พระไตรปิฎกฉบับภาษาอังกฤษ

พระไตรปิฎกฉบับแปลสู่พากย์ภาษาอังกฤษ จัดพิมพ์โดยสมาคมบาลีปกรณ์เป็นส่วนมาก นอกจากนี้ก็มีสำนักพิมพ์อื่นพิมพ์ในชุดของหนังสือ SACRED BOOKS OF THE EAST พระไตรปิฎกชุดนี้มีสำนวนการแปลที่ต่างกันการแปลก็มุ่งให้ผู้อ่านเข้าใจมากกว่าที่จะมุ่งรักษารูปแบบไวยากรณ์ นอกจากนี้ยังได้ทำเชิงอรรถในประโยคที่ยากซับซ้อนไว้ด้วย และมีการตัดข้อความที่ซ้ำกันหลายครั้งออก
ผู้แปลจะเขียนสรุปเนื้อความทั้งเล่มไว้ในบทนำ พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์ในเล่มนั้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเล่มมัชฌิมนิกาย จะมีการสรุปไว้ทุกพระสูตร เล่มกถาวัตถุได้นำข้อความจากอรรถกถามาแสดงให้เห็นเพื่อเข้าใจง่ายว่าใครเป็นฝ่ายถามหรือตอบ พระไตรปิฎกชุดนี้มีดัชนีท้ายเล่มที่อ้างอิงข้อและหน้าของฉบับอักษรโรมันไว้ให้เทียบเคียงด้วย
1. Book of Discipline1 หรือ Vinaya Texts พระวินัยปิฎกฉบับอังกฤษมีทั้งหมด 6 เล่ม T.W.Rhys Davids แปลบางส่วนของปาติโมกข์ และมหาวรรค ในจุลลวรรคได้แปลทั้งหมดที่เหลือ I.B.Horner ได้แปลจนจบสมบูรณ์ มีชื่ออังกฤษว่า The Book of Discipline Part 1-6 พิมพ์ในชุดหนังสือ SACRED BOOKS OF THE EAST โดยสันปกหนังสือมีชื่อว่า Sacred Books of the Buddhist, Vol.X I-XXV, Book of Discipline Part 1-6,Translanted by I B.Horner
2. The Discourses พระสุตตันตปิฎก ฉบับอังกฤษมีทั้งหมดกว่า 30 เล่ม และบางเล่มมีผู้แปลหลายสำนวน เช่น ธรรมบทมีผู้แปลทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 8 สำนวน หรือ 8 เล่ม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
Dialogues of the Buddha ทีฆนิกาย มี 3 เล่ม แปลโดย T.W.and C.A.Rhys Davids จัดพิมพ์ในชุดหนังสือ Sacred Books of the Buddhist โดยมีชื่อว่า Dialogues of the Buddha IIII
1
Middle Length Saying มัชฌิมนิกาย แปลโดย I.B.Horner มีชื่อเรื่องว่า The collection of the Middle Length Saying มี 3 เล่ม และแปลใหม่อีกสำนวนหนึ่งโดย Bhikkhu Nanamoli and Bhikkhu Bodhi มีชื่อเรื่องว่า Middle Length Discourses of the Buddha มี 1 เล่ม
Connected Discourses of the Buddha สังยุตตนิกาย มีจำนวน 2 เล่ม แปลโดย Ven. Bhikkhu Bodhi พิมพ์โดย PTS. ร่วมกับสำนักพิมพ์ Wisdom Publications
Gradual Saying อังคุตตรนิกาย มีทังหมด 5 เล่ม แปลโดย F.L.woodward and E.M.Hare มีชื่อว่า The Book of the Gradual Saying โดย C.A.F. Rhys Davids เขียนบทนำ
Minor Anthologies of the Pali Canon ขุททกนิกายมีหลายเล่ม และบางเล่มก็มีหลายสำนวน แต่ก็ยังพิมพ์ไม่ครบชุด ชุดที่ยังไม่ได้จัดพิมพ์เผยแผ่ คือ มหา-จูฬนิทเทส และอปทาน
 
 
The Minor Readings ขุททกปาฐะ จำนวน 1 เล่ม แปลโดย Bhikkhu Nanamoli มีชื่อว่า Minor Readings and IIIustrator
The Word of the Doctrine ธรรมบท แปลโดย K.R.Norman และมีแปลสู่ภาคอังกฤษโดย F.Max Muller, F.L.woodword, Narada Thera, Buddhadatta Thera, Buddharakkhit เป็นต้น
The Udana อุทาน ครั้งแรกแปลโดย F.L.woodward มีชื่อว่า Verses of Uplift ต่อมามี J.D.Ireland และฉบับสุดท้ายแปลโดย Peter Masefield จำนวน 1 เล่ม มีชื่อตรงตัวว่า The Udana
The Itivuttaka อิติวุตตกะ ครั้งแรกแปลโดย J.H.Moore มีชื่อว่า Sayings of the Buddha ครั้งที่ 2 โดย F.L.woodward มีชื่อว่า As It was Said ครั้งที่ 3 โดย J.D.Ireland มีชื่อว่า The Itivuttaka และฉบับสุดท้ายแปลโดย Peter Masefield จำนวน 1 เล่ม มีชื่อว่า The Itivuttaka
The Group of Discourses สุตตนิบาต แปลโดย K.R.Norman มีจำนวน 1 เล่ม สุตตนิบาตนี้มีบันทึกท้ายเล่มหลายหน้าเนื่องจากสุตตนิบาตเป็นคาถาล้วนทำให้ผู้อ่านเข้าใจยากจึงต้องอธิบายเกี่ยวกับการแปลศัพท์ต่าง ๆ ไว้มาก
Vimana stories วิมานวัตถุ แปลโดย Peter Masefield และ N.A.Jayawickrama พร้อมทั้งแปลอรรถกถาปรมัตถทีปนีไว้ในเล่มเดียวกันด้วย มีชื่อว่า Elucidation of the Intrinsic Meaning so Named the Commentary of the Vimana Stories หนังสือชุดของ Sacred Books of theBuddhists Vol.xxxv
Peta-stories เปตวัตถุ มี 1 เล่ม แปลโดย U Ba Kyaw และ Peter Masefield บรรณาธิการพร้อมทั้งอธิบายคำแปล ในเล่มมีแปลอรรถกถาปรมัตถทีปนีด้วย
Elders Verses เถรคาถา และเถรีคาถา มีจำนวน 2 เล่ม แปลโดย Mrs.C.A.Rhys Davids และฉบับล่าสุดแปลโดย K.R.Norman มีชื่อเรื่องว่า The Elder?s Verses
Jataka ชาดกและอรรถกถาชาดก มี 6 Vols. พิมพ์รวมเป็น 3 เล่ม บรรณาธิการแปลโดย Prof.E.B.Cowell และคณะ คือ Bobert Chalmers, W.H.D.rouse, H.T.Francis, R.A.Neil, มีชื่อว่า The Jataka or Stories of the Buddha?s Former Births
The Path of Discrimination ปฏิสัมภิทามรรค จำนวน 1 เล่ม แปลโดย Bhikkhu Nanamoli และเขียนบทนำโดย .. มีชื่อว่า The Path of Discrimination (Patisambhidamagga)
Chronicles of Buddhas พุทธวงศ์ และ Basket of conductจริยาปิฎก แปลโดย I.B.Horner
พิมพ์รวมในเล่มเดียวกัน โดยมีชื่อว่า The Minor Antrologies of the Pali canon
The Basket of the Higher Doctrine พระอภิธรรมปิฎก ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษมีเพียง 6 คัมภีร์เท่านั้น คัมภีร์ที่ยังไม่ได้พิมพ์เผยแผ่ คือ ยมก
A Buddhist Manual of Psychological Ethics ธัมมสังคณี จำนวน 1 เล่ม แปลโดย A.F. Rhys Davids
The Book of Analysis วิภังค์ เล่ม 1 แปลโดย Pathamakyan Ashin Thittila (Setthila)
Discourse on Elements ธาตุกถา แปลโดย U Narada Mula Patthana Sayadaw, Burma
Designation of Human Types ปุคคลบัญญัติ แปลโดย B.C, Law ชื่อหนังสือว่า Human Types
Points of Controversy กถาวัตถุ แปลโดย Mrs.Rhys Davids and S.Z.Aung
Conditional Relations ปัฏฐาน จำนวน 2 เล่ม แปลโดย U Narada Mula Patthana Sayadaw, Burma
นอกจากนี้สมาคมบาลีปกรณ์ได้ตรวจชำระ และพิมพ์อรรถกถา และปกรณ์วิเสสทั้งฉบับบาลีอักษรโรมัน และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
Compendium of Philosophy อภิธัมมัตถสังคหะ แปลโดย Mrs.Rhys Davids
The Questions of King Milinda มิลินทปัญหา แปลโดย T.W.Rhys Davids และอีกฉบับเป็นสำนวนแปลของ I.B.Horner มีชื่อเรื่องว่า Milinda,s Questions โดยมีชุดละ 2 เล่มเหมือนกัน
The Path of Purity วิสุทธิมรรค แปลโดย Pe Muang Tin และอีกสำนวนหนึ่งชื่อว่า The Path of Purification แปลโดย Nanamoli Bhikkhu
The Sheaf of Garlands of the Epoch of the Conqueror ชินกาลมาลีปกรณ์ ของท่านรัตนปัญญาเถระ ชาวเชียงใหม่ แปลโดยชาวอังกฤษชื่อว่า N.A.Jayawickrama
อนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ของไทย ได้ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์อุปถัมปการพิมพ์พระวินัยปิฎก ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี พ.ศ.2442
ทางสมาคมบาลีปกรณ์ได้ประกาศอนุโมทนาไว้หน้าปกรองหนังสือว่า Published in 1899 under the patronage of His Majesty the King Chulalankarana, king of Siam นอกจากนี้ UNESCO หรือองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ยังได้อุปถัมปการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกอรรถกถา และปกรณ์วิเสฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษอีกด้วย เนื่องจากคัมภีร์เหล่านี้อยู่ในชุดวรรณคดีจากประเทศพม่า กัมพูชา ศรีลังกา ลาว และไทย UNESCO จึงให้ความอุปถัมปร่วมกับคณะกรรมาธิการขององค์การที่มาจากประเทศเหล่านี้
หนังสือ PD 005 พระไตรปิฎกเบื้องต้น
หนังสือเรียน หลักสูตร Pre-Degree
โฆษณา