8 พ.ค. เวลา 13:22 • สุขภาพ

ไพโอกลิตาโซน (Pioglitazone )

เป็นยาเบาหวานชนิดหนึ่งที่ ใช้บ่อย มักพบในผู้ป่วย เบาหวานประเภท 2 แล้วทำไมจึงต้องใช้ยาชนิดนี้ วันนี้พี่บุ๋นมาเล่าให้ฟังค่ะ ❤
ยาไพโอกลิตาโซน ออกฤทธิ์ ด้วยการจับกับตัวรับตัวนึง ที่พบได้ในเซลล์ตับ เซลล์ไขมันและเซลล์กล้ามเนื้อ จึงทำให้ลดการสร้างกลูโคสและไขมันที่ตับ เพิ่มความไวต่ออินซูลินทำให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อสามารถนำกลูโคสไปใช้ได้ดีขึ้น ลดภาวะการดื้อต่ออินซูลินค่ะ ยามีประสิทธิภาพในการลด Hb A1c 1-1.5% แต่จะเห็นผลลดน้ำตาลได้ค่อนข้างช้า จึงเหมาะสำหรับใช้เสริมกับยาอื่นในผู้ป่วยที่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน
#รูปแบบที่จำหน่าย
ขนาดยา 15, 30 ,45 มิลลิกรัมต่อเม็ด มีหลายยี่ห้อ เช่น Actos Utmos Gitazone Piozone
.
#ขนาดยาสูงสุด ที่แนะนำ คือไม่เกิน 45 มิลลิกรัมต่อวันคะ
#วิธีรับประทาน สามารถรับประทานได้ทั้งก่อนหรือหลังอาหาร แต่โดยปกติส่วนใหญ่ แพทย์จะสั่งให้รับประทานหลังอาหารมากกว่าเพื่อความสะดวกของคนไข้ และป้องกันการลืมด้วย
#อาการไม่พึงประสงค์ ที่สำคัญ ก็คือ น้ำหนักขึ้น ตัวบวม
#ห้ามใช้ ในผู้ป่วยที่มีโรคตับบกพร่อง หรือหัวใจล้มเหลว หรือหัวใจวาย เนื่องจาก ยาทำให้เกิดอาการบวม ได้ง่ายขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยพบโรคหัวใจล้มเหลว
แต่สำหรับผู้ป่วย โรคไตใช้ได้แต่ก็แค่ระวังเรื่องอาการบวมที่เกิดขึ้นนะคะ
.
#สรุป  เนื่องจากยาไม่ได้กระตุ้นการหลั่งของอินซูลิน จึงมีข้อดีไม่ได้ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มักใช้เสริมกับยากลุ่มอื่นเพื่อทำให้ผู้ป่วยควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น หรือใช้เป็นยาเดี่ยวได้(พบน้อยกว่ามาก☺)
.
#ไม่ค่อยแนะนำเป็นชนิดแรก เนื่องจาก ยาออกฤทธิ์ช้ากว่ายาบาหวานชนิดอื่น และผลข้างเคียงเรื่องยา อาจทำให้เกิดอาการบวมเพิ่มความเสี่ยงเรื่องหัวใจล้มเหลว และควรระวังการใช้ยาร่วมกับผู้ป่วยที่ใช้อินซูลิน ควรติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้นได้คะ
.
การใช้ยาที่ถูกต้องเหมาะสม ร่วมกับ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทำให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ
.
.
#ยาไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของสุขภาพที่ดี
.
.
เรียบเรียงโดย ภญ สุุพนิต วาสนจิตต์
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
.
1.การใช้ยาลดระดับน้ำตาลกลุ่มไทอะโซลิดีนไดโอน โดย คุณสมลักษณ์ จึงสมาน
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
.
2.บทความวิชาการเพื่อการศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์
"pharmacotherapy of Diabetes Melitus"
โดย ภญ.ภิญญาภัทร ธัญญ์สิน
.
3.บทความ "การใช้ยาลดระดับน้ำตาลชนิดรับประทาน โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี"
.
4.หนังสือตำราเภสัชกรครอบครัว โดยสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาลวงเล็บประเทศไทย
โฆษณา