11 พ.ค. เวลา 00:29 • ข่าว

ของขวัญยอดฮิตวันแม่ 2567 อะไรที่คนญี่ปุ่นอยากมอบและคุณแม่อยากรับมากที่สุด (ผลการตอบแบบสำรวจ)

คนญี่ปุ่นก็มี “วันแม่”
“วันแม่” ของประเทศญี่ปุ่นใกล้มาถึงแล้ว
ตรงกับวันอาทิตย์ของสัปดาห์ที่สองของ
เดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งได้รับอิทธิพล
กำหนดจากสหรัฐอเมริกา รวมถึงดอกไม้ด้วย
Image Credits: Pixabay, สัญลักษณ์ของดอกไม้ประจำวันแม่ คือ ดอกคาเนชั่น
สัญลักษณ์ของดอกไม้ประจำวันแม่ คือ ดอกคาเนชั่น
ทื่นิยมมอบกันมากที่สุด สื่อถึงความรักของคุณแม่
ที่อ่อนหวาน ลึกซึ้ง บริสุทธิ์ และอดทน น่าภาคภูมิใจ
และขอบคุณต่อผู้เป็นแม่
ภาษาดอกไม้ คือ “ความรักของผู้หญิง”
และสีดอกคาเนชั่นที่นิยมมากทึ่สุด คือ สีแดง
อันหมายถึงความรัก ความสุข แต่ไม่นิยมสีขาว
Image Credits: Pixabay, “วันแม่” ในที่นี้ อาจหมายถึงคุณแม่ของตน คุณแม่ของคู่สมรส หรือคุณแม่ของลูกๆ คือ คู่สมรสของตน หรือผู้เป็นแม่ที่เราเคารพนับถือก็ได้
ซึ่งคุณแม่ใน “วันแม่” ในที่นี้ อาจหมายถึงคุณแม่
ของตน คุณแม่ของคู่สมรส หรือคุณแม่ของลูกๆ คือ
คู่สมรสของตน หรือ ผู้เป็นแม่ที่เราเคารพนับถือก็ได้
วันแม่ของญี่ปุ่นมีธรรมเนียมอย่างไร?
ของขวัญที่คนญี่ปุ่นอยากมอบให้คุณแม่มากที่สุด
คือ อะไร? คุณแม่อยากได้อะไรมากที่สุด?
แล้วคนดังคนไหนที่ตนอยากได้เป็นคุณแม่มากที่สุดบ้าง?
Image Credits:  “วันแม่” กับ “วันพ่อ” ของญี่ปุ่นตรงวันอาทิตย์ของสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคม และวันอาทิตย์ของสัปดาห์ที่สามของเดือนมิถุนายนของทุกปี ตามลำดับ
[ “วันแม่” กับ “วันพ่อ” ของญี่ปุ่นตรงกับเมื่อไร? ]
ปกติ หลังพ้นช่วงวันหยุดยาวสัปดาห์ทองของญี่ปุ่น
(ปีนี้ตรงกับ 26 เมษายน ถึง 6 พฤษภาคม 2567)
วันอาทิตย์ของสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมของ
ทุกปี ก็จะเป็น “วันแม่” ของญี่ปุ่น(Mother’ s Day)
ส่วน “วันพ่อ” (Father’ s Day) จะตรงกับวันอาทิตย์
ในสัปดาห์ที่สามของเดือนมิถุนายนของทุกปี
ดังนั้น ในปีนี้ “วันแม่” จะตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม 2567 (อาทิตย์) ส่วน “วันพ่อ” จะตรงกับวันที่ 16 มิถุนายน 2567 (อาทิตย์) ซึ่งจะมีขึ้นปีละ 1 ครั้ง
[ความสำคัญของ “วันแม่” กับ “วันพ่อ”]
เพื่อแสดงความขอบคุณและระลึกถึงความสำคัญ
ของผู้ที่มีบทบาททำหน้าที่เป็นคุณพ่อคุณแม่
[ที่มาของ “วันแม่” กับ “วันพ่อ”]]
ทั้ง “วันพ่อ” และ “วันแม่” ของญี่ปุ่น
ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
โดย “วันแม่” ได้เริ่มมาจากสหรัฐอเมริกาในช่วงต้น
สมัยของยุคไทโช (ประมาณปี 2455) แล้วแผ่ขยาย
ไปทั่วโลก ทั้งในประเทศญี่ปุ่นด้วย ที่นิยมจัดงานมอบดอกคาเนชั่นกันในวันแม่ ทั้งที่โบสถ์บ้างในระหว่าง
ผู้นับถือศาสนาคริสต์ด้วยกัน หรือ ตามองค์กรสตรีบ้าง
ต่อมา เมื่อย่างเข้าสู่สมัยโชวะ ก็มีการจัดงาน
"วันแม่" กันทั่วไปอย่างหลากหลาย ได้กำหนด
ให้วันที่ 6 มีนาคม 2474 ซึ่งเป็นวันคล้ายวัน
พระราขสมภพของพระจักรพรรดินีโคจุงแห่ง
ราชวงศ์โชวะ ให้เป็น “วันแม่” แต่ยังไม่ค่อย
รู้จักแพร่หลายนัก
ตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2473 ความรู้สึกในสังคมของประชาชนก็เริ่มมีความเข้มแข็งมากขึ้น
ในปี 2479 บริษัท “โมรินางะ” (ก่อตั้ง 2442)
ผู้ผลิตขนมรายใหญ่ของญี่ปุ่นที่มีปรัชญา
การบริหารว่า "อร่อย สนุก แข็งแรง"
ต้องการที่จะขยายกิจกรรมนี้ เพื่อให้อุ่นใจ
ไปทั่วประเทศ จึงได้ตั้ง "ชมรมยกย่องคุณแม่
โมรินางะ" ขึ้น เรียกองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แล้วขยาย "งานวันแม่โมรินางะ" ไประดับประเทศ
แล้วในฤดูใบไม้ผลิในปีนั้น ได้มีการรับสมัคร
ประกวดเพลงยกย่องสรรเสริญคุณแม่ชิงรางวัลขึ้น
ปรากฎว่า ได้รับเสียงตอบรับเกิดความคาดหมาย
มีผู้สมัครส่งผลงานเข้าร่วมมากกว่า 15,000 ชิ้น
Image Credits: Morinaga Digital Museum,  จุดเริ่มต้นของ "วันแม่" ของญี่ปุ่นที่นิยมแพร่หลาย เริ่มจากบริษัท “โมรินางะ” ผู้ผลิตขนมรายใหญ่ของญี่ปุ่น จัด “งานวันแม่โมรินางะ” คร้้งที่ 1 ที่น่าจดจำนี้ ที่เวทีกลางแจ้งของสวนสาธาณะโทโยชิมะ กรุงโตเกียว ระหว่างวันที่ 8 - 9 พฤษภาคม 2480 เป็นเวลา 2 วัน มีคุณแม่ที่ได้รับเชิญไปร่วมงานที่จัดใหญ่โตนี้ถึง 200,000 คน จนเป็นข่าวใหญ่โตและเริ่มจัดการทั่วประเทศ
“งานวันแม่โมรินางะ” คร้้งที่ 1 ที่น่าจดจำนี้ จัดขึ้น
ที่เวทีกลางแจ้งของสวนสาธาณะโทโยชิมะ กรุงโตเกียว
ระหว่างวันที่ 8 - 9 พฤษภาคม 2480 เป็นเวลา 2 วัน
มีคุณแม่ที่ได้รับเชิญไปร่วมงานที่จัดใหญ่โตนี้ถึง 200,000 คน จนหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารก็เป็น
ที่สนใจอย่างมาก จนได้รับการกล่าวขานกันจน
เริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น
พร้อมกันนี้ ก็ยังมีรับสมัครเรียงความและการวาดภาพ
ในหัวข้อ "คุณแม่ของฉัน" โดยเริ่มกิจกรรประชาสัมพันธ์ไปยังโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถมทั่วประเทศ
จากการรับสมัครภาพวาดที่ประชาสัมพันธ์ตาม
โรงเรียนอนุบาลที่ได้รับการรับรองจากราชการ
จำนวน 2,500 แห่งทั่วประเทศ มีผลงานภาพวาด
ที่สมัครเข้ามามากกว่า 11,000 ชิ้น และสาขา
เรียงความที่ประชาสัมพันธ์ในโรงเรียนประถม
มีการสมัครเข้ามาากกว่า 11,000 ชิ้น
หลังจากนั้น งานวันแม่โมรินางะจึงได้จัดตาม
เมืองเอกทั่วประเทศ มีคุณแม่จำนวนมากมาย
ได้รับเชิญเป็นแขกผู้มีเกียรติและได้รับการแสดง
ความรู้สึกขอบคุณว่า "ขอบคุณคุณแม่"
(“อาริงานโต โอกาซัง”)
ในปี 2484 สงครามแปซิฟิกได้เริ่มขึ้น
จึงได้ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย
หลังจากนั้น ในปี 2490 ได้กำหนดให้วันอาทิตย์
ของสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคม เป็นวันแม่
เหมือนกับสหรัฐอเมริกาในช่วงหลังสงครามโลก
ครั้งที่ 2
ส่วน “วันพ่อ” ได้รับอิทธิพลเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2493 ต่อมา ได้กำหนดให้
“วันพ่อ” เป็นวันที่ระลึกแห่งชาติอย่างเป็นทางการ
เมื่อปี 2515 และเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์
Image Credits: อันดับธรรมเนียมการมอบของขวัญวันแม่ของญี่ปุ่น พบว่า อันดับ 1 จังหวัดซากะ 91.4% นิยมให้ของขวัญในวันแม่มากที่สุด
[ของขวัญวันแม่]
ล่าสุด ในปีนี้ บริษัทประกัน “นิปปอน ไลฟ์ อินชัวรันส์”
หรือ นิสเซ (Nippon Life Insurance Company: NISSAY)ได้แจ้งผลการสำรวจ ลงวันที่ 1 พฤษภาคม2567 เกี่ยวกับ “วันแม่” ทางเว็บไซต์
ที่สำรวจทางอินเตอร์เน็ตกับ ผู้ที่ทำสัญญากรมธรรม์
ที่ใช้บริการโดยเฉพาะ
ซึ่งการสำรวจนี้ ได้ดำเนินสำรวจโดยออกแบบ
สอบถามทางออนไลน์ขึ้น ระหว่างวันที่ 1 – 15
มีนาคม 2567 จำนวนผู้ตอบแบบสำรวจ 13,029 คน
(ชาย 6,134 คน หญิง 6,685 คน อื่นๆ / ไม่ตอบ
210 คน) พบว่า
คนญี่ปุ่นกว่า 75% จะมอบของขวัญในวันแม่
และมีอัตราส่วนที่มากกว่าปีที่แล้ว 8.6 จุด
[จังหวัดที่อยากมอบของขวัญในวันแม่มากที่สุด]
พบว่า จังหวัดซากะ ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ทาง
ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของคิวชู ติดกับ
จังหวัดฟุคุโอกะ และจังหวัดนางาซากิ ห่างจาก
กรุงโตเกียวประมาณ 900 กิโลเมตรและนครโอซาก้าประมาณ 500 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีลูกๆ หรือ
คู่สมรสตั้งใจอยากมอบของขวัญ จังหวัดนี้ เป็นบ้านเกิดของผู้ก่อตั้งบริษัทโมรินางะ ผู้เริ่มทำกิจกรรมวันแม่และขยายไปทั่วประเทศญี่ปุ่นจนเป็นที่นิยมอยางแพร่หลายทั่วประเทศในปัจจุบันด้วย
อันดับจังหวัดที่มอบของขวัญแด่ผู้เป็นแม่เในวันแม่
เป็นจำนวนมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
อันดับ 1 จังหวัดซากะ 91.4%
อันดับ 2 จังหวัดฟุคุโอกะ 89.8%
อันดับ 3 จังหวัดอาคิตะ 88.7%
อันดับ 4 จังหวัดโอกินาวะ 88.1%
อันดับ 5 จังหวัดอิวาเทะ 86.8%
อันดับ 6 จังหวัดยามานาชิ 86.1%
อันดับ 7 จังหวัดฟุคุโอกะ 84.0%
อันดับ 8 จังหวัดคุมาโมโตะ 83.3%
อันดับ 9 จังหวัดอิบารากิ 79.7%
อันดับ 10 จังหวัดกุมมะ 79.3%
Image:  ดอกคาเนชั่น สัญลักษณ์ของดอกไม้ประจำวันแม่ของญี่ปุ่น ยังคงนิยมมอบและรับกันมากที่สุด โดยเฉพาะดอกคาเนชั่นสีแดง แต่่สีขาวไม่นิยม
[ของขวัญที่อยากมอบให้ในวันแม่มากที่สุด]
(จากแบบสำรวจที่ตอบกลับจำนวน 6,710 คน
(ตอบได้หลายข้อ))
ของขวัญที่อยากมอบและอยากรับ พบว่า
ทั้งผู้มอบและผู้รับนิยม “ดอกไม้สดกับดอกคาเนชั่น” มากที่สุด ภายในนี้กว่า 71.8% ตอบว่า “อยากพบและมอบโดยตรง” มากกว่าปีที่แล้ว 2.7 จุด
โดยพบว่า ดอกคาเนชั่น สัญลักษณ์วันแม่ของญี่ปุ่น
ยังเป็นที่นิยมมอบกันในลักษณะช่อดอกไม้ในสังคมญี่ปุ่น
อันดับ 1 ดอกไม้สดกับคาเนชั่น 44.1%
อันดับ 2 รับประทานอาหาร 15.8%
อันดับ 3 ขนมหวาน 14.8%
อันดับ 4 อาหารและเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ 14.2%
อันดับ 5 ของชำร่วย/เครื่องประดับ 10.1%
อันดับ 6 เสื้อผ้า 10.0%
อันดับ 9 จดหมาย/อีเมล์/ภาพ 2.0%
Image Credits: Pixabay, ผู้เป็นแม่ของญี่ปุ่นคาดหวังว่าจะได้รับของขวัญเป็นดอกคาเนชั่นมากที่สุด 31% และอันดับ 4 คือ  จดหมาย/อีเมล์/รูปภาพ 16.1% ในขณะที่ผู้มอบที่อยากมอบ มีเพียง 2.0% ต่างกันมากถึง 14.1%
[คุณแม่อยากได้ของขวัญอะไรในวันแม่มากที่สุด]
(จากแบบสำรวจที่ตอบกลับจำนวน 3,092 คน
(ตอบได้หลายข้อ))
ของขวัญที่คุณแม่อยากได้จากคู่สมรสหรือลูกๆ
มากที่สุด ได้แก่
อันดับ 1 ดอกไม้สดกับคาเนชั่น 31.0%
อันดับ 2 รับประทานอาหาร 24%
อันดับ 3 ขนมหวาน 17.1%
อันดับ 4 จดหมาย/อีเมล์/รูปภาพ 16.1%
อันดับ 5 ท่องเที่ยว (รวมคูปองท่องเที่ยว) 8.8%
อันดับ 6 ของชำร่วย/เครื่องประดับ 8.5%
จะสังเกตเห็นว่า คุณแม่ผู้รับอยากได้เป็นจดหมาย
อีเมล์ ที่เป็นถ้อยคำ หรือรูปภาพมากเป็นอันดับ 4
บอกถึงผู้เป็นแม่อยากได้รับตัวหนังสือที่ถ่ายทอด
ความรู้สึกจากลูกๆ หรือคู่สมรส ในรูปแบบของ
จดหมายหรืออีเมล์บ้าง แตกต่างจากคู่สมรสหรือ
ลูกๆ ผู้มอบที่อยากมอบให้ในลักษณะนี้ มีเพียง 2.0% ต่างกับความต้องการของผู้เป็นแม่มากถึง 14.1%
ในขณะเดียวกัน ดอกไม้สดกับคาเนชั่นยังเป็น
ของขวัญยอดนิยมอันดับ 1 ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ
[เหตุผลของผู้ที่ไม่มอบของขวัญในวันแม่]
ส่วนเหตุผลของผู้ที่ “ไม่มอบ” ตอบว่า
“เพราะไม่มีธรรมเนียมการมอบ” มากที่สุด เท่ากับ 46.4% และมากกว่าปีที่แล้ว 5.9 จุด
ส่วนที่เหลือ เป็นเปอร์เซ็นต์เล็กน้อยที่น้อยกว่า
อันหนึ่งมากกว่ามาก 4.7% ตอบว่า
“เพราะไม่รู้ว่าจะซื้ออะไรดี” 3.7%
ตอบว่า “เพราะยุ่งยาก” 3.4% ตอบว่า
“เพราะเขินอาย” 3.1% ตอบว่า “ไม่มีเงิน”
และ 1.6% ตอบว่า “เพราะไม่มีเวลาไปซื้อ”
Image Credits: Pixabay, มูลค่าของขวัญถัวเฉลี่ยอยู่ที่มูล 5,948 เยน (ประมาณ 1,427 บาท) ส่วนคุณแม่ผู้รับมอบคิดว่ามูลค่าเฉลี่ยของของขวัญที่จะได้รับ น่าจะอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 4,143 เยน (ประมาณ 995 บาท) น้อยกว่าที่ผู้มอบ อยากมอบให้ 1,805 เยน (ประมาณ 433 บาท)
[มูลค่าของขวัญ]
สำหรับมูลค่าของขวัญ นั้น ผู้มอบถัวเฉลี่ยจะซื้อของขวัญที่มีมูลค่าเฉลี่ย 5,948 เยน (ประมาณ 1,427 บาท)
ส่วนคุณแม่ผู้รับมอบ มองว่า น่าจะอยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 4,143 เยน (ประมาณ 995 บาท) น้อยกว่าที่
ผู้มอบอยากมอบให้ 1,805 เยน (ประมาณ 433 บาท)
