Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ชูใจ คลินิกการแพทย์แผนไทย สุขุมวิท101/2
•
ติดตาม
17 พ.ค. 2024 เวลา 02:00 • สุขภาพ
ชูใจ คลินิกการแพทย์แผนไทย สุขุมวิท101/2
นิ้วล็อค (Trigger Finger)
นิ้วล็อค (Trigger Finger) หรือทางแพทย์แผนไทยเรียกว่า ลมปลายปัตคาตข้อนิ้วมือหรือนิ้วไกปืน คือ อาการที่นิ้วเกิดล็อคเมื่องอนิ้ว แล้วไม่สามารถกลับมาเหยียดตรงได้ง่าย เกิดจากการอักเสบหนาตัวของปลอกเอ็นกล้ามเนื้อที่นิ้ว ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อที่อยู่ภายในไม่สามารถยืดหดได้ตามปกติ นิ้วก็จะเกิดอาการล็อค ไม่สามารถกลับมายืดตรงได้ตามปกติ
สาเหตุของนิ้วล็อค
เอ็นคือพังผืดที่ยึดกล้ามเนื้อและกระดูกไว้ด้วยกัน ซึ่งเอ็นและกล้ามเนื้อที่มือและแขนจะช่วยให้นิ้วมืองอและยืดได้ โดยเอ็นแต่ละส่วนถูกล้อมรอบไว้ด้วยปลอกหุ้มเอ็น อาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้น เมื่อเส้นเอ็นมีการอักเสบจะบวมและหนาตัวขึ้น ทำให้มีอาการเจ็บบริเวณเส้นเอ็น และเมื่อขยับเส้นเอ็นที่บวมจะลอดผ่านห่วงรอกนี้ได้ลำบาก ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อกตำแหน่งที่เส้นเอ็นลอดผ่านห่วงรอกตรงโคนนิ้วมือ
อาการของนิ้วล็อค
นิ้วล็อคมักเกิดขึ้นกับนิ้วโป้ง นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง ทั้งนี้ อาการนิ้วล็อคอาจเกิดขึ้นกับนิ้วหลายนิ้วได้ในเวลาเดียวกัน หรืออาจเกิดขึ้นได้กับนิ้วมือทั้ง 2 ข้างด้วย โดยอาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นเมื่อนิ้วใดนิ้วหนึ่งพยายามงอในขณะที่มือต้องออกแรงทำบางอย่าง เมื่อนิ้วล็อค อาจจะเกิดอาการดังนี้
• รู้สึกดังกึกเมื่อต้องงอหรือยืดนิ้ว
• เกิดอาการนิ้วแข็ง ซึ่งมักเกิดขึ้นตอนเช้า
• รู้สึกตึงและรู้สึกเหมือนมีบางอย่างนูนขึ้นมาตรงโคนของนิ้วที่ล็อค
• นิ้วล็อคเมื่องอนิ้ว ซึ่งเกิดขึ้นทันทีที่ยืดนิ้วกะทันหัน
• นิ้วล็อคเมื่องอนิ้วโดยไม่สามารถยืดนิ้วกลับมาได้
การรักษา
1. การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
ถ้าผู้ป่วยมีอาการยังไม่มากใช้วิธีการรักษาโดยไม่ผ่าตัด
• ในกรณีที่ไม่มีความร้อนบริเวณนิ้ว เราจะใช้การเผายา โดยใช่ความร้อนเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว แล้วอาจจะเป็รการแช่มือต่อเนื่อง 10 - 14 วัน
• หัตถการกอกโลหิต ในเฉพาะบางรายที่มีจุดจำเพาะจริงๆ เพื่อให้ผังฝืดบริเวณนั้นคลายตัวมากขึ้น
2. การรักษาโดยการผ่าตัด
ทำในรายที่เป็นมานานๆ และการรักษาโดยไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล โดยการตัดห่วงรอกที่เส้นเอ็นลอดผ่านออกไป
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคข้อนิ้วล็อก
1. ไม่ขยับนิ้วหรือดีดนิ้วที่มีอาการเล่น เพราะจะทำให้เส้นเอ็นอักเสบมากยิ่งขึ้น
2. เมื่อต้องทำงานที่ต้องกำหรือจับสิ่งของแน่นๆ เช่น จับตะหลิว ผักกับข้าว จับไม้กอล์ฟ ควรดัดแปลงอุปกรณ์ที่ต้องใช้สม่ำเสมอนั้นโดยการพันฟองน้ำหรือผ้ารอบๆ ด้ามจับ เพื่อให้ด่ามจับอ้วนขึ้น ทำให้เวลาจับกำมือหลวมขึ้น แต่ไม่ควรทำให้ด้ามจับนั้นอ้วนเกินไป ขนาดที่พอเหมาะคือสามารถกำได้หลวมๆ โดยไม่เมื่อยนิ้วมือ
3. ถ้ามีข้อฝืดตอนเช้า การแช่น้ำอุ่นร่วมกับการขยับมือกำเบเบาๆ ในน้ำจะทำให้ข้อมือฝืดลดลง
สุขภาพ
ความรู้รอบตัว
บทความ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย