11 พ.ค. เวลา 03:00 • ธุรกิจ

TSMC โรงงานผลิตชิป 27 ล้านล้าน ผลิตชิปให้อุปกรณ์ครึ่งโลก

“เราต้องการให้ไต้หวันผลิตชิป” รัฐบาลไต้หวันในปี 1985 พูดกับมอร์ริส จาง ที่ถูกจ้าง มาเป็นผู้นำสถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
1
“ไต้หวันออกแบบและวิจัยชิปไม่ได้ครับ แต่เรารับจ้างผลิตได้” มอร์ริส จาง พูดตอบกลับรัฐบาลไต้หวันไป
“แบบนี้จะดีเหรอ” รัฐบาลไต้หวัน ถามแบบลังเล
“ดี นั่นคือจุดแข็งของไต้หวัน เราจะตั้ง TSMC ขึ้นมา”
นี่คือบทสนทนา เค้าโครงจริงของมอร์ริส จาง ที่รับข้อเสนอจากรัฐบาลไต้หวัน จนนำมาสู่การก่อตั้ง TSMC
2
ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อว่าปัจจุบัน บริษัทแห่งนี้ จะมีมูลค่ากว่า 27 ล้านล้านบาท เป็นบริษัทมูลค่ามากสุด อันดับที่ 9 ของโลก..
2
แล้ว TSMC มีจุดเริ่มต้นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
มอร์ริส จาง เกิดที่ประเทศจีน เมื่อปี 1931 ในครอบครัวฐานะปานกลาง แต่ชีวิตก็ไม่ได้สุขสบายนัก เพราะต้องเจอกับสงครามกลางเมืองและสงครามโลก
จนในที่สุด ครอบครัวจาง ก็ย้ายไปฮ่องกง เมื่อเขาอายุ 17 ปี ซึ่งเขาก็ได้ตะเกียกตะกายตัวเอง จนสอบเข้ามหาวิทยาลัย Harvard และ MIT ได้สำเร็จ
เมื่อสำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมเครื่องกล เขาก็ได้ทำงานในบริษัท Sylvania Semiconductor ที่รับผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
แต่พอทำไปสักพัก เขาเริ่มสนใจในเซมิคอนดักเตอร์หรือชิปมากกว่า จึงย้ายไปทำงานที่ Texas Instruments จนเป็นผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมภายใน 3 ปีเท่านั้น
ซึ่ง Texas Instruments เริ่มต้นธุรกิจด้วยวิทยุทรานซิสเตอร์ ก่อนหันไปผลิตชิปสำหรับอาวุธสงครามให้กับกองทัพสหรัฐอเมริกา
อย่างไรก็ตาม มอร์ริส จาง เห็นว่าชิปสามารถใช้ได้ในอุตสาหกรรมอื่น มากกว่าแค่ทางทหาร จึงพยายามเสนอให้บริษัท หันไปผลิตชิปสำหรับอุตสาหกรรมอื่นด้วย
และลึก ๆ แล้ว อีกแนวคิดหนึ่งของเขา คือ อยากสร้างโรงงานสำหรับผลิตชิปของตัวเอง เพื่อผลิตชิปให้กับบริษัทต่าง ๆ อีกด้วย
2
จนในที่สุด Texas Instruments ก็เริ่มอยากขายสินค้าไปให้ผู้บริโภคโดยตรง แทนที่จะขายให้ลูกค้ารายใหญ่อย่างกองทัพสหรัฐอเมริกา เท่านั้น
1
แต่ปรากฏว่า สินค้าตัวแรกที่ออกมาอย่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ กลับล้มเหลว เพราะเจอคู่แข่งหลายราย โดยเฉพาะ Apple ของสตีฟ จอบส์
1
เรื่องนี้ทำให้มอร์ริส จาง ผิดหวังในตัวเองอย่างมาก จนตัดสินใจลาออกจากบริษัท ซึ่งแม้จะได้งานใหม่จากบริษัท GIC แต่ก็ลาออกอีกครั้ง
2
