11 พ.ค. เวลา 11:14 • ความคิดเห็น
จะคิดยังไง ก็ต้องเข้าใจคำว่า "แม่ศรีเรือน" ให้ตรงกันก่อน คำว่าแม่ศรีเรือน เป็นภาพผู้หญิงในอุดมคติสมัยโบราณครั้งกระโน้น คำว่าเรือน มาจาก เรือน 3 น้ำ 4 โดยที่ เรือน 3 มาจาก เรือนนอน เรือนครัว และเรือนผม ส่วนน้ำสี่ ก็คือ น้ำกิน น้ำใช้ น้ำใจ น้ำปูน ค่ะ
เมื่อมาถึงยุคนี้ ตัดคำว่าน้ำปูนออกไปก่อนเลยค่ะ เพราะพวกเราเลิกกินหมากกันมาตั้งแต่สมัยท่านจอมพลป. โน่นแล้ว แต่เราขอแทนด้วยคำว่า "น้ำคำ" ซึ่งหมายถึงคำพูด โปรดสังเกตว่า เรือน 3 นั้น คอนเซ็ปต์ของมัน ก็คือความสามารถในการเสรฺิ์ฟทั้งเรื่องบนเตียง และเรื่องบนโต๊ะอาหาร สาวใดแค่เพียงทอดไข่ดาวแล้วน้ำมันกระเด็น ก็เต้นเป็นจ้าวเข้า อย่างนี้ก็คงไม่อาจเรียกว่าแม่ศรีเรือนได้เต็มปาก
ส่วนน้ำ 4 คอนเซ็ปต์ของมันนั้น มาจากสังคมในสมัยโบราณที่สามีต้องออกไปทำนาทำไร่ไถหวาน ครั้นกลับเข้าบ้าน ศรีภรรยาก็ต้องหาน้ำเย็นไว้ให้ดื่ม เตรียมน้ำไว้ให้อาบ สมัยก่อนไม่มีประปา ภรรยาต้องโพงน้ำบาดาล หาบน้ำมาเตรียมไว้ให้พร้อมสรรพ และหากคุณเป็นสะใภ้คนจีน แม้จะมาจากตระกูลใหญ่แค่ไหน แม้จะท้องแก่ใกล้คลอด ก็ต้องไปโพงน้ำมาใส่ให้เต็มตุ่มทุกตุ่มค่ะ (แม่เราเล่าให้ฟัง)
ส่วนเรื่องน้ำใจ ก็มาจากสังคมไทยสมัยก่อน บ้านใกล้เรือนเคียง ญาติสนิทมิตรสหายฝ่ายสามีทั่วถึงกันหมด มาถึงเรือนชานภรรยาก็ต้องต้อนรับ หรือไปเยี่ยมเยือน มีผลหมากรากไม้ ติดไม้ติดมือไปตามความเหมาะสม ส่วนน้ำคำ ที่เราขอปรับมาจากน้ำปูน ก็คือ คำพูดคำจาก็ต้องให้มันไพเราะ พี่คะ พี่ขา ไม่ประชดประชันหมั่นไส้ มึงมาพาโวย
ถ้าอ่านจนจบแล้วเหนื่อยเพลีย
เราอยากชักชวนให้หันมา
โสดสวยรวยลูกเดียวแบบเราจะดีกว่า
โฆษณา