Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หรรสาระ By Jeans Aroonrat
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
11 พ.ค. 2024 เวลา 08:30 • ข่าว
ผู้บริหารระดับสูง Baidu โดนเด้ง โทษฐานเชิดชูวัฒนธรรมการทำงานแบบตายคาหน้าที่
ประเด็นเรื่อง Generation Gap หรือช่องว่างระหว่างวัย เป็นปัญหาที่มีอยู่ในสังคมโลกทุกยุค ทุกสมัย เพราะมนุษย์เราต้อง เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ไปตามวัฏจักร และตามหลักชาวพุทธ มักย้ำเตือนเสมอว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรอยู่ค้ำฟ้า ไม่มีอะไรที่จีรังได้ตลอดไป โดยเฉพาะ ลาภ ยศ และ สรรเสริญ
2
และจากข่าวดราม่าล่าสุดในแวดวงผู้บริหารบริษัทยักษ์ใหญ่จีนครั้งนี้ น่าจะเป็นข้อคิดที่ดีของผู้บริหารที่ต้องดูแลพนักงานที่มีช่วง Generation Gap ที่ต่างจากเราคนละยุค ที่อาจต้องปรับเปลี่ยนกรอบความคิดให้เข้ากับค่านิยมในยุคสมัยที่เปลี่ยนไปด้วย
ไม่เช่นนั้น อาจต้องเจอบทเรียนราคาแพง อย่าง "ชู จิง" ผู้บริหารไฟแรงสาว ที่ต้องถึงคราวหลุดจากตำแหน่ง เพราะ ความยึดมั่น ถือมั่นใน ยศฐา อัตตาของตัวเอง
2
ชู จิง เป็น ผู้บริหารระดับสูงของ Baidu บริษัทด้าน Search Engine ยักษ์ใหญ่ ที่เทียบได้ว่าเป็น Google แห่งประเทศจีน ซึ่งเธอก็รับตำแหน่งสูงถึงรองประธานบริษัท ควบหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ ด้วยบุคลิกภาพที่ดูเป็น สาวมั่น ผู้หญิงทำงานเก่ง ก็น่าจะเข้ากับทิศทางของบริษัทด้านเทคโนโลยี ที่มีฐานลูกค้าเป็นคนรุ่นใหม่ได้ดี
แต่ทว่า ไม่นานมานี้ ปรากฏคลิปที่ ชู จิง ได้พูดถึงสไตล์การทำงานของเธอออกมาในช่องทาง Tiktok ของจีน และกลายเป็นกระแสดราม่าเป็นวงกว้าง เมื่อเธอกล่าวว่า เธอยึดถือการทำงานที่จริงจัง ทุ่มเทต่อหน้าที่อย่างมาก และ ไม่ยอมอ่อนข้อให้กับข้อเรียกร้องของผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของเธออย่างเด็ดขาด
1
โดยเธอได้เล่าว่า ได้เรียกลูกน้องมาด่าที่ไม่ยอมที่จะไปทริปทำงานบริษัท 50 วัน ในช่วงที่มีการระบาด Covid-19 ซึ่งรัฐบาลจีนก็ได้ประกาศให้จำกัดการเดินทาง โดยพนักงานคนนั้นอ้างเหตุผลทางครอบครัว
1
ชู จิง ไม่พอใจมาก และเล่าว่า "แล้วทำไมฉันต้องมานั่งใส่ใจปัญหาในครอบครัวพนักงานด้วย ฉันไม่ใช่แม่ผัวเธอสักหน่อย ฉันอายุมากกว่าพวกเธอตั้ง 10-20 ปี แถมมีลูกตั้ง 2 คน แต่ไม่เคยเหนื่อย ไม่เคยบ่นกับเรื่องหยุมหยิมพวกนี้ แล้วพวกเธอเป็นใครกัน ถึงมาบอกฉันว่า สามีทนเรื่องพวกนี้ไม่ได้"
และยังมีอีกคลิป ที่ชู จิง ได้เล่าว่า เธอยอมที่จะเสียสละหน้าที่แม่เพื่องาน และเธอทำงานหนักมาก ทำงานหนักจนเคยลืมวันเกิดลูกชายคนโต ลืมแม้กระทั่งลูกชายคนเล็กว่าตอนนี้เรียนอยู่ชั้นอะไรแล้ว แต่เธอไม่เคยเสียใจเลย เพราะเธอเลือกแล้วที่จะเป็น "ผู้หญิงทำงาน"
3
1
ชู จิง ยังฝากข้อคิดถึงคนรุ่นใหม่ผ่านช่องทาง โซเชียลของเธอด้วยว่า
"ถ้าคุณคิดที่จะทำงานด้านประชาสัมพันธ์หละก็ ขอให้ลืมวันหยุด วันลาของคุณไปได้เลย คุณต้องพร้อมรับโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง และต้องตอบรับ ปฏิบัติหน้าที่ทันที ไม่ว่าจะกี่โมง กี่ยามก็ตาม ฉันไม่สน เพราะฉันสนแค่ผลงานเท่านั้น และหากมีลูกน้องคนไหนมาบ่นว่าฉันโหดหล่ะก็ บอกเลยว่า พวกคุณจบแน่ อย่าคิดว่าจะหางานใดๆในวงการนี้ได้อีก"
2
หลังจากที่เผยแพร่คลิปของเธอออกไป ก็มีเสียงวิพากษ์ วิจารณ์กลับมาอย่างมากมาย ว่านี่ไม่ใช่สภาพการทำงานเป็นทีมที่เหมาะสม แต่เป็นการกดขี่พนักงาน ด้วยการเชิดชูวัฒนธรรมการทำงานแบบถวายหัว ซึ่งจริงๆมันควรเรียกว่า การตายในหน้าที่
