Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชูใจ คลินิกการแพทย์แผนไทย สุขุมวิท101/2
•
ติดตาม
12 พ.ค. 2024 เวลา 02:50 • สุขภาพ
ชูใจ คลินิกการแพทย์แผนไทย สุขุมวิท101/2
โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell’s palsy)
โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกหรืออัมพาตแบบเบลล์ เป็นโรคที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 สาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าวยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีทฤษฎีที่เชื่อว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่ม Herpes (งูสวัด เริม) โดยตรง หรือเกิดจากมีการกระตุ้นเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ที่แฝงตัวหรือหลบซ่อนอยู่ให้แสดงอาการออกมาภายหลัง
อาการของโรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีกเป็นอย่างไร
อาการของโรคมักเกิดขึ้นแบบกะทันหัน เช่น ตื่นนอนตอนเช้าแล้วมีอาการของโรคทันที โดยจะพบว่ามีสัญญาณบ่งบอก ดังนี้
🎯💉 สัญญาณที่ 1 อ่อนแรงครึ่งซีก
ถ้าเราตื่นเช้ามา หรือจู่ๆ ก็มีอาการฉับพลันขึ้นมาเลย ไม่ว่าจะแขน ขา ของข้างนั้นๆ ยกไม่ขึ้นเลย แบบนี้ให้รีบมาโรงพยาบาลทันทีเลยน เพราะมันอาจจะบ่งบอกว่าคุณอาจจะมีลิ่มเลือดอุดตันในสมองได้
🎯💉 สัญญาณที่ 2 ชาครึ่งซีก
ถ้าหากเรามีอาการชา หรือจู่ๆ ชาฉับพลันขึ้นมาทันที ไม่ว่าจะชาแขน ขา ข้างขวา หรือ แขน ขา ข้างซ้าย ครึ่งซีก หรืออาจจะเกิดร่วมกับการที่เรามีอาการอ่อนแรงด้วย อันนี้ก็อาจจะเป็นตัวบ่งบอกได้เช่นกันว่า คุณอาจจะมีลิ่มเลือดอุดตันในสมองก็เป็นได้
แต่สำหรับใครที่ชาปลายมือ ปลายเท้า อันนี้อาจจะไม่ใช่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นในเรื่องของปลายประสาทอักเสบมากกว่า แต่ถ้าใครไม่มั่นใจ ที่จู่ๆมีอาการชาขึ้นมาแนะนำว่าให้รีบไปโรงพยาบาลทันทีเลย เพื่อทำการตรวจและรักษาต่อไป
🎯💉 สัญญาณที่ 3 หน้าเบี้ยวปากเบี้ยว
ลองสังเกตุดูนะคะ หากใครตื่นนอนตอนเช้ามา ลุกไปล้างหน้าแปรงฟัน จู่ๆมุมปากของเราตก ยิงฟันแล้วมุมปากข้างนึงตก ยกขึ้นแค่ข้างเดียว ร่วมกับอาจจะมีอาการที่ตาปิดไม่สนิท หรือยักคิ้วก็ไม่ได้ไปข้างนึง อันนี้ก็จะเป็นตัวบ่งบอกได้เช่นกัน ว่าคุณอาจจะมีลิ่มเลือดอุดตันในสมองแล้วก็ได้
🎯💉 สัญญาณที่ 4 พูดไม่ชัด
หากปกติพูดชัดเจนดี พูดได้ปกติ แต่จู่ๆ กลับพูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ลิ้นพัน บางทีถึงกับพูดออกมาไม่ได้เลยแบบนี้ อาจจะเป็นสัญญาณนึงที่จะเป็นตัวบ่งบอกได้เช่นกัน ว่าคุณอาจจะมีลิ่มเลือดอุดตันในสมองแล้วก็ได้ เพราะว่าเวลาลิ่มเลือดมันไปอุดตันบริเวณที่เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมหรือบังคับการพูดของเรา ก็จะทำให้ส่วนนั้นทำหน้าที่ผิดปกติไป ก็จะส่งผลให้เราพูดได้ไม่ชัด
🎯💉 สัญญาณที่ 5 วิงเวียนศรีษะ
อาการนี้ก็เป็นตัวบ่งบอกได้เช่นกัน ว่าอาจจะเป็นเส้นเลือดในสมอง ตีบ แตก ตัน แล้วก็ได้ แต่ต้องบอกไว้ก่อนว่า อาการเวียนศรีษะเนี่ยไม่ใช่ว่าจะเป็นเส้นเลือดอุดตันอย่างเดียว อาจจะเกิดจากโรคอื่นก็ได้ เช่น โรคหินปูนในหูหลุด แต่ทั้ง 2 โรคนี้ก็จะมีความแตกต่างกัน ถ้าเป็นเส้นเลือดในสมองตีบหรือว่าลิ่มเลือดอุดตันจะมีอาการเวียนศรีษะมาก แล้วพักยังไงก็ไม่ดีขึ้น กินยาแก้เวียนศีรษะแล้วก็ไม่หาย อยู่นิ่งๆแล้วก็ไม่ดีขึ้น จะนอนจะนั่งก็แล้วก็ไม่หาย ร่วมกับมีอาการอาเจียนด้วย
การรักษาทำได้อย่างไร
1. การรักษาด้วยยา ยาที่ใช้มักเป็นยาในกลุ่มสเตียรอยด์ (ยา prednisolone) และอาจมีการให้ยาต้านไวรัส ยาในกลุ่มวิตามินบีรวม หรือยาที่มีฤทธิ์รักษาเส้นประสาทส่วนปลาย โดยการให้ยาต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์
2. การรักษามักใช้การประคบร้อนเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังบริเวณที่มีการอ่อนแรง การใช้หลักการรักษาด้วยการนวดหน้าเพื่อป้องกันกล้ามเนื้อใบหน้าฝ่อลีบ การใช้เทคนิคกระตุ้นร่วมกับฝึกการหดตัวของกล้ามเนื้อใบหน้า รวมถึงการรักษาด้วยการนวดและออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้าด้วยตนเอง
3. การผ่าตัด กรณีมีอาการคงอยู่นานเกิน 9 เดือนขึ้นไป แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7
การออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้า เพื่อให้มีกำลังกล้ามเนื้อมากขึ้น ลดการฟ่อลีบ และกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกลับมาทำงานอีกครั้งค่ะ โดยการออกกำลังกายใบหน้า เราจะให้คนไข้มองตัวเองที่หน้ากระจก เพื่อดูการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเริ่มแรกให้ใช้มือช่วยในการออกกำลังกาย ถ้าเริ่มเห็นการเคลื่อนไหวมากขึ้นค่อยๆลดการช่วยลง ทำท่าละ 20 ครั้ง 3 รอบ/วัน
ท่าที่ 1 ให้ฝึกยักคิ้วขึ้นทั้งสองข้าง
ท่าที่ 2 ให้ฝึกขมวดคิ้วเข้าหากัน
ท่าที่ 3 ให้ฝึกย่นจมูก
ท่าที่ 4 ให้ฝึกหลับตาหลับตาปี๋
ท่าที่ 5 ให้ฝึกทำจมูกบาน
ท่าที่ 6 ให้ฝึกยิ้มโดยไม่ยกมุมปาก
ท่าที่ 7 ให้ฝึกยิ้มยกมุมปากขึ้น
ท่าที่ 8 ให้ฝึกทำปากจู๋
ติดต่อเรา
facebook.com
ชูใจ คลินิกการแพทย์แผนไทย สุขุมวิท101/2 | Bangkok
ชูใจ คลินิกการแพทย์แผนไทย สุขุมวิท101/2, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. 2,603 likes · 47 talking about this · 139 were here. คลินิกการแพทย์แผนไทย
สุขภาพ
ความรู้รอบตัว
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย