Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Always Night-shift
•
ติดตาม
7 พ.ค. 2024 เวลา 17:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
บ้านสิงหไคล มูลนิธิมดชนะภัย Singhaklai House
ห่างหายกันไปนาน.....มากกก....มาต่อกันกับบทความว่าด้วยเรื่องแผ่นดินไหวอีกครั้ง 7 พ.ค. 67
เดือนก่อน ไต้หวันก็เพิ่งเผชิญกับแผ่นดินไหวที่รุนแรง
อีกครั้ง ตึกไทเป 101 ที่สูงที่สุดในไต้หวันไม่เสียหายเพราะมีลูกตุ้มยักษ์คอยถ่วงไว้
ที่มาจากการหลบร้อนไปหาอะไรรองท้องมื้อเที่ยงและจิบกาแฟแก้ง่วง จึงรู้ว่ามีกิจกรรมรำลึก 1 ทศวรรษ แผ่นดินไหวแม่ลาว 6.3 ริกเตอร์ 5-7 พ.ค. 67 นี้
หอมกลิ่นข้าวซอยเนื้อ และลาเต้ร้อน บ้านสิงหไคล
ทีมงานเตรียมป้ายความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหว
ทีมงานเตรียมสถานที่
รถเคลื่อนที่จำลองการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว
ศิลปะสะท้อนเรื่องแผ่นดินไหว
ปลาไหลเผือก
วันแรก ได้ไปร่วมตอนเย็นใกล้จะจบเวทีเสวนา
เวทีเสวนากลางแจ้ง 5 พ.ค. 67
ขึ้นบันไดไปห้องจัดแสดงชั้น 2
ชมภาพศิลป ภาพถ่ายเกี่ยวกับแผ่นดินไหวแม่ลาวเมื่อ 10 ปีก่อน
วัดดงมะเฟือง ต.จอมหมอกแก้ว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย
วัดร่องขุ่น อ.เมือง จ.เชียงราย
วันที่ 2 เป็นการประชุมนำเสนองานวิจัยของนักวิชาการแนวหน้าของไทยเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
เปิดการประชุมโดยศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ
การศึกษาของดร.เครือวัลย์ จันทร์แก้วและคณะ ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พบว่าประเทศไทยเคยเกิดสึนามิเมื่อ 600 ปี และ 2,800 ปี ก่อนสึนามิเมื่อปี 2004 ซึ่งสึนามิเกิดจากแผ่นดินไหวที่รุนแรงในทะเล
มีความกังวลเกี่ยวกับแนวมุดตัวอาระกัน ( Arakan subducción) ทางตอนเหนือของประเทศพม่า ว่าเคยเกิดแผ่นดินไหว ความรุนแรง 8.5 ริกเตอร์ เมื่อ 260 ปีก่อน จนถึงปัจจุบันแนวนี้ก็ยังไม่เกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง ซึ่งปัจจุบันก็ได้สะสมพลังงานมาเยอะพอสมควรอาจถึงที่ถึงเวลาในเร็วๆ นี้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวที่จะส่งผลให้เกิดสึนามิคล้ายกับสึนามิเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ถึงแม้จะไม่รุนแรงเท่า แต่ถ้าเราไม่เตรียมพร้อมก็จะมีคนเสียชีวิตไม่น้อย
เทือกเขาอาระกันหรือเทือกเขายะไข่ ยาว 400 กม. จุดสูงสุดคือยอดเขาวิคตอเรีย 3,094 เมตร (10,150 ฟุต`)
เนื่องจากแผ่นดินไหวที่รุนแรงทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนจนถึงขั้นอาคารพังเสียหาย อาคารสมัยเก่าไม่สามารถต้านแผ่นดินไหวที่รุนแรงได้ ส่วนอาคารปัจจุบันที่ใช้เทคนิคพื้นไร้คาน อาคารที่มีหลายชั้นและชั้นบนมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ตั้งอยู่บนชั้นล่างที่ออกแบบให้เปิดโล่ง และมีกำแพงน้อยกว่า ที่เรียกว่า soft story structures จะส่งผลให้ชั้นล่างรับน้ำหนักชั้นบนได้ไม่เต็มที่ เมื่อเกิดแผ่นดินไหวจะพังถล่มลงมาแบบ pancake collaps การเสริมความแข็งแรงให้กับอาคารจึงมีความจำเป็นโดยเฉพาะ อยู่บนพื้นที่เสี่ยง
นอกจากนี้ถ้าชั้นดินเป็นดินอ่อน ตัวอย่างเช่นกทม.และปริมณฑล คลื่นแผ่นดินไหวจะสามารถขยายความรุนแรงขึ้นได้
ตย.เทคนิคการเสริมความแข็งแรงให้กับอาคาร
นอกจากนี้การตรวจจับคลื่นแผ่นดินไหวแบบ real ti me มีประโยชน์อย่างยิ่งในการตัดสินใจอพยพคนออกจากอาคารสูง
ตย.เครื่องตรวจจับคลื่นแผ่นดินไหว ติดตั้งที่อาคาร 14 ชั้น รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีติดตั้งที่รพ.จ.เชียงใหม่ อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (37 ชั้น)
งานประชุมวันนี้นับว่าอัดแน่นด้วยเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์จากนักวิชาการทุกท่านซึ่งได้ช่วยกันขับเคลื่อนองค์ความรู้ นำไปสู่การป้องกันภัยจากแผ่นดินไหว
ปิดท้ายรายการจากรศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิมดชนะภัย
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย