10 พ.ค. เวลา 02:01 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ส่องค่าเงินเอเชีย อ่อนค่าขนาดไหนจากต้นปี

เป็นที่ทราบกันแล้วว่าประเทศญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหาค่าเงินอ่อนรุนแรงในช่วงนี้ จากสาเหตุที่ญี่ปุ่นดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมายาวนานเพื่อมุ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจมากกว่าควบคุมเงินเฟ้อ สวนทางกับประเทศอื่นๆจนเป็นผลให้สกุลเงินเยนอ่อนค่าลง และต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปี ทั้งนี้นอกจากญี่ปุ่นแล้ว ยังมีสกุลเงินเอเชียใดบ้างที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกันในขณะนี้
2
สำหรับบทความนี้ ผู้เขียนได้ทำการสารวจสถิติค่าเงินสกุลต่างๆในเอเชียจาก Bloomberg มาทำการวิเคราะห์และนำเสนอให้ผู้อ่านได้ติดตามกันค่ะ
• จับตาสกุลเงินเอเชีย ร่วงแรงจากต้นปี 2567 มากแค่ไหน?
ผลสำรวจตัวเลขสกุลเงินเอเชียเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในช่วงต้นปี (ณ 31 ธ.ค. 2566) และข้อมูลปัจจุบัน (ณ 30 เม.ย. 2567) พบว่า สกุลเงินเอเชียส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงที่อ่อนค่าลง มีรายละเอียดดังนี้
- ญี่ปุ่น (JPY) อ่อนค่าลง 10.6% YTD
- ไทย (THB) อ่อนค่าลง 7.9% YTD
- เกาหลีใต้ (KRW) อ่อนค่าลง 6.8% YTD
- ไต้หวัน (TWD) อ่อนค่าลง 5.7% YTD
- อินโดนีเซีย (IDR) อ่อนค่าลง 5.3% YTD
- เวียดนาม (VND) อ่อนค่าลง 4.2% YTD
- ฟิลิปปินส์ (PHP) อ่อนค่าลง 4.1% YTD
- มาเลเซีย (MYR) อ่อนค่าลง 3.7% YTD
- สิงคโปร์ (SGD) อ่อนค่าลง 3.3% YTD
- จีน (CNY) อ่อนค่าลง 1.9% YTD
• ปัจจัยที่กดดันค่าเงินในเอเชีย
ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯในปี 2567 กำลังชะลอตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากตัวเลขเงินเฟ้อที่ยังไม่ปรับลด และค่อนข้างสูงกว่าเป้าหมาย เป็นผลให้ล่าสุดประธาน Fed ประกาศคงอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทำให้สกุลเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น กระทบสกุลเงินประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย
นอกจากนี้สถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ยังตึงเครียด ทำให้เงินทุนไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น สกุลเงินดอลลาร์ ค่าเงินในหลายประเทศเอเชียจึงอ่อนค่าหนักสุดในรอบหลายปี แตกต่างจากช่วงปี 2565 ที่ประเทศในแถบเอเชีย โดยเฉพาะในไทยเองเคยถูกมองเป็นสินทรัพย์หลบภัยของนักลงทุน (safe heaven)
• หลายประเทศในเอเชีย เริ่มปรับแผนรับมือค่าเงินอ่อน
เนื่องจากเศรษฐกิจเอเชียมีความอ่อนไหวมากกว่าสหรัฐฯ หลายประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย จึงเริ่มมีการปรับแผนรับมือจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเมื่อไม่นานมานี้ธนาคารกลางของอินโดนีเซียได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ขณะที่เวียดนามได้มีการแทรกแซงค่าเงินโดยขายดอลลาร์ให้กับธนาคารบางแห่งเพื่อช่วยพยุงค่าเงินดอง
1
อย่างไรก็ตามสพหรับในหลายประเทศ การที่สกุลเงินอ่อนค่ากลับส่งผลเชิงบวกให้ภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกได้รับอานิสงค์ โดยเฉพาะประเทศไทยเองในปีนี้ การท่องเที่ยวเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ นักท่องที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามายังประเทศคึกคักมากขึ้น โดยเฉพาะสงกรานต์ที่ผ่านมา
ผู้เขียน: เพ็ญพิชชา สกลวิทยานนท์ Economics Data Analytics
ภาพประกอบ : บริษัทก่อการดี
ที่มา: Bloomberg คำนวณโดย Bnomics
════════════════
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสาหรับคุณ
2
โฆษณา