Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Nakvat Hakimov
•
ติดตาม
11 พ.ค. เวลา 16:36 • ความคิดเห็น
วิกฤตตุรกี เมื่อตุรกีกลับมาเป็น "คนป่วยแห่งยุโรป" อีกครั้ง
ตุรกี ในต้นทศวรรษที่2010 ผู้คนมองไปยังประเทศแห่งนี้ว่าพวกเขากำลังจะเป็น ประเทศอุตสาหกรรมเกิดใหม่(Newly industrialized country) มันเริ่มต้นจากการเติบโตของ GDP แบบก้าวกระโดด จากปี2001 ตุรกีมีอัตรา GDP รวม 674.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2006 GDP ของตุรกีก็เพิ่มเป็น 1,099.5พันล้านเหรียญสหรัฐ และในปี2015 GDP ของตุรกีก็เพิ่มเป็น2,022.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้การลดลงของอัตราหนี้สาธารณะแบบเท่าตัว จากปี 2001 ตุรกีมีอัตราหนี้สาธารณะอยู่ที่ 75.5% จนกระทั้งในปี 2008 อัตราหนี้สาธารณะเหลือเพียง 37.7% และในปี 2015 ก็เหลือหนี้สาธารณะเพียง 27.2% และ ดุลงบประมาณของภาครัฐจากที่ในปี 2001 รัฐบาลตุรกีขาดดุลถึง 33% ต่อGDP ในปี 2006 ดุลงบประมาณของตุรกีเพิ่มขึ้นเป็น 0.6% ต่อ GDP
ที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้หลายคนมองประเทศนี้ว่ากำลังเติบโต และ จะกลายเป็น ประเทศอุตสาหกรรมเกิดใหม่(Newly industrialized country) จนมีคนเคยคาดการณ์ไว้ว่า หากตุรกีสามารถรักษาสภาพเศรษฐกิจของพวกเขาไว้ได้ภายในปี 2060 พวกเขาจะกลายเป็นประเทศที่มีขนาด GDP อันดับ 5 ของโลก
แต่ทุกอย่างกับพลิกจากอีกด้านเป็นอีกด้าน ในช่วงกลางทศวรรษที่ 2010 จากผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกและโดยเฉพาะวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปบวกกับวิกฤตทางการเมืองในตุรกีที่เป็นผลพวงจากความพยายามรัฐประหารในปี 2016 ที่ทำให้บุรุษคนหนึ่งที่เคยเป็นที่ชื่นชมในผลงานก้าวขึ้นมามีอำนาจเบ็ดเสร็จในประเทศ นั้นคือ เรเจป ไตยิป เอรโดอัน ประธานาธิบดีแห่งตุรกี และ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งตุรกี
เรเจป ไตยิป เอรโดอัน ประธานาธิบดีแห่งตุรกี และ อดีตนายกรัฐมนตรีแห่งตุรกี
เอรโดอัน ได้รวบอำนาจการปกครองภายหลังความพยายามรัฐประหารที่ล้มเหลว อำนาจฝ่ายบริหารที่เดิมอยู่ในมือนายกรัฐมนตรีก็มาตกอยู่ในมือประธานาธิบดี ก่อนที่จะมีการยุบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ ประธานาธิบดีก็กลายเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้าคณะรัฐบาล รวมถึงการถอดถอนตุลาการและดำเนินการกวาดล้างผู้ที่ต้องสงสัยที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับคณะรัฐประหาร ทำให้โครงสร้างภาครัฐใหม่ของตุรกีกลายเป็นรัฐที่ไร้การถ่วงดุลอำนาจ นี่คือหนึ่งในสาเหตุที่นักรัฐศาสตร์มองว่า คือ จุดเริ่มต้นของวิกฤตตุรกี
ในปี 2018 ตุรกีได้เผชิญการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด จากในปี 2017 ตุรกีมีมูลค่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดราว 47.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เพียงไม่ถึงปี การขาดดุลนั้นก็เพิ่มเป็น 7.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมกราคมปี 2018 ถือเป็นการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง
สิ่งหนึ่งที่นักเศรษฐศาสตร์มองว่าเป็นลักษณะเศรษฐกิจของตุรกีที่มีมายาวนานนั้นคืออัตราการออมนั้นต่ำ เศรษฐกิจตุรกีพึ่งพาเงินทุนไหลเข้าเพื่อระดมทุนส่วนเกินของภาคเอกชน โดยธนาคารและบริษัทขนาดใหญ่ของตุรกีกู้ยืมเงินจำนวนมาก โดยมักเป็นสกุลเงินต่างประเทศ
ภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้ ตุรกีต้องหาเงินประมาณ 200 พันล้านดอลลาร์ต่อปีเพื่อใช้ในการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในวงกว้างและชำระหนี้ที่ครบชำระ ขณะที่รัฐบาลกลับมีเงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศขั้นต้นเพียง 85 พันล้านดอลลาร์ นั้นทำให้เงินทุนที่ไหลเข้าสู่ประเทศเริ่มจะเหือดแห้ง
ผลลัพท์คือ เงินตราลีราตุรกีเสื่อมมูลค่า ทำให้เกิดอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ภาครัฐเริ่มเผชิญการขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น จากในปี 2018 รัฐบาลตุรกีมีการขาดดุลงบประมาณ -1.9% เพียงแค่หนึ่งปี คือ ในปี 2019 อัตราขาดดุลก็เพิ่มเป็น -2.9% และเพิ่มขึ้นจนในปี 2023 ภาครัฐตุรกีขาดดุลถึง -5.4% ต่อ GDP
นอกจากนี้อัตราหนี้ภาครัฐก็เพิ่มขึ้น จากปี 2017 ตุรกีมีหนี้สาธารณะราว 28% ก็เพิ่มเป็น 30% ในปี 2018 และเพิ่มขึ้นเรื่อยจนในปี 2021 หนี้สาธารณะก็ทะลุเป็น 40.4% ต่อ GDP
วิกฤตการณ์ดังกล่าวนำไปสู่ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้น และมีการผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น ถึงจุดนี้ธนาคารกลางตุรกีไม่มีทางเลือกนอกจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แต่แล้วเสียงฟ้าผ่าก็ดังเปรี้ยง เมื่อประธานาธิบดีเอรโดอัน ซึ่งได้รับอำนาจเผด็จการโดยพฤตินัยขัดขวางไม่ให้ธนาคารกลางขึ้นดอกเบี้ย
ผลคือ ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่รายได้ครัวเรือนนั้นสวนทาง ภาวะเงินเฟ้อที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นนี้ส่งผลกระทบต่อหลายครอบครัวให้มีรายได้ลดลงและไม่สามารถซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันได้อีกต่อไป ความเชื่อมั่นของนักลงทุนก็ลดลงเป็นประวัติการณ์ ภายในปี 2022 เงินลีราก็เสื่อมมูลค่าไปแล้ว 30% และจะร่วงลงต่อไป
ความรุนแรงของวิกฤตเศรษฐกิจในตุรกียิ่งรุนแรงขึ้น หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยไม่ได้ ฟ้าผ่าดังเปรี้ยงอีกครั้ง เมื่อเอรโดอันสั่งให้ธนาคารกลางทำการลดอัตราดอกเบี้ยในสภาวะที่เกิดเงินเฟ้อ
ราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงอยู่แล้วก็เพิ่มขึ้นหนักเข้าไปอีก ธุรกิจมากมายเริ่มอยู่ไม่ได้ เริ่มต้นจากอสังหาริมทรัพย์ ยอดขายบ้านในตุรกีลดลง 14% ในปี 2018 และมีบ้านระมาณ 2,000,000 หลัง ที่ขายไม่ออก ขณะที่ภาคธุรกิจหลายแห่งต้องขายทรัพย์สินของตนเองเพื่อพยุงธุรกิจของตน ราคาอาหารในร้านสะดวกซื้อเพิ่มขึ้นจนทำให้เงินที่เคยซื้อของได้มากกว่านี้กลับแทบจะซื้ออะไรไม่ได้
คำถามที่เกิดขึ้น อะไรทำให้เอรโดอัน ไม่ขึ้นดอกเบี้ยแถมลดดอกเบี้ยอีกต่างหาก คำตอบคือ ความเชื่อทางศาสนาของเอรโดอัน ซึ่งเขาเป็นหนึ่งในผู้นำทีมีความเชื่อเป็นอิสลามมิกส์ที่สุดโต่ง โดยเขาได้เคยกล่าวว่า "ดอกเบี้ย" เป็นบิดามารดาแห่งความชั่วร้ายทั้งหมด นอกจากนี้เขายังได้ยกวาทกรรมอิสลามที่ระบุว่า ดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม มาใช้เป็นข้ออ้างในการที่เขาแทรกแซงไม่ให้ธนาคารกลางเพิ่มอัตราดอกเบี้ยและต้องลดอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่อง
ถ้าคุณอยู่ในสังคมอิสลามที่ใช้หลักการเศรษฐศาสตร์แบบอิสลาม การห้ามใช้ดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ไม่ผิดและไม่ส่งผลอะไร แต่เมื่อคุณอยู่ในเศรษฐกิจแบบการตลาด การไม่ใช่ดอกเบี้ยเสมือนกับคุณไม่ยอมใช้อวัยวะร่างกายตัวเองควบคุมเศรษฐกิจที่เป็นเหมือนร่างกายของคุณ
และเมื่อร่างกายของคุณติดเชื้อ คุณจำเป็นต้องการยา แต่คุณบอกว่าคุณทานยาไม่ได้ ผลลัพท์คือ คุณก็ต้องป่วยอยู่ดี นี่คือคำอธิบายที่ดีที่สุดเกี่ยวกับผลกระทบของวิธีคิดทางเศรษฐศาสตร์ของเอรโดอัน มุมมองอิสลามมิกส์ของเอรโดอันที่เป็นยูโทเปียและถูกนำมาใช้ในโลกแห่งความจริงจึงกลายเป็นฝันร้ายของประชาชนแห่งสาธารณรัฐตุรกี
Financial Times หนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันระบุโดยอ้างคำพูดของ Timothy Ash นักวิเคราะห์ทางการเงินชั้นนำในตลาดเกิดใหม่ โดยวิเคราะห์ว่า "ตุรกีมีธนาคารที่แข็งแกร่ง การเงินสาธารณะที่แข็งแกร่ง มีประชากรศาสตร์ที่ดี มีวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ แต่ได้รับนิสัยเสียในช่วงสี่ถึงห้าปีที่ผ่านมาจากการบริหารเศรษฐกิจมหภาคที่แหวกแนว(ของรัฐบาลเอรโดอัน)
Paul Krugman นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกันกล่าวถึงวิกฤตตุรกีว่าเป็น"วิกฤตสกุลเงินและหนี้แบบคลาสสิก ซึ่งเป็นแบบที่เราเคยเห็นมาหลายครั้ง" เขายังกล่าวเสริมว่า "คุณภาพของความเป็นผู้นำมีความสำคัญอย่างมากในทันที คุณต้องมีเจ้าหน้าที่ ผู้ที่เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น สามารถคิดหาคำตอบและมีความน่าเชื่อถือเพียงพอจนทำให้ตลาดเกิดใหม่บางแห่งมีสิ่งเหล่านี้ และพวกเขาก็ขจัดความวุ่นวายออกไปได้ค่อนข้างดี"
กล่าวข้างต้นคือ วิกฤตตุรกี เป็นวิกฤตที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างง่ายได้ ไม่มีความสลับซับซ้อน อีกทั้งนักเศรษฐศาสตร์หลายคนยังมองว่า ตุรกียังมิได้อยู่ในจุดตกต่ำ กล่าวคือ ถ้าหากผู้นำตุรกีอย่างเอรโดอัน ยุติแผนการเศรษฐศาสตร์แหกคอกหรืออยู่นอกเหนือโลกแห่งความเป็นจริง ตุรกียังมีโอกาสที่จะกลับมาหายป่วย มีโอกาสที่จะแก้ปัญหาทางการเงินของตนเอง และ กลับมามีสภาพเศรษฐกิจที่ปกติได้
แต่ถ้าหากตุรกียังคงดำเนินนโยบายทางการเงินแบบเดิม ผลลัพท์ก็จะยิ่งรุนแรง เมื่อคุณไม่ทานยานแล้วคุณหวังว่าโรคภัยจะหายไป มันเป็นไปไม่ได้ ตรงกันข้ามร่างกายของคุณจะยิ่งแย่ลงไปอีก