Image: จังหวัดที่ให้ของขวัญที่มีมูลค่าสูงที่สุด คือ “จังหวัดกุมมะ” ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว
สำหรับจังหวัดที่ให้ของขวัญที่มีมูลค่าสูงที่สุด คือ
“จังหวัดกุมมะ” ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของ
กรุงโตเกียว มูลค่าของของขวัญที่ให้ สูงจากมูลค่า
ของขวัญที่คุณแม่คิดไว้มากที่สุดถึง 3,408 เยน (ประมาณ 818 บาท)
Image Credits: คนญี่ปุ่นเฉลี่ยจะพูดคุยกับผู้เป็นแม่สัปดาห์ละ 1 ครั้งมี 50.8% สูงกว่าปีที่แล้ว 9.1% และ“เดือนละอย่างน้อย 1-2 ครั้ง” เท่ากับ 70% พร้อมกับจะมอบของขวัญในวันแม่ด้วย
[ความถี่ในการพูดคุยกับคุณแม่]
ตอบว่าพูดคุยกับคุณแม่สัปดาห์ละมากกว่า 1 ครั้ง
มี 50.8% สูงกว่าปีที่แล้ว 9.1% ตอบว่าพูดคุยกับ
คุณแม่ “เดือนละอย่างน้อย 1-2 ครั้ง” เท่ากับ 70%
และตอบว่า พร้อมกับจะมอบของขวัญให้คุณแม่
หรือคู่สมรสในวันแม่ด้วย
Image Credits: eiga.com, ดาราและนักแสดงหญิงซาโยริ โยชินางะ ( 79 ปี) ได้รับการโหวตให้เป็นบุคคลที่อยากได้เป็นแม่มากที่สุด เท่ากับ 17.2% เป็นอันดับ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 8 เหตุผลที่ตอบมากที่สุด คือ “เพราะดูท่าทางใจดี”
[คนดังที่อยากได้เป็นคุณแม่มากที่สุด]
คนดังที่อยากได้เป็นคุณแม่ คือ ดาราและนักแสดงหญิงซาโยริ โยชินางะ วัย 79 ปี เท่ากับ 17.2% เป็นอันดับ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 8 เหตุผลที่ตอบมากที่สุด คือ
“เพราะดูท่าทางใจดี”
จะสังเกตุเห็นได้ว่า ของขวัญในวันแม่ คนญี่ปุ่นยังคง
นิยมให้เป็นช่อดอกไม้สดกับดอกคาเนชั่น มากที่สุด
ซึ่งเป็นดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของวันแม่ เช่นเดียวกับ
ในสหรัฐอเมริกา และไต้หวัน และอยากมีเวลาร่วม
รับประทานอาหารกับคุณแม่มากขึ้น จากปีที่แล้ว
อันดับ 2 เป็นอาหารและเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ พร้อมกับอยากมอบดอกไม้ให้ผู้เป็นแม่ในวันแม่โดยตรง บอกถึงสถานการณ์หลังการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผู้คนอยากกลับมาพบปะกันมากขึ้น
ในขณะเดียวกัน จากผู้รับที่ประสงค์อยากจะได้รับ
เป็นจดหมาย อีเมล์ หรือรูปภาพ และของชวัญที่ต้องการก็มีมูลค่าน้อยกว่าที่ผู้มอบคิดไว้ แสดงให้เห็นว่า
ผู้เป็นแม่ ซึ่งอาจเป็นคุณแม่ของตน หรือคู่สมรสที่เป็นภรรยาของตน มีความคาดหวังอยากได้ของขวัญที่ให้วามรู้สึกมากกว่า ในขณะที่ผู้มอบเน้นอยากพบปะใกล้ชิดและร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน พร้อมมอบดอกไม้ให้โดยตรง ให้มีเวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น
แหล่งข้อมูล:
20240501b.pdf
detail/product/167
หากเนื้อหาสาระนี้ มีประโยชน์ต่อท่าน
กรุณา กด “ไลค์” กด “แชร์” เสนอ “คอมเม้นท์”
เพื่อการปรับปรุงและนำเสนอสาระข่าวสาร
ดีๆ ต่อไปด้วยจักขอบคุณยิ่ง
โฆษณา