8 พ.ค. 2024 เวลา 06:57 • หนังสือ

การรับมือกับการเบิร์นเอาท์ ! Burn Out

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่หลงเข้ามาอ่านเพื่อความต้องการในการพัฒนาตนเอง ส่วนตัวผมในฐานะของการทำงานในแผนกบุคคล ได้รับการขอคำปรึกษาเป็นอย่างมากเรื่องช่วงนี้พนักงานบริษัทหลายท่าน รวมถึงเพื่อนๆ ของผมเองได้มีโอกาสคุยกันเรื่องจะทำอย่างไรดี เพราะช่วงนี้รู้สึกเบิร์นเอาท์ (มันคืออะไรกันนะ) และไม่อยากทำอะไรเลย หยุดทู๊กกกอย่าง จะตายให้ได้ โอ้วแม่จ้าวววว ....... ววว เอิ่มมม แต่ก่อนอื่น เรามารู้จักคำว่าเบิร์นเอาท์ กันก่อนว่ามันแปลว่าอะไร และค่อยมาดูว่าจะแก้ไขกันอย่างไรนะครับ
เบิร์นเอาท์ (Burn Out) แปลง่ายๆ ว่าคือการหมดไฟในการทำงาน ซึ่งสาเหตุมีได้หลายสาเหตุนะครับ วันนี้เราจะมาดูเรื่องสาเหตุกันก่อน และหลังจากนั้นเราจะมาคุยเรื่องเราจะมีวิธีแก้ไขมันอย่างไรกัน
สาเหตุของการเบิร์นเอาท์ มีด้วยกันหลายสาเหตุแต่ที่ผมได้รับคำปรึกษามาหลักๆ จะมี 3 สาเหตุด้วยกันคือ
1. งานมันยากหรือหนักเกินไป
2. ไม่ได้ชอบงานนี้แต่แรกแล้ว ยิ่งทำยิ่งไปต่อไม่ไหว
3. โดนการเมืองในที่ทำงาน
ซึ่งทั้ง 3 สาเหตุผมเชื่อว่าเราทุกคนก็เคยเป็นกันมาหมดแล้วใช่ไหมครับ ผมเองก็เคยเป็นทั้ง 3 สาเหตุเลยครับ (ฮา ให้มันได้อย่างนี้สิ) เอาล่ะครับ เรามาดูประเด็นแรกที่มาจากสาเหตุของการที่งานมันยากหรือทำงานหนักเกินไปด้วยกันครับ สำหรับประเด็นนี้ ผมบอกได้เลยคำเดียวง่ายๆ ว่า มันมาจากการทำงานของเราเอง ที่ต้องมีงานยากแบบในทุกสองปีเราพนักงานกินเงินเดือนจะมีสักหนสองหนที่เราต้องเจอกับโปรเจคแบบโอ้วแม่เจ้าทำไมต้องเป็นช้านนอย่างนั้นเลย
งานที่มันยากหรือหนักเกินไปนั้น เราเองจะต้องหาทางรับมือมันให้ได้ เพราะหัวหน้าหรือองค์กรเค้าไว้ใจเรา เค้ามองว่าเราทำได้จึงได้มอบหมายมาให้ ถ้าอย่างนั้นเราควรจะดีใจใช่ไหม (หว่า) แต่จะรับมือกับมันอย่างไรเมื่อมันเกิดขึ้นแล้วนี่สิ
การเบิร์นเอาท์ในช่วงเวลานี้ และจำเป็นต้องทำต่อไปแบบหยุดพักไม่ได้นั้น ผมมีเทคนิคในการรับมืออย่างง่ายๆ ก่อนนั่นคือ การประเมินทรัพยากรใหม่ ! (Resources Re-Estimation) ทำไมต้องทำหรือครับ นั่นเป็นเพราะเมื่อคุณเหนื่อยเกินไป นั่นอาจหมายถึงมีบางสิ่งที่เรามีไม่พอใช้ต่อการทำโปรเจคนั้นให้สำเร็จ
เมื่อเราทำงานนั้นเราต้องประเมินว่าสิ่งที่เราได้รับมอบหมายมามีความสมดุลกับสิ่งที่เราต้องทำให้สำเร็จตามเป้าหมายหรือเปล่า หากไม่ นั่นคือสิ่งที่เราต้องรีบสื่อสารกับองค์กร เพราะเมื่อมีความเหนื่อยมากผิดปรกติจะนำมาซึ่งความสูญเสียมิใช่แค่เราแต่เป็นของทีมงานด้วยเช่นเดียวกัน หากเราเจรจากับนายจ้าง หรือหัวหน้างานไม่สำเร็จ เราอาจจำเป็นต้องทำต่อ แต่อย่าคาดหวังว่ามันจะต้องถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์เพราะว่ายิ่งคาดหวังและทำมากเพียงใด คุณจะยิ่งเจ็บปวด เหนื่อยล้า และเสียใจมากขึ้นเท่านั้น
เมื่อมันไปไม่ถึงเป้าหมายอย่างมีทรัพยากรจำกัด หากทำได้จงทำอย่างเต็มที่ต่อไป (ทำได้แต่อย่าคาดหวัง เพราะไม่อย่างนั้นท่านจะยิ่งเบิร์นเอาท์มากขึ้นอีกเป็นหลายเท่า)