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของตุรกี ได้สร้างผลกระทบต่อสังคมตุรกีเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง จำนวนการเพิ่มขึ้นของการฆ่าตัวตาย ในเดือนพฤศจิกายนปี 2019 มีพี่น้องสี่คนถูกพบเสียชีวิตในอพาร์ตเมนต์แห่งหนึ่งในเมืองฟาติห์ เขตเมโตรโปลิสอิสตันบูลโดยได้ฆ่าตัวตายเพราะพวกเขาไม่สามารถชำระค่าใช้จ่ายได้ เนื่องจากค่าไฟที่เพิ่มขึ้นทำให้พวกเขาค้างชำระค่าไฟมาหลายเดือนและอัตราการว่างงานในเยาวชนอยู่ที่ประมาณ 27% ที่พวกเขาทั้งสี่คน คือ 27% ใน 100% ของเยาวชนที่ไม่มีงานทำ
เจ้าหน้าที่และสื่อของพรรค AK ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปฏิเสธว่าการเสียชีวิตล่าสุดมีสาเหตุมาจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่ก็มีคดีในปี 2019 คราวนี้เป็นครอบครัวที่มีเด็กอายุ 5 และ 9ปี รวมอยู่ด้วย ถูกพบเป็นศพในเมืองอันตัลยา โดยทิ้งข้อความเบื้องหลังให้รายละเอียดถึงปัญหาทางการเงินที่ครอบครัวกำลังประสบ
ค่าอาหารเพิ่มขึ้น 2 เท่า, ค่าขนส่งเพิ่มขึ้น 123%, ค่าไฟเพิ่มขึ้น 57% ขณะที่สกุลเงินลีราได้สูญเสียมูลค่าไป 20% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้แรงกกดันเหล่านี้ทำให้ผู้ว่าธนาคารกลาง ทั้งสามคนทนไม่ไหวจึงเริ่มมาตรการที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ย โดยไม่สนคำสั่งประธานาธิบดี ผลลัพท์คือ มีการไล่ผู้ว่าธนาคารกลางออกไปแล้ว 3 คน จนถึงปี 2021
สถานการณ์วิกฤตตุรกีแย่ลง เริ่มแรกการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตุรกี ลดลงเป็น BB+ ก่อนที่ในปี 2022 จะลดลงเป็น BB- ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนหายไป เช่น ธนาคาร UBS ของสวิตเซอร์แลนด์ ตัดสินใจยุติความคุ้มครองคู่การแลกเปลี่ยนเงินตราลีรากับเงินดอลลาร์สหรัฐ และ เพิกถอนคำแนะนำก่อนหน้านี้ทั้งหมดสำหรับนักลงทุนในพื้นที่ ขณะเดียวกัน จอร์แดนได้ประกาศยุติการค้าเสรีกับตุรกีหลังพบว่าสินค้าที่นำเข้าจากตุรกีมีราคาเพิ่มขึ้น 5 เท่า
ผลกระทบของนโยบายแหกคอกของเอรโดอัน ยังส่งผลต่อตัวเอรโดอัน ก่อนหน้านี้เขาพยายามที่จะวิ่งเต้นให้ตุรกีได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก BRICS ที่มีอักษรย่อใช้เรียกกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอันประกอบด้วย บราซิล (Brazil) รัสเซีย (Russia) อินเดีย (India) จีน (China) และแอฟริกาใต้ (South Africa) ซึ่งกลุ่มดังกล่าวปฏิเสธการให้ตุรกีเข้ามาเป็นสมาชิก
ความสัมพันธ์ตุรกีกับโลกตะวันตกยิ่งแย่ลงไปอีกเมื่อ บาทหลวง แอนดรูว์ บรันสัน(Andrew Brunson) ถูกจับกุมในตุรกี หลังทางการตุรกีกล่าวหาว่าเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อการร้ายและรวมถึงการรัฐประหารที่ล้มเหลวในตุรกี ทำให้ผู้นำสหรัฐในเวลานั้นคือ โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งก็เป็นผู้เผด็จการโดยพฤตินัยเหมือนกับผู้นำตุรกี ประกาศขึ้นภาษีสินค้าที่นำเข้ามาจากตุรกี จนส่งผลต่อผู้ผลิตสินค้าจากตุรกีไปยังสหรัฐต้องเผชิญภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้นอยู่แล้วเพิ่มขึ้นเข้าไปอีก
นอกจากนี้ในเวลาถัดมาสหรัฐก็ได้ขึ้นภาษีเหล็กและผลิตภัณฑ์อื่นๆ กับตุรกี กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ "สงครามเศรษฐกิจ" ระหว่างสหรัฐกับตุรกี