ซึ่งในประเทศจีน มีวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรที่เรียกว่า "996" คือเข้างาน 9 โมงเช้า เลิกงาน 3 ทุ่ม ทำงาน 6 6 วันต่อสัปดาห์ และถูกยกให้เป็นโมเดลการทำงานหนักเพื่อสร้างฐานะ และความก้าวหน้า ยิ่งทุ่มเทมาก ยิ่งประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าคนอื่น
1
แต่ในความเป็นจริง การทำงานอย่างหนักแบบไม่ได้หยุดพักอย่างเพียงพอต่างหากที่สร้างความเหนื่อยล้า และ หมดไฟก่อนวัยอันควร และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เกิดกระแสวัฒนธรรมตีกลับที่เรียกว่า ถาง ผิ่ง (躺平) และ ไป่ ล่าน (摆烂) หรือนอนเฉยๆ หายใจทิ้งไปวันๆ ของหนุ่มสาวจีนในสมัยนี้
อีกทั้งการเล่าถึงสไตล์การทำงานของชู จิง ที่ยอมรับว่าเธอเป็นคนเข้มงวดเรื่องหน้าที่การงานกับลูกน้องมากจนกระทั่งไม่ใส่ใจความรู้สึกของลูกน้อง หรือแม้แต่ครอบครัวตัวเอง เป็นเรื่องที่รับไม่ได้แล้วสำหรับค่านิยมการทำงานของคนรุ่นใหม่ ที่ให้ความสำคัญกับ Work-Life Balance มากกว่าการพลีชีพเพื่อองค์กรอีกต่อไป
2
แถมยังขัดกับภาพลักษณ์องค์กรอย่าง Baibu ที่เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยี ก็น่าจะปรับใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในองค์กร ให้ทำงานง่าย สะดวก สบาย มากขึ้นไม่ใช่หรือ แต่กลายเป็นว่ายังมีระบบ โทรจิก โทรตาม เคี่ยนงานลูกน้องแบบองค์กรอุตสาหกรรมเดิมๆอยู่ได้อย่างไร
หลังจากที่กระแสทัวร์ตีกลับมาที่ผู้บริหารสาว ซึ่งคลิปวิดิโอของเธอถูกลบออกจาก Tiktok ในเวลาไม่นาน ชู จิง ก็ออกมาโพสต์ข้อความขอโทษสังคมในความเห็นของเธอที่ไม่เหมาะสม และสร้างความไม่สบายใจในสังคม อีกทั้งยังสร้างความเข้าใจผิดต่อค่านิยม และ วัฒนธรรมของบริษัท ซึ่งเธอมีเจตนาเพียงกระตุ้นให้พนักงานทำงานให้ดีขึ้นเท่านั้น
1
แต่ล่าสุด มีข่าวจากสื่อจีนว่า ชู จิง ถูกปลดจากตำแหน่งผู้บริหารของ Baidu เรียบร้อยแล้ว อีกทั้งยังลบข้อมูลตำแหน่ง "รองประธานบริษัท Baidu" ออกจากโปรไฟล์บนโซเชียลมีเดียของเธอแล้วด้วย
3
จึงเป็นข้อคิดเตือนใจที่ดีสำหรับผู้บริหาร ที่ต้องทำงานกับผู้ใต้บังคับบัญชาต่างรุ่น ในยุคสมัยนี้ใช่ว่าจะใช้ตำแหน่งหน้าที่การงานที่เหนือกว่า กดขี่บี้สั่งใครให้ได้ตามใจทุกอย่าง เหมือนแบบสมัยก่อน
และที่สำคัญกว่านั้นคือทักษะการใช้โซเชียล ต่อให้เป็นเพจ เป็นช่องของตัวเอง ก็ใช่ว่าจะพูดทุกสิ่งอย่างที่คิดโดยไม่กรองลงไปได้ เพราะผลกระทบ (ทัวร์) ที่ตามมา มันมีอิทธิพลมากกว่าโลกยุคอนาล็อกมากมายนัก
2
แต่ในเรื่องร้ายๆ ก็มักมีเรื่องดีๆอยู่ ก็คือ จะมีคุณแม่คนหนึ่งที่จะมีเวลาให้ลูกมากขึ้น เพื่อจะได้จำวันเกิดลูก และ ชื่อชั้น ชื่อโรงเรียนลูกๆให้แม่นๆได้นั่นเอง
8
1
****************
ติดตามบทความของ "หรรสาระ" เพิ่มเติมได้ที่
Facebook - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
Twitter - @HunsaraByJeans
Blockdit - หรรสาระ By Jeans Aroonrat
แพลทฟอร์มคุณภาพ ไม่ปิดกั้นการมองเห็นเนื้อหา
****************
แหล่งข้อมูล
https://www.theguardian.com/business/article/2024/may/09/chinese-pr-boss-says-sorry-after-glorifying-work-till-you-drop-culture
1
https://www.nbcnews.com/news/world/china-pr-executive-baidu-apologizes-comments-overwork-rcna151607
https://abcnews.go.com/International/wireStory/pr-executive-reportedly-departs-chinas-baidu-after-comments-110095331
https://edition.cnn.com/2021/08/27/tech/china-supreme-court-996-intl-hnk/index.html
https://www.theguardian.com/world/2022/may/26/the-rise-of-bai-lan-why-chinas-frustrated-youth-are-ready-to-let-it-rot
ข่าวรอบโลก
จีน
ธุรกิจ
40 บันทึก
71
7
97
40
71
7
97
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย