7 พ.ค. เวลา 08:07 • ปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียง

เป็นกรอบแนวคิดซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาได้ดียิ่งขึ้น จนเกิดคำว่า "ยั่งยืน"
คำว่า "พอเพียง" คือการดำเนินชีวิตแบบทางสายกลางโดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญ 3 ประการ คือ พอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี
ความพอประมาณ คือ ความพอดีที่ไม่มากไ่ม่น้อยเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่น เช่น ไม่ฟุ่มเฟื่อย ฟุ้งเฟ้อ เกินศักยภาพตนเอง อีกทั้งรู้จักช่วยเหลือเกื้อกูลแก่กัน โดยการแบ่งปันส่วนที่เกินจากความต้องการ ไปสู่ผู้ที่ด้อยกว่าทางสังคม
ความมีเหตุผล คือ การตัดสินใจและการปฏิบัติบนพื้นฐานความรู้และประสบการณ์ คำนึงถึงผลลัพธ์หรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจหรือการการทำ ดังนั้นเมื่อมีความรู้ต้องคู่กับคุณธรรมด้วย
การมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
สรุปแบบง่ายๆ คำว่า "พอเพียง" คือ การใช้ชีวิตให้สมกับฐานะโดยไม่เดือดร้อนผู้อื่น
1
ปล. คาถาหัวใจเศรษฐี คาถานี้มีในพระไตรปิฎก ทีฆชาณุสูตร ซึ่งมีคำว่า "สมชีวิตา" คือ การใช้ชีวิตพอเพียง ในหลวง ร.9 ท่านจึงสอนในหลักธรรมนี้ เช่นกัน
1
โฆษณา