ความล้มเหลวของรัฐบาลตุรกี ที่สิ้นสุดความเป็นประชาธิปไตยเสรีและกลายเป็นประชาธิปไตยเทียมเสมือนเผด็จการโดยพฤตินัย อันเนื่องมาจากการกวาดล้างผู้เห็นต่างที่ถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับคณะรัฐประหาร ได้ก่อความไม่พอใจแก่ประชาชนภายในตุรกี ในการเลือกตั้งปี 2018 และ 2023 ที่ผ่านมา พรรค AK สูญเสียคะแนนนิยม จากเดิมก่อนวิกฤต พรรค AK ชนะเลือกตั้งด้วยคะแนน 49.50% ในปี 2018 คะแนนนิยมของ AK ลดลงเป็น 42.56% และ ในปี 2023 ลดลงเป็น 35.63% อย่างไรก็ตามพรรค AK ยังคงครองเสียงข้างมากในสภา
แต่คะแนนนิยมของรัฐบาลเอรโดอัน ยังอยู่ได้ด้วยความนิยมในตัวผู้นำอย่างเอรโดอัน เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าในต้นทศวรรษที่ 2000 คือ ตั้งแต่ปี 2003 - 2014 ตุรกีเติบโตได้ด้วยผู้นำรัฐบาลนั้นคือ นายกรัฐมนตรี เรเจป ไตยิป เอรโดอัน นั้นเอง
แต่แล้วในทศวรรษให้หลัง ผู้นำคนเดิมกลับมีวิธีคิดและการกระทำที่เปลี่ยนไป หลายคนยังคงศรัทธาในตัวเขา แต่อีกหลายคนก็เริ่มแคลงใจในตัวเขา ตั้งแต่ประเด็นการรัฐประหาร ที่เหมือนว่าตุรกีจะเหมือนรอดจากการรัฐประหารโดยกองทัพ แต่พวกเขากลับได้รัฐบาลรวบอำนาจเบ็ดเสร็จที่ไม่ได้ต่างอะไรจากเผด็จการทหาร
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่กล่าวได้ว่า เป็นปมสำคัญที่ทำให้ฐานเสียงของเอรโดอันเริ่มหายไป นั้นคือ การบีบให้ นายกรัฐมนตรี อาห์เมด ดาวูโตกลู ลาออกจากตำแหน่ง เมื่อปี 2016 ซึ่งเป็นจุดที่หลายคนมองว่าเป็นการพลิกสมัยเอรโดอันจากหน้ามือเป็นหลังมือ เป็นจุดจบยุคเอรโดอันหนึ่ง และ เริ่มต้นยุคเอรโดอันสอง ที่ต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
ก็ยังมีคำถามว่า เหตุใดที่เอรโดอันยังมีคะแนนนิยมอยู่ ทั้งๆที่เขาถูกชี้หน้าว่าเป็นต้นเหตุของวิกฤต สิ่งหนึ่งที่พออธิบายเรื่องนี้ได้คือ ทฤษฎีสมคบคิดที่เกิดในสังคมตุรกี หนึ่งในทฤษฎีสมคบคิดที่น่าสนใจคือ วิกฤตเศรษฐกิจที่ตุรกีเผชิญในปัจจุบัน ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดตามนโยบายของรัฐบาลแต่เป็นผลงานสมรู้ร่วมคิดของนักแสดงต่างชาติที่เป็นเงา โดยพยายามทำร้ายตุรกี และกีดกันประธานาธิบดีเอรโดอันจากการสนับสนุน
พลังอำนาจอันชั่วร้ายจากต่างชาติ กลายเป็นผู้รับผิดชอบต่อวิกฤตในปัจจุบันของตุรกี ที่ชาวเติร์กหลายคนเชื่อว่า มหาอำนาจพยายามล็อบบี้ไม่ให้ตุรกีขึ้นเป็นมหาอำนาจเกิดใหม่ เมฟลุต จาวูโซลู รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีเคยกล่าวไว้ว่า วิกฤตทั้งหมดเกิดขึ้นจากการสมรู้ร่วมคิดจะรวมทั้ง "ล็อบบี้อัตราดอกเบี้ย" และ "ประเทศมุสลิมบางประเทศ" ซึ่งเขาปฏิเสธที่จะเอ่ยชื่อ แต่หลายคนเชื่อว่า คือ ประเทศซาอุดิอารเบีย
ในปัจจุบัน วิกฤตตุรกี ทำให้คาบสมุทรบอลข่านที่เหมือนเคยมองตุรกีในฐานะพี่ใหญ่สูญเสียความเชื่อมั่นในตุรกี อย่าง บอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา ซึ่งเคยคาดหวังจะใช้อิทธิจากตุรกีคานอำนาจกับรัสเซียที่ให้การสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวเซิร์บ ภายหลังการรุกรานยูเครนของรัสเซีย รัฐบาลกลางของบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา กลับต้องแสวงหาความช่วยเหลือจากNATOแทนตุรกี เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดว่า ตุรกีเริ่มเสื่อมอำนาจและความนิยมจากประเทศรอบข้าง
