8 พ.ค. เวลา 02:50 • ความคิดเห็น

พลังแห่งการสื่อสารแบบไร้พลัง

โปรเฟสเซอร์ อดัม แกรนท์ นักคิดและนักเขียนผู้โด่งดังแห่งยุคสมัย เคยเล่าว่า ตอนที่เขาเป็นอาจารย์ใหม่ๆ อายุยี่สิบห้าปี เขาถูกเชิญไปบรรยายให้กับนายทหารระดับนายพลที่มีประสบการณ์สูง ผ่านการรบในสมรภูมิใหญ่อยู่สองคลาส ด้วยความตื่นเต้นและประหม่า คลาสแรกเขาเลยพยายามจะเริ่มด้วยการโม้ถึงปริญญาที่เขาได้รับ ความสำเร็จทางด้านวิชาการ ฯลฯ พยายามสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างเครดิตก่อนพูด แต่ปรากฏว่าคะแนนประเมินที่ได้ออกมานั้นเละเทะมาก
1
คลาสที่สอง อดัม แกรนท์ ลองวิธีใหม่ แทนที่จะโม้ถึงความสำเร็จของอาจารย์หนุ่มอายุยี่สิบห้าปีต่อหน้ารุ่นใหญ่ประสบการณ์สูง เขาเปิดด้วยการแนะนำแบบตลกๆ ว่า เขาเคยเป็นนักมายากลมาก่อน ตอนนี้เขากำลังพยายามใช้มนต์วิเศษอ่านใจคนฟัง และพบว่าทั้งห้องกำลังงงๆว่าเราจะมาได้ความรู้อะไรจากโปรเฟสเซอร์เด็กคนนี้ (วะ)
2
ทั้งห้องเงียบซักพัก แล้วเริ่มหัวเราะขำ ปรากฏว่าคะแนนประเมินที่ได้นั้นเป็นบวกมากๆ ทั้งที่อาจารย์อดัมสอนเรื่องเดิมกับกลุ่มแรก การที่ออกมาล้อขำกับตัวเอง ทำตัวเองให้เล็กก่อนเล่า ผลที่ได้กลับตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง
หลังจากนั้นโปรเฟสเซอร์ อดัมก็ศึกษาถึงพลังที่ก่อนเกิดขึ้นมาจากการสื่อสารแบบ powerless สามข้อว่า
1
ข้อหนึ่ง ต้องไม่พยายามสร้างภาพแต่ความแข็งแกร่งแต่ต้องเปิดแผยจุดอ่อนไปพร้อมกัน
1
ข้อสอง ต้องไม่พูดแบบฟังธงตลอดแต่ต้องมีความไม่แน่ใจปนบ้าง
และ ข้อสาม ต้องไม่มีคำตอบกับทุกเรื่องแต่ต้องถามคำถามเยอะๆ ด้วย
โปรเฟสเซอร์อดัมเล่าถึงเรื่องแรกว่า มีนักจิตวิทยาคนหนึ่งได้ทำการทดลองจากรายการตอบคำถามเชาวน์ปัญญา ในรายการตอบคำถามนั้นมีทั้งผู้เชี่ยวชาญที่เก่งๆ กับคนทั่วไป แล้วก่อนจะจบรายการทุกครั้งจะมีการทำกาแฟหกรดใส่ตัว
นักจิตวิทยาคนนี้ทำการศึกษาและพบว่าถ้าผู้เชี่ยวชาญทำกาแฟหก ผู้ชมจะรู้สึกดีและชอบคนๆนั้นมากขึ้น เพราะทำให้รู้สึกว่าคนเก่งระดับเทวดานั้นก็เป็นมนุษย์ปุถุชนเหมือนกัน (คนทั่วไปทำกาแฟหกไม่ได้ช่วยอะไรนะครับ..คนคงคิดแค่ว่าซุ่มซ่าม) ความรู้สึกนี้เรียกว่า pratfall effect ถ้าคนเก่ง คนที่ดูใหญ่โตนั้นทำอะไรซุ่มซ่ามเล็กๆน้อยๆนั้นจะทำให้คนรู้สึกดีกับคนๆนั้น และเชื่อถือคนนั้นมากขึ้น ลองนึกถึงดาราดัง หรือนักการเมืองที่ทำอะไรหลุดๆ ป้ำๆ เป๋อๆ ทำให้มีความเป็นมนุษย์ปุถุชนดูก็จะพอเห็นภาพ
การที่เปิดเผยจุดอ่อน ล้อเลียนตัวเอง ทำอะไรผิดพลาดบ้าง นั้นเป็นเสน่ห์ของคนเก่งในสายตาคนทั่วไปเสมอ มีเรื่องเล่าถึงอับราฮัม ลินคอร์น ประธานาธิบดีผู้เป็นที่รักของคนอเมริกาว่าในงานโต้วาทีงานหนึ่ง คู่แข่งโจมตีลินคอร์นว่าไม่จริงใจ เป็นคนตีสองหน้า ลินคอร์นตอบกลับด้วยอารมณ์ขันกึ่งแซวตัวเองว่า ถ้าเขามีสองหน้าจริง คิดว่าเขาจะเอาหน้านี้มาโชว์เหรอ… เรียกเสียงปรบมืออย่างกึกก้องในมุกล้อเลียนตัวเองอย่างไม่กลัวเสียฟอร์มได้อย่างกึกก้อง