และแล้วโชคชะตาก็ดูจะเข้าทาง เพราะในปี 1985 รัฐบาลไต้หวัน ต้องการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อให้เศรษฐกิจ ไม่ต้องใช้จุดแข็งค่าแรงถูกอีกต่อไป
3
หนึ่งในนั้น คือ อุตสาหกรรมชิปหรือเซมิคอนดักเตอร์
1
โดยรัฐบาลจัดสรรเงินทุนเพื่อก่อตั้ง “สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม” หรือ Industrial Technology Research Institute (ITRI) ขึ้นมาสำหรับชิปโดยเฉพาะ
ซึ่งมอร์ริส จาง ก็ได้ถูกจ้างให้มาเป็นหัวเรือใหญ่ของ ITRI และเขาเองก็ตอบรับในทันที
มอร์ริส จาง มองเห็นว่า ไต้หวันไม่สามารถออกแบบและวิจัยชิปของตัวเองได้ เพราะมี Intel หรือ Texas Instruments ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่ก่อนแล้ว
แต่สิ่งที่อุตสาหกรรมชิปยังขาด และเขาเองก็อยากทำมาตลอด คือ “โรงงานรับจ้างผลิตชิป” ซึ่งยังไม่มีใครเคยลองทำขึ้นมาจริง ๆ
พอมอร์ริส จาง เสนอไอเดียแบบนี้ไป รัฐบาลไต้หวันลังเลและคัดค้านไอเดียของเขา แต่ในที่สุดก็ยอมรับ และอนุมัติให้ก่อตั้ง TSMC เพื่อรับจ้างผลิตชิปในปี 1987
แต่โรงงานผลิตชิป ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ซึ่งคิดเป็นเงินปัจจุบันมากถึงแสนล้านบาท ทำให้รัฐบาลไต้หวันต้องลงทุนร่วมกับ Philips จากเนเธอร์แลนด์
2
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 3 ปีแรก บริษัทมีลูกค้าเพียงไม่กี่ราย ส่วนใหญ่มาจากภายในประเทศ แต่ในปี 1991 เป็นต้นมา สิ่งที่มอร์ริส จาง คิดไว้ก็เริ่มเป็นจริง
เพราะเริ่มมีบริษัทที่ต้องการชิปเซต เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีทุนสร้างโรงงานผลิต ซึ่งได้กลายมาเป็นลูกค้าของ TSMC อย่างต่อเนื่อง
และเมื่อมีคำสั่งผลิตอย่างมหาศาล TSMC ก็ยิ่งได้เปรียบด้านต้นทุน เพราะสามารถประหยัดต่อขนาด จากการผลิตได้จำนวนมากนั่นเอง
ตัวอย่างลูกค้า ก็เช่น Apple, AMD, Nvidia, Intel, Microsoft, Amazon, Alphabet ซึ่งเป็นบริษัทระดับโลกแทบทั้งสิ้น
นอกจากนี้ TSMC ยังลงทุนวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลิตชิปให้เล็กลงได้เรื่อย ๆ ให้รองรับพลังงานประมวลผลที่มากขึ้นของลูกค้า
ทำให้ตอนนี้ TSMC มีการผลิตชิปหลายขนาด ตามความต้องการของลูกค้า แบ่งออกเป็น
- 5 นาโนเมตร 37%
- 7 นาโนเมตร 19%
- 3 นาโนเมตร 9%
- 16 นาโนเมตร 9%
- อื่น ๆ อีก 26%
4
ซึ่งชิปจาก TSMC ส่วนใหญ่ที่ถูกผลิตขึ้น ก็ใช้สำหรับการประมวลผลข้อมูลและสมาร์ตโฟน ทำให้ต้องมีขนาดเล็กลง เพื่อประมวลผลให้เร็วขึ้นนั่นเอง
2
พอเป็นแบบนี้ ทำให้ในปีที่ผ่านมา TSMC ลงทุนวิจัยและพัฒนากว่า 215,264 ล้านบาท คิดเป็น 8.5% ของรายได้ทั้งหมดเลยทีเดียว
1
แล้วปัจจุบัน TSMC มีรายได้ดีแค่ไหน ?
ปี 2021 รายได้ 1.79 ล้านล้านบาท
กำไร 0.67 ล้านล้านบาท
ปี 2022 รายได้ 2.56 ล้านล้านบาท
กำไร 1.15 ล้านล้านบาท
ปี 2023 รายได้ 2.44 ล้านล้านบาท
กำไร 0.94 ล้านล้านบาท
จะเห็นได้ว่า TSMC มีอัตรากำไรสูงถึง 38% หรือขายของ 100 บาท ได้กำไร 38 บาท ซึ่งสูงกว่าลูกค้าหลัก ที่ขาย iPhone เครื่องละครึ่งแสน อย่าง Apple ที่มีอัตรากำไรเพียง 25% เสียอีก
เพราะยิ่ง TSMC รับจ้างผลิตชิปได้เล็กลงเพียงใด ความซับซ้อนในการผลิตยิ่งเพิ่มขึ้น ความสามารถในการกำหนดราคาก็จะยิ่งมากขึ้นเพราะไม่มีใครในโลกทำได้
5
โดยล่าสุด บริษัทวางแผนที่จะผลิตชิปขนาด 2 นาโนเมตรให้ได้ ภายในปี 2025 หรือก็คือปีหน้า
1
ด้วยความที่อัตรากำไรสูง รายใหญ่อื่น ๆ อย่าง Intel จึงต้องการเข้ามาแย่งส่วนแบ่งการตลาด แต่ก็ต้องเจอป้อมปราการที่ TSMC สร้างเอาไว้
1
ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง งบกระหน่ำลงทุนวิจัยและพัฒนา รวมถึงฐานลูกค้าหลักที่เป็นพาร์ตเนอร์กันมานาน
ไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่าจากไอเดียธุรกิจของ มอร์ริส จาง กับโจทย์ของรัฐบาล
จะทำให้เกิด TSMC โรงงานผลิตชิป 27 ล้านล้านบาท ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงราว 6 ใน 10 ของการรับผลิตชิปทั้งหมด
พูดง่าย ๆ ก็คือ TSMC ทำให้ไต้หวัน หลุดพ้นจากการเป็นเกาะแรงงานราคาถูก กลายเป็นเกาะแห่งนวัตกรรม ที่คอยส่งออกสมองของอุปกรณ์เทคโนโลยี เกินกว่าครึ่งโลก ในทุกวันนี้..
1
เปิดจอง IPO กองทุน AI ใหม่ MEGA10AI วันที่ 8-14 พ.ค. นี้
กองทุนเปิด MEGA10AI ร่วมเป็นเจ้าของ 10 บริษัทใหญ่ ด้าน AI
- กองทุนเปิด MEGA 10 ARTIFICIAL INTELLIGENCE ชนิดสะสมมูลค่า (MEGA10AI-A) และชนิดเพื่อการออม (MEGA10AI-SSF) และยังมีกองทุนเปิด MEGA 10 ARTIFICIAL INTELLIGENCE เพื่อการเลี้ยงชีพ (MEGA10AIRMF) โดยจะเข้าไปลงทุนในบริษัท ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
3
โดยคัดเลือกมาจากบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูง และมีสภาพคล่องสูง รวมทั้งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ทั้งด้านที่เป็นผู้ผลิต ผู้พัฒนาสินค้าหรือบริการ และ/หรือที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา จำนวน 10 บริษัท เช่น Microsoft, Nvidia, Alphabet, Meta, TSMC*
โดยจะเสนอขาย IPO ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค. 2567 และซื้อขายได้ ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. 2567 เป็นต้นไป
พิเศษ ! ตั้งแต่ช่วง IPO จนถึง 7 มิ.ย. 2567 ค่าธรรมเนียมการขาย สำหรับรายการที่ซื้อ MEGA10AI-A ตั้งแต่ 1 ล้านบาท
- ยอดซื้อตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปต่อรายการ ค่าธรรมเนียมการขาย 0.5% ของมูลค่าซื้อขาย
- ยอดซื้อตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปต่อรายการ ค่าธรรมเนียมการขาย 0.1% ของมูลค่าซื้อขาย
โดยค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้สั่งซื้อได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือภาษีอื่นใดแล้ว ศึกษารายละเอียดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมได้ที่ www.talisam.co.th
 
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น
3
MEGA10AI-A เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
MEGA10AI-SSF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว
MEGA10AIRMF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ
1
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส โทร. 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
ผู้สนับสนุนการขาย ได้แก่
1. บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)
3. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
4. บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
5. บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
6. หลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
8. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
9. บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
10. บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
11. บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
12. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
13. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
14. บริษัท หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
15. บริษัทหลักทรัพย์พาย จำกัด (มหาชน)
16. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
17. บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
18. บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
19. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
20. บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
21. บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด
22. บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
23. บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
24. บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
25. บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
26. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สายงานธุรกิจไพรเวทแบงค์ เฉพาะกองทุน MEGA10AI-A
27. บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงของกองทุนรวม ก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน
กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศ มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ และหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
โฆษณา