10 พ.ค. 2024 เวลา 03:00 • ธุรกิจ

ญี่ปุ่น กำลังทวงคืน เจ้าแห่งการผลิตชิป จากไต้หวันและเกาหลีใต้

ย้อนไปช่วงทศวรรษ 1980 ประเทศญี่ปุ่น เคยเป็นเจ้าตลาดผู้ผลิตชิปมาก่อน ด้วยส่วนแบ่งมากถึงครึ่งหนึ่งของโลก
2
แต่ปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีส่วนแบ่งในตลาดไม่ถึง 10% ถูกบริษัทจากประเทศอื่น ๆ แซงหน้าขึ้นมาแทน ไม่ว่าจะเป็น ไต้หวัน ที่มี TSMC หรือเกาหลีใต้ ที่มี Samsung
3
พออุตสาหกรรมชิปยังคงเป็นเมกะเทรนด์ที่เติบโตต่อเนื่อง จึงทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นไม่อาจนิ่งเฉยกับสถานการณ์นี้ได้อีกต่อไป
1
แล้วญี่ปุ่นกำลังวางแผน ทวงความเป็นเจ้าแห่งการผลิตชิปคืนมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
4
ปี 1989 ผู้เล่นชั้นนำ 10 อันดับแรกของอุตสาหกรรมผลิตชิป เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นถึง 6 ราย ได้แก่ NEC, Toshiba, Hitachi, Fujitsu, Mitsubishi และ Matsushita ที่ครองส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึง 50%
1
แต่หลังจากนั้น วงการชิปญี่ปุ่น ต้องเผชิญความท้าทายหลายอย่าง เช่น
- ปัญหาความขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกาเรื่องการค้า จนต้องจำกัดการส่งออกชิป
2
- การปรับตัวเข้าสู่โมเดลธุรกิจรับจ้างผลิตที่ช้าเกินไป ทำให้พลาดฐานลูกค้าใหม่ ๆ
- ขาดการลงทุนวิจัยเทคโนโลยีที่ต่อเนื่อง จึงเริ่มสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
กลายเป็นโอกาสของบริษัทอื่นที่ก้าวขึ้นมาแทนที่
โดยเฉพาะคนที่เชี่ยวชาญในโมเดลธุรกิจรับจ้างผลิต วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีมาอย่างสม่ำเสมอ ดังเช่น TSMC และ Samsung
2
จนกระทั่งล่าสุด บริษัทญี่ปุ่นเหลือส่วนแบ่งในตลาดผลิตชิป ไม่ถึง 10% เท่านั้น รวมทั้งเทคโนโลยีการผลิตก็ยังตามหลังคู่แข่งอยู่หลายสิบปี
2
โดยโรงงานทันสมัยสุดในญี่ปุ่นของบริษัท Renesas สามารถผลิตชิปได้ขนาดเล็กสุด 40 นาโนเมตร แต่ TSMC หรือ Samsung มีเทคโนโลยีที่ผลิตชิปได้ขนาดเล็กถึง 7-9 นาโนเมตรแล้ว (ปัจจุบันผลิตชิปได้เล็กสุด 3 นาโนเมตร)
6
พอเป็นเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการไล่ตามประเทศอื่นให้ทันอีกครั้ง เพราะธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญสำหรับเทรนด์เศรษฐกิจในอนาคต
1
โดยในปี 2021 ได้มีการประกาศนโยบายฟื้นฟูอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศ และคาดว่าจะใช้งบประมาณเพื่อสนับสนุนการลงทุนให้ภาคเอกชน สะสมรวมทั้งหมด 2,400,000 ล้านบาท ภายในปี 2030
3
ซึ่งกลยุทธ์แรกที่ญี่ปุ่นใช้จุดประกายภาพรวมอุตสาหกรรมชิปในทันที คือการดึงเอาผู้ผลิตชั้นนำของโลก มาตั้งโรงงานในประเทศ
1
รายแรกคือ TSMC ที่ตกลงตั้งโรงงานผลิตชิป 2 แห่งในเกาะคีวชู รวมมูลค่าเงินลงทุน 740,000 ล้านบาท
1
โดยโรงงานแห่งแรก ร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่นอย่าง Sony และ Denso รวมทั้งได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่น 120,000 ล้านบาท
1
ซึ่งใช้เทคโนโลยีผลิตชิปได้ขนาด 12-28 นาโนเมตร และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงปลายปี 2024 นี้
1
ส่วนโรงงานแห่งที่ 2 จะร่วมทุนกับ Toyota และรัฐบาลญี่ปุ่นก็พร้อมให้เงินสนับสนุนอีก 180,000 ล้านบาท
