8 พ.ค. 2024 เวลา 03:55
ตั้งแต่วัยเด็ก เราสวดตามอาม่าและม๊า ที่เป็นคนใจบุญสุนทานด้วยกันทั้งคู่ แน่นอนว่าสมัยนั้น เราเองก็ไม่รู้หรอกว่าความหมายบทสวดคืออะไร รู้แค่ "สวดแล้วได้บุญ" นอกจากนี้ก็ยังไม่รู้อีกว่า "บุญ" แปลว่าอะไร รู้แค่ว่ามันน่าจะหมายถึง ทำให้เราเรียนหนังสือเก่ง และทำให้เราร่ำรวย (อาม่าและม๊ามักพร่ำบอก) แม้จะเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรง หรือที่เรียกว่าความเห็นผิด แต่จนถึงตอนนี้ ก็ทำให้เราคิดได้ว่า อย่างน้อย "เราก็อยู่ในกระแสแห่งบุญ" เปรียบเสมือนการลอยคอในน้ำใส แม้จะไม่รู้ไม่เห็นฝั่ง แต่เราก็ยังลอยคออยู่ในน้ำใสนั้น
เมื่อเติบใหญ่รู้ความขึ้น คลุกคลีกับพระศาสนามากขึ้น ค้นคว้าหาอ่านมาก ถามผู้รู้มาก ก็ทำให้ "ค่อยๆมีความเห็นถูกมากขึ้น" จึงเข้าใจว่าบทสวดในพระศาสนานั้น แท้จริงคือการธำรงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มีรากเหง้ามาจากระบบการจดจำคำสอนแบบเดียวกันกับ "มุขปาฐะ" หรือการฟัง จดจำ และท่องจำ ..." เอวัมเม สุตัง.. (ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ว่า..........")
เมื่อเติบใหญ่ ระบบการศึกษาผลักดันให้ต้องรู้ลึกละเอียด เราจึงยิ่งอยากรู้ว่าจุดเริ่มต้นในการสวดมนต์นั้นมาจากไหน เราพบว่าบทสวดฮินดู ศาสนาเก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มต้นด้วยการเปล่ง "Om" คำนี้ก็ไม่มีความหมายใด แต่ถูกเรียกว่าเป็น Universal Sound กล่าวคือ เสียงนี้เป็นเสียงสากล ไม่เกี่ยวกับศาสนาใด หากเปล่งได้ราบเรียบ แต่มีพลังอย่างมั่นคงแล้วจะดีต่อสุขภาพกายและจิตใจ สังเกตว่าเมื่อเวลาเปล่งเสียงนี้ จะต้องกลั้นลมหายใจโดยอัตโนมัติ และการฝึกกลั้นลมหายใจก็มีประโยชน์ด้วย
คำว่า "Chanting" หรือการสวด/ท่องมนตร์ ที่ใช้ในภาษาไทยก็น่าจะเอามาจากคำว่า "Mantra" นี่เองค่ะ
คนจีนแผ่นดินใหญ่ ที่นับถือพุทธมหายาน แม้แต่คนรุ่นใหม่
จะถูกพ่อแม่ปลูกฝังให้สวด Heart Sutra หรือปารมิตาหฤทัยสูตร
ถึงขั้นที่เอามาอวดโอ้กันในที่ทำงานด้วยซ้ำไปค่ะ
บทสวดนี้ มีคำแปลขึ้นต้นว่า...."สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค...."
แล้วก็ตามด้วยคำสอนเกี่ยวกับ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
โฆษณา