5 พ.ค. เวลา 01:24 • ความคิดเห็น
สำหรับหนู/ดิฉัน(มุมมองส่วนตัว) มองแบบนี้ค่ะ..
1) ผู้เชื่อ : คนปกติทั่วไปมีวิธีเลือก/ตัดสินใจพื้นฐานคล้ายๆ กัน คือ "เชื่อในสิ่งที่เห็น และตัดสินในสิ่งที่เชื่อ" บางครั้งยังหาเหตุผลมารองรับไม่ได้ (แม้แต่เงาในกระจกที่เราเห็นชัดเจนยังหลอก/ทำให้เข้าใจผิดได้เลยค่ะ)
# รากเหง้าที่มีในทุกคน คือ ความไม่รู้ ความยากมี/เป็น/ไม่อยาก และความยึดถือ
2) ผู้ที่ทำให้เชื่อ : โดยสภาพที่ปรากฎแล้ว หากมอง/พินิจพิเคราะห์ ก็ไม่มีอะไรเกินไปกว่าที่ขณะพบเห็นครั้งแรก แต่ที่มากกว่าคือ "การปรุงแต่ง"
เหมือนกันกับคนที่เพิ่งตื่นนอนใหม่ๆ ลองส่องกระจก ย่อมพบความจริงที่ปรากฎตรงหน้า แต่เพราะตัวเองมีความชอบใดๆ ก่อนอยู่แล้ว จึงแต่งเติมสิ่งที่คิด/ชอบ..
อ่านเพิ่มเติม..[https://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=158]
3) การประโคม : สื่อกลางที่นำส่งถึงผู้คนที่ผ่านทางภาพ/เสียงเป็นตัวเร่งให้ผู้เชื่อ(1) กับ ผู้ที่ทำให้เชื่อ(2) มาพบกัน พร้อมกับจัดมุม/บรรยาย/ชักชวน..
มุม/ด้านที่ถูกนำเสนอ ก็มีเฉพาะด้านที่จำเพาะมากๆ (อาจเทียบได้ 1/100) ที่เหลือล้วนแต่งเติม..(ส่วนที่คาดหวัง, ความหวาดกลัว, ความไม่รู้เท่าทัน_สับสน)
[แนะนำหนังสือ] : “คู่มือมนุษย์” โดย พุทธทาสภิกขุ
#ชีวิตสำคัญที่เป้าหมาย วิธีคิด และการกระทำ
โฆษณา