1
และคราวนี้มีแผนใช้เทคโนโลยีผลิตชิปขนาด 6-7 นาโนเมตร ซึ่งเหมาะกับการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า, สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และระบบ AI คาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2027
1
ทั้งนี้ เกาะคีวชู เป็นสถานที่ที่ญี่ปุ่นพยายามปลุกปั้นให้เป็น “Silicon Island” หรือศูนย์กลางการผลิตชิปของประเทศโดยเฉพาะ เนื่องจากมีโรงงานของบริษัทท้องถิ่นตั้งอยู่ด้วย เช่น Sony, Toshiba, Renesas
1
พอเป็นแบบนี้ จึงทำให้ผู้ผลิตชิปรายอื่น ๆ สนใจตาม TSMC เข้ามามีส่วนร่วมในญี่ปุ่นเหมือนกัน
ไม่ว่าจะเป็น Micron บริษัทชั้นนำจากสหรัฐฯ ที่ประกาศเพิ่มการลงทุนอีก 136,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีโรงงานผลิตชิปหน่วยความจำ ในเมืองฮิโรชิมะ
3
หรือ Samsung ที่วางแผนเข้ามาตั้งศูนย์วิจัยด้านเซมิคอนดักเตอร์ในเมืองโยโกฮามะ ด้วยเงินลงทุนมูลค่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นกว่า 4,800 ล้านบาท
และเมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ก็ย่อมส่งผลให้ภาคธุรกิจและตลาดแรงงานญี่ปุ่น เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะไม่มากก็น้อย
ซึ่งแน่นอนว่าในขั้นถัดไป ญี่ปุ่นก็คงต้องการมีโรงงานผลิตชิปที่มีเทคโนโลยีทันสมัยเป็นของตัวเอง
เลยเป็นที่มาของการก่อตั้งบริษัทชื่อว่า Rapidus ในปี 2022 ซึ่งร่วมทุนกันระหว่างภาครัฐ และบริษัทเอกชน 8 แห่ง คือ Sony, Toyota, Denso, SoftBank, NTT, Kioxia, NEC, Mitsubishi
1
โดยบริษัทแห่งนี้จะลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตชิป มูลค่า 1,200,000 ล้านบาท ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นจำนวน 143,000 ล้านบาท
เพื่อเป้าหมาย ให้ประเทศสามารถผลิตชิปขนาด 2 นาโนเมตร ได้ภายในปี 2027 มาแข่งขันกับ TSMC และ Samsung ที่จะใช้เทคโนโลยีนี้ตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป
1
และอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ญี่ปุ่นมองว่าเป็นจุดแข็งในการส่งเสริมอุตสาหกรรมชิป คือ ความเป็นผู้นำในธุรกิจวัสดุอุปกรณ์ต้นน้ำ ที่ใช้ในการผลิตชิป
1
ตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วน, ฟิล์ม, สารเคมีขั้นสูง, ระบบต่าง ๆ บนแผ่นซิลิคอน ก็จะมีบริษัท Tokyo Electron, Screen Holdings และ Shin-Etsu เป็นต้น ครองส่วนแบ่งตลาดแต่ละประเภทอยู่มากกว่า 50%
2
จากการดำเนินกลยุทธ์ทั้งหมดนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงคาดหวังว่า อุตสาหกรรมชิปจะต้องมีรายได้มากกว่า 3,600,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัวจากปัจจุบัน ภายในปี 2030
ซึ่งก็ต้องติดตามกันต่อไปว่า ในความเป็นจริงนั้น ญี่ปุ่นจะสามารถทวงคืนพื้นที่ในสมรภูมิการผลิตชิปได้มากแค่ไหน
1
แต่อย่างน้อย ๆ การกำหนดทิศทางนโยบายที่ชัดเจน ประกอบกับการจัดสรรงบประมาณภาครัฐ มาสนับสนุนทั้งโรงงานผลิตและศูนย์วิจัยเทคโนโลยีจำนวนมหาศาล
ก็น่าจะช่วยให้อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของญี่ปุ่น ก้าวหน้าไปในทางที่ดีขึ้น ดีกว่ารอวันถอยหลังไปเรื่อย ๆ และมองดูคนอื่นทิ้งห่างออกไป โดยไม่ทำอะไรเลย..
1
โฆษณา