5 พ.ค. เวลา 15:47 • ไอที & แก็ดเจ็ต

การสร้าง Custom Software ก็เหมือนการสร้างบ้านค่ะ

วันนี้ทำ Option ไปให้ลูกค้าเลือก ว่าจะเลือกทางไหนดี แบบที่ 1 หรือแบบที่ 2 มีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร
เจอ User ถามกลับว่า
“เราทำเผื่อไปก่อนเลยได้หรือไม่ครับ ในอนาคตจะได้ไม่ต้องเสียเงินปรับปรุงระบบ”
คำถามนี้เป็นคำถามที่มักเจอบ่อยๆ เลยค่ะ
User อยากทำเผื่อไว้ก่อน คิดให้ครบไว้ก่อน เอาเยอะๆ ไว้ก่อน ในการทำ Software
เพราะกลัวเสียตังค์กับ Vendor ในการปรับปรุงรอบหน้า
แต่การทำเผื่อไม่ได้มีข้อดีเสมอไปค่ะ เกิดทำไปเผื่อแล้วไม่ได้ใช้
หรือ Business มีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตก็ต้องปรับปรุงระบบใหม่อยู่ดี
User อยากให้ทำเป็น Config เพิ่มลด ข้อมูลได้เองในอนาคต อันนี้ขึ้นอยู่กับ ขอบเขตที่ตกลงกันค่ะ
การทำเป็น Config ทาง Vendor เองก็มี Effort ในการพัฒนาเพิ่ม ทำทุกเมนูเป็น Config ไว้ได้หรือไม่ ได้ แต่ Effort + Timeline บานปลายแน่นอน ต้องมีทั้งการทดสอบที่เพิ่มขึ้น
Custom Software ที่ออกแบบ กำลังตอบโจทย์อะไร จึงควรมี Roadmap ที่ชัดเจน
ทำไมจึงเปรียบเทียบกับการสร้างบ้าน?
การสร้างบ้าน ถ้าวันนี้บอกได้ชัดเจนว่า อยากได้ บ้าน 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ 2 ห้องครัว สำหรับลูกค้าที่มีเป้าหมายชัดเจน ว่าต้องการรองรับครอบครัวที่พอดีกับห้องนอน 3 ห้อง (เช่น วันนี้ยังไม่มีลูก แต่รู้ว่าในอนาคตจะมีลูก 2 คน) ทีม Development ก็จะสามารถออกแบบและสร้างให้ได้ตรงความต้องการ
แต่ถ้า ณ วันนี้ยังไม่มีรู้ล่วงหน้า แต่อยากได้ บ้าน 5 ห้องนอนไว้ก่อน เผื่อไว้ อนาคตเป็นอย่างไรไม่รู้ ก็ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นสำหรับ 5 ห้องนอนค่ะ ใช่ว่าผู้รับเหมาจะทำสำหรับเผื่อให้ได้ในราคาที่จ่ายมาสำหรับ 3 ห้องนอน
นอกจากนั้น การอยู่บ้านต้องซ่อมแซม ปรับปรุงบ้านฉันใด Software ก็ต้องปรับปรุงฉันนั้นค่ะ
ถ้าให้เทียบแบบเข้าใจง่าย Facebook Version แรกที่ใช้งาน จนถึงปัจจุบันนี้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างเอ่ย?
แล้ว Software ของคุณที่จ้าง Develop ขึ้นมา คิดว่าจะใช้ไปอีกหลายปี โดยไม่ต้องมีการปรับปรุงเลยหรือ เป็นไปไม่ได้ค่ะ อย่างน้อยเลยนะ ใช้ไปได้ 1 ปี ก็ต้องมีการอยากปรับเปลี่ยนอะไรซักอย่างแล้ว
Requirement ที่ให้มาในวันแรก ให้ตาม Business ที่เป็นอยู่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป Business จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยหรือ เป็นไปไม่ได้ค่ะ
Phase แรกของการมี Software ให้ User ใช้งานเป็น เรื่องที่ยากที่สุด เพราะ User ยังไม่เคยเห็นภาพ ยังไม่เคยได้ลองใช้โปรแกรมจริงๆ แน่นอนว่าแต่ละคนมีจินตนาการ ภาพในหัวที่แตกต่างกัน ตรงนี้อาจจะใช้ Prototype , UX/UI เข้ามาช่วย
การ Clear Scope ให้ชัดเจนเป็นหน้าที่สำคัญของ Project Manager และ Business Analyst ที่ยืนอยู่ตรงกลางระหว่าง User กับทีม Project ที่จะต้องเคลียร์และหาตรงกลางระหว่างกัน ว่าจะทำอย่างไรให้ Software เกิดขึ้นมาเป็นรูปเป็นร่างได้ ใน Phase แรก แบบที่ User พึงพอใจและเข้าใจว่า Software รองรับความต้องการ ณ ปัจจุบันได้เพียงพอแล้ว
ในอนาคต หากต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพิ่มลด ก็เป็น Scope ในงานถัดไป
การทำเผื่อไว้โดยที่ยังไม่ได้ใช้ตอนนี้ และไม่รู้ว่าจะได้ใช้หรือไม่ในอนาคต ด้วยงบประมาณที่มี และเวลาที่จำกัดของคุณเอง บางทีแล้ว การปรับปรุงให้ตรงความต้องการจริงๆ ในแต่ละช่วงเวลาของการใช้งาน อาจจะมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า การทำเผื่อ แล้วไม่ได้ใช้งาน อย่าลืมว่าผู้รับเหมาเองก็มีค่าแรงในการทำงานแต่ละขั้นแต่ละตอนเช่นกัน
โฆษณา