8 พ.ค. เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

3 นวัตกรรมพลังงานสะอาด ขับเคลื่อนโลกสู่ความยั่งยืน

สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้วในปัจจุบันกำลังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ชีวิตของมนุษย์ ซึ่งเรื่องนี้ก็มีสาเหตุมาจากตัวมนุษย์เองที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาลจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ดังนั้น การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) จึงกลายเป็นเมกะเทรนด์ที่คนทั้งโลกให้ความสนใจ
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดเติบโตอย่างรวดเร็วจากการผลักดันของภาครัฐผ่านนโยบายการให้เงินอุดหนุนและมาตรการทางภาษี ในขณะที่ภาคเอกชนก็มุ่งมั่นกับการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานต่าง ๆ
โดยข้อมูลจาก S&P Global Commodity Insights คาดการณ์ว่าในปี 2024 จะมีเม็ดเงินลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานสะอาด (Clean Energy Technology) ราว 800,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 28.80 ล้านล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นราว 20% จากการใช้จ่ายในปี 2023
โดยเม็ดเงินลงทุนเหล่านี้ราว 55% ถูกใช้เพื่อการพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ รองลงมาคือพลังงานลมบก (Onshore Wind) 22% และรองลงมาอีกคือแบตเตอรี่การจัดเก็บพลังงาน (Battery Storage System หรือ BSS) 11% ซึ่งในส่วนนี้กำลังมีแนวโน้มการลงทุนที่น่าสนใจ
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดโดยสมบูรณ์ยังคงมีความท้าทายอยู่หลายข้อ เช่น ต้นทุนพลังงานสะอาดบางประเภทที่สูงกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล, ความไม่แน่นอนของการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์และลมที่ต้องขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ, โครงสร้างพื้นฐานสำหรับการส่งการจ่ายพลังงานสะอาดที่ยังไม่ครอบคลุม, ความกังวลของสาธารณชนเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานสะอาด เช่น การสูญเสียพื้นที่ธรรมชาติเพื่อติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
ไปจนถึงพลังงานไฮโดรเจนสีเทา ซึ่งสังเคราะห์ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ทำให้ยังคงมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แม้ว่าพลังงานไฮโดรเจนจะเป็นพลังงานสะอาดก็ตาม
ดังนั้น การพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาดเพื่อขับเคลื่อนโลกสู่ความยั่งยืน จึงเป็นส่วนสำคัญของอุตสาหกรรมพลังงานสะอาดที่กำลังมีความน่าสนใจและมีแนวโน้มการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2024 BBLAM พบว่ามี 3 นวัตกรรมพลังงานสะอาดที่กำลังมาแรง ได้แก่
1. ระบบเปลือกอาคารผสานเซลล์แสงอาทิตย์ (Building Integrated Photovoltaics: BIPV)
BIPV คือนวัตกรรมที่นำแผงโซลาร์ผสานเข้าไปในวัสดุก่อสร้างที่ใช้อยู่ภายนอกอาคารหรือเปลือกอาคาร เช่น กระจก ผนัง หรือหลังคา เพื่อเปลี่ยนแสงอาทิตย์ให้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าหลักหรือเสริมสำหรับการใช้งานภายในอาคาร โดยข้อดีของ BIPV นอกจากจะช่วยลดต้นทุนค่าวัสดุและค่าไฟฟ้าแล้ว ยังช่วยเพิ่มความน่าดึงดูดทางสถาปัตยกรรมของอาคารอีกด้วย
2. เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน (Carbon Capture Utilization and Storage: CCUS)
CCUS คือการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แล้วนำมากักเก็บไว้ในชั้นหินใต้ดินแบบถาวร หรือนำไปใช้ต่อในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น แอลกอฮอล์ ก๊าซสังเคราะห์ กรดอินทรีย์ ผงฟู และพอลิเมอร์ต่าง ๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนสำคัญของอุตหสากรรมอาหาร รวมถึงอุตสากรรมการแพทย์และยา
3. พลังงานไฮโดรเจนสีเขียว (Green Hydrogen)
พลังงานไฮโดรเจนสีเขียว หมายถึง พลังงานไฮโดรเจนที่สังเคราะห์ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รวมถึงกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส (Electrolysis) หรือการแยกสารด้วยไฟฟ้า ซึ่งในที่นี้หมายถึงการแยกอะตอมของน้ำ ที่ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 ส่วน และออกซิเจน 1 ส่วน ซึ่งกระบวนการนี้จะไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้ได้พลังงานไฮโดรเจนที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง
อุตสาหกรรมพลังงานสะอาดที่มีแนวโน้มการลงทุนเพิ่มขึ้น ย่อมหมายถึงโอกาสในการลงทุนที่เกิดขึ้นไปพร้อม ๆ กับการขับเคลื่อนโลกสู่ความยั่งยืน BBLAM จึงขอแนะนำกองทุนเปิดบัวหลวงยั่งยืน หรือกองทุน B-SIP ที่มีนโยบายลงทุนในบริษัททั่วโลกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการอย่างยั่งยืน (Sustainability) ผ่านการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Pictet - Clean Energy ซึ่งลงทุนในพลังงานสะอาด และกองทุน Pictet - Global Environmental Opportunities ซึ่งลงทุนในธุรกิจที่สนับสนุนเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลาย
และสำหรับนักลงทุนที่ต้องการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี BBLAM ยังมีอีก 2 กองทุนประหยัดภาษีแนะนำ ได้แก่ กองทุนเปิดบัวหลวงยั่งยืนเพื่อการเลี้ยงชีพ (B-SIPRMF) และกองทุนเปิดบัวหลวงยั่งยืนเพื่อการออม (B-SIPSSF) ซึ่งทุก ๆ กองทุนที่กล่าวมาสามารถเริ่มต้นลงทุนได้เพียง 500 บาทเท่านั้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ BBLAM
• โทร. 0 2674 6488 กด 8
• เว็บไซต์ www.bblam.co.th
• ลงทุนด้วยตนเองง่าย ๆ ผ่านโมบายแบงก์กิ้งธนาคารกรุงเทพ หรือแอป BF Fund Trading จาก BBLAM ได้ที่ https://www.bblam.co.th/BFTTrade
คำเตือน : การลงทุนมิใช่การฝากเงินและมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับเงินลงทุนคืนเต็มจำนวนเมื่อไถ่ถอน (ไม่คุ้มครองเงินต้น) / ผู้ลงทุนต้องศึกษาและทำความเข้าใจลักษณะสินค้า ข้อมูลสำคัญ นโยบายการลงทุน เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุในคู่มือการลงทุนในกองทุน RMF/SSF ก่อนการตัดสินใจลงทุน / กองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศมิได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมด
ทั้งนี้ อยู่ในดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจากการลงทุนในกองทุนดังกล่าว หรืออาจได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
 
#BBLAM #กองทุนบัวหลวง #BFFundTrading #MobileBanking #ธนาคารกรุงเทพ #พลังงานสะอาด #คาร์บอน #NetZero
โฆษณา