่อการติดตามสาระดีๆ ในตอนต่อไป
โฆษณา