ผลกระทบของวิกฤตตุรกี ทำให้คนในยุโรปโซนตะวันออก และในคาบสมุทรบอลข่านเริ่มเปลี่ยนวิธีคิดต่อตุรกี จากเดิมคือประเทศแห่งโอกาส มหาอำนาจใหม่ กลายเป็นคนป่วยแห่งยุโรป ประเทศที่คนในชาติอยากจะย้ายประเทศแทนที่จะอยู่ในประเทศที่มีทรัพยากรมากมายและวิศวกรรมหลากหลายสาขาก้าวหน้า ตุรกีได้กลับมาเป็นคนป่วยของยุโรป และโอกาสที่พวกเขาจะได้เป็นสมาชิก EU หรือ เป็นผู้นำในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ การลดลงต่อเนื่อง ตราบที่วิกฤตเศรษฐกิจที่ไม่ได้รับการแก้ไขยังคงถูกเมินเฉยจากผู้นำ
ที่มา
Erdogan Is Failing Economics 101 :
https://foreignpolicy.com/2018/05/25/erdogan-is-a-mad-economist-and-turkey-is-his-laboratory/?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR28dVieKip56I9YOl2Sqc7OaZlle8_d4RNyUaxm3E7PQ1xX7B01O9ZzXzQ_aem_AQaEIkvwBPPd40sEBSpr7s1EQp_7wW_PMyyA--OoZ9-H3Y1PZik8SfISBkwk5l_XeC0asGPZdssYMxuuVNRT31bP
Turkey's Lessons for Emerging Economies – Caixin Global :
https://www.caixinglobal.com/2018-08-19/turkeys-lessons-for-emerging-economies-101316583.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1vZwRovvP9B4DACYxKydUl1x9OiGiWtXj52pM3n8WwhsLO6hfBMSY3o0k_aem_AQae7Vc4M1c7tLoRuKUocit46tzT8f3vVqXeg1akWR0-rNNLSo6nYfn9cow7wCMSA4kCUUV6kH4UsUzZpMnFzxvP
Erdogan blames Turkey’s currency problems on ‘foreign financial tools’ as central bank reserves fall :
https://www.cnbc.com/2022/01/13/erdogan-blames-turkeys-currency-woes-on-foreign-financial-tools-as-central-bank-reserves-fall.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR1i5VIASGGDZ5_GA1dM7DlPrlebNNGEJsvhkWCZ8TFLH5RShRPB0TD4ZuM_aem_AQYcUKExPAuyS62XQShuENZo35AQAIN4q8Yqf_Ov2JT2OG_4ASM8KWvc2KIURX0A7q2tQUqiwdqit9fcV4GLaO28
Turkish economic crisis (2018–current) :
https://en.wikipedia.org/wiki/Turkish_economic_crisis_(2018%E2%80%93current)?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0R-ATiSZtC1GyANYFVZXk35WuAHgbsQl8XhWOJ41m05UFgYi4HCNS-Z3c_aem_AQbcsGD0pQJZy4yg8uFzbQW_RQeeU1HVP9T1OHqLExo0JfvbHpYwzxEE8EBi0VvjUKkP69QWwlpeOQJzk8K6c_m_
Making Sense of Turkey's Economic Crisis :
https://worldview.stratfor.com/article/making-sense-turkeys-economic-crisis?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR35zjQc2kWZcSb4D1YtCcAFeA6iOQth0T7H7uFtzw6ZxLAkfB8Imzf-4nM_aem_AQbOKolRDBLrkP1A0VYrIabaZV30VwqM6pEsZkEm_PFOXSKbWW6DNJqfgMNqA31bYJI8RWZOtblTvTurVBZLFS_j
Turkey Indicators :
https://tradingeconomics.com/turkey/indicators
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย