แนวเส้นประธานสิบและ Whole-Body Fascial and Myofascial Linkage

เส้นประธานสิบ คือแนวเส้นการวิ่งของลมในร่างกายที่มีส่วนช่วยในการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย แนวเส้นนี้จะมีจุดเริ่มต้นจากสะดือ และแตกออกพาดไปยังส่วนต่างๆของมันมัดกล้ามเนื้อของร่างกาย
ร่างกายเราเมื่อทำขยับอิริยาบถต่างๆนั้น ไม่ได้ใช้งานกล้ามเนื้อมัดใดแค่มัดนึง อย่างเช่น การจับมือถือ ไม่ได้มีแค่กล้ามเนื้อมือที่ถูกกระตุ้นการใช้งาน แต่มาตั้งแต่บ่า กล้ามเนื้อของเรามีการทำงานอย่างสอดประสาทกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งสำหรับแผนไทยการทำงานอย่างสอดประสาทนี้คือแนวคิดทฤษฎีของเส้นในร่างกาย
เมื่อเส้นในร่างกายมีแนวการวิ่งที่พาดผ่านกล้ามเนื้อมัดต่างๆเพื่อทำให้เราเคลื่อนไหวได้ แปลว่าหากมีการติดขัดของแนวเส้นระหว่างทางก็อาจมีผลต่อการเคลื่อนไหวของแนวเส้นนั้นตั้งแต่ต้นทางไปยันปลายทางได้
อย่างเคสอาการปวดไหล่บางเคส อาจมาจากการแข็งตึงตั้งแต่กล้ามเนื้อ Rectus Abdominis ซึ่งหากรักษาแค่บริเวณ shoulder การ effective ก็อาจดีไม่เท่าที่ควร ซึ่งหากมองในมุมเส้นประธานสิบ อาการปวดไหล่ของเคสดังกล่าว จะมีความสอดคล้องกับแนวของกาลทารี ที่เริ่มจากท้องแล้ววิ่งไปพาดไหล่แล้ววิ่งไปปลายแขน ซึ่งเมื่อเกิดการติดขัดในตำแหน่งหัวไหล่ ก็อาจมีผลต่อการเกร็งของกล้ามเนื้อท้องและช่วงแขนร่วมด้วยได้
ในการรักษาด้วยวิธีการนวดตามตำราแพทย์แผนไทยนั้น เราจึงจะทำการรักษาตั้งแต่ต้นทางของตำแหน่งแนวเส้นแล้วนวดไล่ไปเรื่อยๆ ทีละจุดจนไปจบที่ตำแหน่งส่วนปลายของแนวเส้น
เส้นประธานสิบหลักๆจะมี 10 เส้นในร่างกาย ดังนี้
1. เส้นอิทา
เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านซ้าย 1 นิ้วมือ แล่น ลงไปบริเวณหัวเหน่าลงไปต้นขาซ้ายด้านในค่อนไปทางด้านหลัง ถึงหัวเข่า เเล้วเลี้ยวขึ้นไปเเนบข้างกระดูกสันหลังด้านซ้ายขึ้นไปบนศีรษะ เเล้วกลับลงมาสิ้นสุดที่ข้างจมูกซ้าย
2. เส้นปิงคลา
เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านขวา 1 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณหัวเหน่าลงไปต้นขาขวาด้านในค่อนไปด้านหลังถึงหัวเข่า เเล้วเลี้ยวขึ้นไปเเนบข้างกระดูกสันหลังด้านขวา ขึ้นไปบนศีรษะเเล้วกลับลงมา
3. เส้นสุมนา
เริ่มจากเหนือสะดือ 2 นิ้ว เเล่นขึ้นไปภายในอก ผ่านลำคอขึ้นไปสิ้นสุดที่โคนลิ้น
4. เส้นกาลทารี
เริ่มต้นที่เหนือสะดือ 1 นิ้วมือ เเล้วเเตกออกเป็น 4 เส้น 2 เส้นบนเเล่นขึ้นไปผ่าน ข้างชายโครง ผ่านสะบักใน ไปยังเเขนทั้ง 2 ข้าง ลงไปที่ข้อมือตลอดถึงนิ้วมือทั้งสิบ 2เส้นล่าง เเล่นลงไปบริเวณต้นขาด้านใน ผ่านหน้าเเข้งด้านในทั้ง 2 ข้าง ลงไปที่ข้อเท้า ตลอดถึงนิ้วเท้าทั้งสิบ
5. เส้นสหัสรังษี
เริ่มต้นจากข้างสะดือซ้าย 3 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณต้นขาซ้ายด้านใน ผ่านหน้าเเข้งด้านใน โคนนิ้วเท้าซ้ายทั้งห้า เเล้วย้อนผ่านขอบฝ่าเท้าด้านนอกขึ้นมายังหน้าเเข้งด้านนอก ต้นขาด้านนอกไปชายโครง หัวนมซ้าย เเล้วเเล่นเข้าไปใต้คาง ขึ้นไปสิ้นสุดที่ตาข้างซ้าย