ประเด็นที่สอง ไม่ได้ชอบงานนี้แต่แรกแล้ว อันนี้คือสิ่งที่ผมเข้าใจดีเลยว่างานคืองาน ชอบไม่ชอบก็ต้องทำ หลายท่านคิดแบบนี้ใช่ไหมครับ แน่นอน ไม่ได้มีถูกหรือผิดสำหรับแนวความคิดนี้ แต่จะบอกว่ามันมีสิ่งที่ดีที่สุดถ้าหากเราได้ทำงานที่เรารัก เพียงแต่โลกในความเป็นจริงมันโหดร้าย
เราจำเป็นต้องเลี้ยงดูตัวเองและคนรอบข้างให้ได้ยิ่งในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้ เป็นงานแบบไหนเราก็ต้องเอา และต้องทำทั้งนั้นใช่ไหมครับ สำหรับคนที่ยังต้องต่อสู้ทำงานทั้งที่ไม่ได้ชอบ และเราก็เลือกไม่ได้เสียด้วย ผมอยากให้ปรับความคิดว่ามีงานทำก็ดีแล้ว ทำไมหรือครับ ผมบอกได้เลยว่ายุคนี้ การหางานโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลายท่านก็ยังไม่รู้ว่าชอบทำอะไร อดทนทำเถอะครับ เพราะหากเราไม่มีงาน ชีวิตก็จะโหดร้ายกว่านี้อีกหลายเท่า เพราะความขัดสนนั้นน่ากลัววว
ผมแนะนำให้เราปรับความคิดครับ ต้องคิดว่า ‘โชคดีแล้วที่มีงาน’ หลายท่านอาจจะโมโหว่า ถ้าคิดแค่นี้แล้วกูจะอ่านบทความของมึงไปทำแป๊ะอะไร(วะ) ใช่ไหมครับ ผมจะเล่าให้ฟังว่าเพื่อนผมมีประวัติการทำงานที่ดีมาก เพียงเพราะเขาไม่ชอบงานที่ทำอยู่เพราะมันหนักเกินไป และไม่เคารพสิทธิส่วนบุคคล เขาตัดสินใจลาออก และหางานใหม่ เชื่อไหมครับว่าเขาไม่สามารถหางานได้อยู่ 3-4 เดือน และมันยากกับชีวิตเขาอย่างมากในช่วงเดือนเหล่านั้น
ถ้าจะย้ายที่ทำงานหรือลาออกจริงๆ ให้มันใจว่าเรามีเงินเก็บที่เพียงพออย่างน้อยก็ 3-4 เดือน ก่อนที่เราจะลาออกมาเพราะความไม่ชอบนะคร้าบบ
ประเด็นสุดท้ายคือ โดนเรื่องการเมืองในที่ทำงานเลยทำให้เบิร์นเอาท์ อันนี้ต้องบอกว่าซวยเจงงๆ ทำไมต้องมีเรื่องแบบนี้ในที่ทำงานด้วยยย อะไรก็เกิดขึ้นได้กับสิ่งที่เรียกว่าคนครับ ไม่ว่าจะเป็นเขาไม่ชอบเรา เราไม่ชอบเขา แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์ดังนั้นการพยายามกีดกันหรือต่อสู้ในที่ทำงานก็คงเป็นเรื่องที่ต้องมีสำหรับบางองค์กรที่ดันมีเราทำงานอยู่ วิธีการรับมือกับการเบิร์นเอาท์จากการถูกผู้อื่นกระทำ (การเมือง) คือเรื่องที่ซับซ้อน ผมอาจจะมีโอกาสได้เขียนเรื่องนี้อีกครั้งกับท่านผู้อ่านในครั้งต่อๆ ไปนะครับ
วิธีการรับมือการการเบิร์นเอาท์จากเรื่องการเมืองก็คือ ให้เรามีความสุขกับเนื้องานที่ทำอยู่ (หากเป็นงานที่ท่านชอบอยู่แล้วยิ่งดี)และปล่อยให้เขา คนที่เริ่มกระทำเรื่องการเมืองกับเรา ได้ใช้ชีวิตของเค้าไป การรับเรื่องของเค้ามาจะยิ่งทำให้เรามี Toxic หรือสารพิษอยู่ในตัว ซึ่งมันไม่คุ้มค่าเลยที่จะมีหรือเป็น หากเขาทำเรากรรมต้องไล่ตามเขาอยู่แล้ว ไม่ช้าก็เร็ว จงอย่าไปใส่ใจ
หากเขาต้องการตำแหน่งงาน หรือการแซงเราขึ้นไป ช่างเขา เพราะคนที่ลงมือทำงานคือเรา และท้ายที่สุดสิ่งนี้ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือประสบการณ์ที่ได้จากการทำงาน สิ่งนี้คือสิ่งที่จะติดตัวเราไปและผมแนะนำอีกว่า หากเรามั่นใจในฝีมือการทำงานของเรายิ่งแล้ว ในอนาคตหากคนที่ทำเรื่องการเมืองยังกระทำเราอยู่ต่อไป เราลาออกไปเข้าที่ๆ เราสบายใจ และใช้ฝีมือประสบการณ์ที่เราได้มาจากการทำงานก็ยังได้ครับ
สุดท้ายนี้ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ที่เบิร์นเอาท์ทุกท่านกลับมามีไฟมีฝัน มีวันทำงานต่อกันเร็วๆ ครับ
เราสูงขึ้นได้อีก
โฆษณา