3
โปรเฟสเซอร์อดัมเล่าต่อถึงข้อที่สอง ว่าปกติในการประชุม การทำงานเป็นกลุ่ม เราจะพยายามเตรียมข้อมูล เข้าไปเถียงให้ไอเดียเราได้รับการยอมรับ เป็นชัยชนะของเราในการประชุมแต่ละครั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่ทำให้งานกลุ่มราบรื่น เราและไอเดียของเราจะได้รับการยอมรับนั้นอาจจะไม่ใช่เหมือนที่เราคิด
โปรเฟสเซอร์เล่าถึงงานวิจัยของมหาวิทยาลัยนอร์ทคาโรไลน่าว่า ในการทำงานร่วมกับคนอื่น การประชุมในที่ทำงาน การทำงานให้ลูกค้านั้น คนร่วมประชุมจะแคร์ถึงเรื่องว่าเรานั้นสนใจ interest ของเขาหรือไม่ เป็นคนที่ไม่เย็นชาต่อความเห็นส่วนร่วมหรือไม่ ก่อนที่จะสนใจว่าเราเก่งจริงหรือไม่ด้วยซ้ำ
5
ในงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแห่งนั้น พูดถึงสถานการณ์จำลองการเอาตัวรอดในทะเลทรายของกลุ่มๆหนึ่ง ทั้งกลุ่มกำลังหาทางออกจากทะเลทรายนั้น มีหนุ่มคนหนึ่งมาถึงก็พูดเลยว่า ไฟฉายที่ส่องกันอยู่นั้นส่องเตี้ยเกินไป ทุกคนต้องส่องให้สูงขึ้น!! เป็นคำพูดกึ่งคำตำหนิ แน่นอนว่าทุกคนไม่ชอบถึงแม้อาจจะเห็นด้วยก็ตาม แต่ก็จะรู้สึกว่าคนนี้ครอบงำเกิน ไม่สามารถทำงานเป็นทีมได้ แต่พอให้ลองเปลี่ยนคำพูดว่า… เออนี่ พวกเราคิดว่าเราควรจะยกไฟฉายให้สูงขึ้นนิดนึงจะดีมั้ย อาจจะช่วยส่งสัญญานดีขึ้นก็เป็นไปได้นะ
พอพูดให้ดูนุ่มนวล ไม่แน่ใจ ให้คนอื่นมีส่วนร่วม ดูอ่อนแอแบบเบาๆ (powerless) กลับทำให้คนอื่นยอมรับฟังไอเดีย รู้สึกถึงการพร้อมจะรับฟังคนอื่น ทำให้ทีมเห็นคนพูดเป็นทีม มี trust มากขึ้นทันที
ข้อที่สามที่ว่าต้องไม่มีคำตอบกับทุกเรื่องแต่ต้องถามเยอะๆแทน โปรเฟสเซอร์เล่าถึง เซลล์มือใหม่ขายสมาชิกเคเบิล HBO คนหนึ่งเมื่อช่วงทศวรรษ 1970 เป็นคนขี้อาย ไม่ค่อยกล้าขายตรง ที่เขาทำได้ก็คือการเดินไปเยี่ยมลูกค้าแล้วดูรอบๆห้อง ถามโน่นถามนี่ตามรูปภาพที่เห็นในห้อง ถามเรื่องครอบครัว เรื่องทีมฟุตบอล เรื่องสัตว์เลี้ยง แต่ไม่กล้าขายของ
1
ซักพักก็เริ่มมีคนแถวนั้นมาที่ออฟฟิศ มาชมว่าเขาเป็นคนคุยเก่ง เซลล์คนนั้นก็งงๆเพราะเขารู้ว่าตัวเองนั้นขายไม่เก่งเลย หลังจากนั้นยอดขายเขาก็เริ่มไหลเข้ามา สูงกว่าเซลล์ทั่วไปกว่าสี่เท่า เป็นตัวอย่างของเซลล์ HBO ในยุคนั้นอย่างไม่น่าเชื่อ
โปรเฟสเซอร์เล่าถึงงานวิจัยอีกงานหนึ่งที่เอาคนสิบกว่ามาอยู่ในห้อง พูดคุยทำความรู้จักกัน แล้วมาลองถามว่าชอบกลุ่มที่เพิ่งเจอหรือไม่ ผลก็คือว่ายิ่งถ้าใครได้พูดมากเท่าไหร่ คนนั้นก็จะชอบกลุ่มนั้นมาก และที่น่าสนใจคือผู้วิจัยถามต่อว่าแล้วได้เรียนรู้อะไรจากกลุ่มนั้นด้วยหรือไม่ คนที่พูดมาก ชอบกลุ่มนั้นมาก ก็จะยิ่งตอบว่าได้เรียนเยอะเลย (ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเป็นไปไม่ได้เพราะถ้าเราพูดเยอะ เราก็จะได้เรียนรู้จากคนอื่นน้อยลงไปด้วย ) ผู้วิจัยเลยเรียกความรู้สึกนั้นว่า joy of talking
2
ความรู้สึก joy of talking นั้น ทำให้การที่เราถามคำถามแล้วให้คนอื่นพูดออกมาเยอะๆ จะทำให้คนนั้นรู้สึกดีกับเรา และรู้สึกว่าได้เรียนรู้จากเราไปด้วย ได้ trust มาคู่กับการที่ปล่อยให้เขาพูด การถามคำถามเป็นอาวุธที่ดีที่สุดในการที่จะได้มาอีกหลายเรื่องรวมถึงการดึงกล่อมให้คนเชื่อตามสิ่งที่เราคิดอีกด้วย
5
โปรเฟสเซอร์อดัมเล่าถึงนักเรียนที่เคยสอนที่ชื่อเอมี่ที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย ตำแหน่งในโรงงานที่เธอทำอยู่ที่ใกล้มหาวิทยาลัยปิดลงแล้ว ทำให้เธอต้องโดนย้ายไปอีกโรงงานหนึ่งที่ต้องบินเป็นชั่วโมง
ในตอนแรกโปรเฟสเซอร์แนะนำให้เธอไปคุยกับฝ่ายบุคคลแล้วมีทางเลือกไปให้ทางโน้นเลือกว่าจะเอายังไงกันแน่ แต่เอมี่กลับไปอีกแนว ไม่ได้ไปเล่าทางเลือกแบบนั้น ปรากฏว่าบริษัทช่วยเธอให้บิน private jet มาเรียน ถ้า private jet ของบริษัทไม่ได้มีตารางบิน บริษัทก็ออกทั้งค่าเครื่องบินและออกค่ารถเช่าให้ด้วย
สิ่งที่เอมี่ไปทำก็คือ ไปถามหัวหน้า HR เปิดด้วยการขอความช่วยเหลือ (powerless) ขอคำแนะนำว่าถ้าหัวหน้าตกอยู่ในสถานการณ์แบบเธอจะมีทางออกอย่างไร หัวหน้า HR นั่งคิดก่อนที่จะโทรหารือผู้บริหารระดับสูง ซึ่งพบว่า private jet ที่บินระหว่างโรงงานสองโรงของบริษัทมีที่ว่างเหลือ ซึ่งเอมี่สามารถติดสอยห้อยตามไปได้
โปรเฟสเซอร์เล่าถึงพลังแห่งการขอคำแนะนำหรือความช่วยเหลือว่า การที่ทำตัว powerless นั้น ทำให้คนที่เราขอคำแนะนำรู้สึกภูมิใจปลาบปลื้มว่าได้ช่วยคน แล้วทำให้คนๆนั้นได้คิดถึงว่าถ้าเป็นเขาจะทำอย่างไร พอทั้งปลาบปลื้มทั้งเข้าใจก็จะมีทางช่วยเหลือได้โดยง่าย
1
พลังที่ก่อนเกิดขึ้นมาจากการสื่อสารแบบ powerless สามข้อนั้น
ข้อหนึ่ง ต้องไม่พยายามสร้างภาพแต่ความแข็งแกร่งแต่ต้องเปิดแผยจุดอ่อนไปพร้อมกันทำให้เปิดความเชื่อใจ ทำให้คนรู้สึกว่าเราเป็นมนุษย์ปุถุชนเหมือนๆกัน รู้สึกใกล้ชิดมากขึ้น
ข้อสอง ต้องไม่พูดแบบฟันธง แบบมั่นใจตลอดแต่ต้องมีความไม่แน่ใจปนบ้าง ทำให้คนอื่นรู้สึกว่าเรารับฟังและเกรงใจคนอื่นอยู่
และ ข้อสาม ต้องไม่มีคำตอบกับทุกเรื่องแต่ต้องถามคำถามให้มาก เพราะการถามคำถามนอกจากทำให้เราเรียนรู้ความคิดของคนอื่นแล้ว ยังทำให้เขารู้สึกมี joy of talking และรู้สึกว่าเขารู้จักเรามากขึ้นอีกด้วย
เป็นการสร้าง power จาก powerless communication ที่ผมได้ฟังจากโปรเฟสเซอร์ อดัม แกรนท์ ครับ……
โฆษณา