6. เส้นทวารี
เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านขวา 3 นิ้วมือ เเล่นลงไปบริเวณต้นขาขวาด้านใน ผ่านหน้าเเข้งด้านใน ขอบฝ่าเท้าด้านในโคนนิ้วเท้าขวา ทั้งห้า เเล้วย้อนผ่านขอบฝ่าเท้าด้านนอก ขึ้นมายังหน้าเเข้งด้านนอก ต้นขาด้านนอก ไปชายโครงหัวนมขวา เเล้วเเล่นเข้าไปใต้คาง ขึ้นไปสิ้นสุดที่ตาขวา
7. เส้นจันทภูสัง
เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านซ้าย 4 นิ้วมือ เเล่นผ่านราวนมซ้าย ผ่านด้านข้างของคอ ขึ้นไปสิ้นสุดที่หูขวา
8. เส้นรุชำ(รุทัง)
เริ่มต้นจากข้างสะดือด้านขวา 4 นิ้วมือ เเล่นผ่านราวนมขวา ผ่านด้านข้างของคอไปสิ้นสุดที่หูขวา
9. เส้นสุขุมัง
เริ่มต้นจากใต้สะดือ 2 นิ้วมือ เยื้องซ้ายเล็กน้อย เเล่นไปยังทวารหนัก
10. เส้นสิกขิณี
เริ่มต้นจากใต้สะดือ 2 นิ้วมือ เยื้องขวาเล็กน้อย เเล่นไปยังทวารเบา
นอกเหนือจากเส้นประธานสิบแล้วยัวมีเส้นอื่นๆอีกมากในทางการแพทย์แผนไทย อาทิเช่น เส้นอัพยา เส้นหทัยวาตะ เส้นอัษฏางกาศ เป็นต้น
แนวเส้นทุกแนวเส้นตามปกติควรจะต้องมีลมที่วิ่งผ่านตลอดแนวหากเกิดการติดขัดในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งก็จะส่งผลทำให้มีอาการตามแนวของเส้นที่พาดผ่านนั้นได้ รวมถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ปกติจะต้องทำงานอย่างสัมพันธ์กันตามแนวเส้นก็อาจส่งผลทำให้การทำงานขาดความสมดุลของ Mechanical isometric ได้
ซึ่งการทำงานอย่างสัมพันธ์กันของแนวเส้นในทางแผนไทยนี้ มีความคล้ายคลึงกับทฤษฎีของ Tom mayer ที่คิดค้นหลักการ Whole-Body Fascial and Myofascial Linkage นั่นก็คือการทำงานของกล้ามเนื้อและ facial มีการทำงานอย่างสอดประสาทและสัมพันธ์กัน การกระทำใดการกระทำหนึ่งของกล้ามเนื้อมัดหนึ่งอาจมีผลต่ออีกมัดนึงด้วยตามแนวทางของกล้ามเนื้อที่เกิดการ Link กัน
เช่นในการที่เราเดินนั้น มือของเราจะมีการแกว่งในทางตรงกันข้ามกับขาที่กำลังขยับเพื่อเป็นการปรับสมดุลร่างกาย และเพื่อให้ขาที่กำลังใช้งานอยู่นั้นทำงานได้อย่างราบรื่นขึ้น หากแต่ถ้าคนไข้มีอาการ Shoulder pain ขึ้นมาการเดินของเราอาจเดินได้ไม่สมดุลกว่าเดิม โดยเฉพาะในตำแหน่งของเข่า อาจมีการรับน้ำหนักที่มากขึ้นและต้องปรับจุดศูนย์ถ่วงเพื่อรักษาสมดุลร่างกายมากขึ้น
ซึ่งจะนำไปสู่การรักษาที่ต้องเน้นการปรับ Motion ของร่างกายควบคู่ไปกับการรักษาในตำแหน่งที่มีการปวดอยู่ด้วย
และเมื่อมองไปยังองค์ความรู้แพทย์แผนจีนเราจะพบว่าแนวของการฝังเข็มนั้น จะเป็นลักษณะเส้นลมปราณที่มีการเชื่อมโยงกันอย่างมากมายในร่างกายควบคู่กันไปเรียกแนวเส้นนั้นรวมๆว่า หยิน หยาง ซึ่งเมื่อใช้ในการประเมินและรักษาร่างกายแล้วก็จะมีการพิจารณาตลอดแนวเส้นเช่นเดียวกับเส้นประธานสิบ และ ทฤษฎี Whole-Body Fascial and Myofascial Linkage เช่นกัน
โฆษณา