เจาะลึก !!! สนามบินอู่ตะเภา Logistic Center สำคัญของสหรัฐ ฯ ในช่วงสงครามเวียดนาม

สงครามเวียดนาม เป็นการต่อสู้ต่างรูปแบบของการส่งกำลังบำรุง หรือ "The War of Logistic" คือการต่อสูระหว่างเส้นทางโฮจิมินห์ กับฐานทัพสหรัฐในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประวัติความเป็นมาของสนามบินอู่ตะเภา เริ่มจากสนามบินทหารเรือไทยเล็ก ๆ จนกลายเป็นสนามบินของกองบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ ของกองทัพสหรัฐ ฯ ได้อย่างไร ลองมาค่อย ๆ ตามดูครับ
ประเทศไทยมีส่วนร่วมในสงครามเวียดนามในฐานะสมาชิก ป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Treaty Organization - SEATO มีอเมริกาเป็นสมาชิกด้วย แต่ไม่มีเวียดนามใต้) เป็นการเปิดช่องให้สหรัฐฯ สามารถนำเครื่อง KC-135 มาประจำการที่ดอนเมืองเพื่อเติมน้ำมันเครื่องบินรบเหนือท้องฟ้าของอินโดจีนเพื่อนำไปทิ้งระเบิดในเวียดนามใต้ ต่อจากนั้นสหรัฐเริ่มมีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามลับในลาว การมีเครื่องบินสหรัฐขึ้นลงตลอดเวลาในเมืองหลวงทำให้เกิดความลำบากใจในทางการเมืองต่อรัฐบาลทหารของไทย
จึงได้มีโครงการพัฒนาฐานที่อู่ตะเภาเป็นสนามบินเล็ก ๆ ของกองทัพเรือไทยขึ้นในปี 1965 ผลจาก SEATO ไงครับ เอาจริง ๆ เครื่อง RT-33 ของทอ. เริ่มปฏิบัติการลาดตระเวนในประเทศลาวตั้งแต่ปลายปี 1960 แล้วครับ เครื่องเราทำภารกิจลาดตระเวณถ่ายรูป แต่การอ่านฟิล์ม ตีความภาพใช้ช่างเทคนิคอเมริกันช่วย ทอ. ในการประมวลผลและวิเคราะห์ครับ มีรายงานเมืองและ เส้นทางคมนาคมระหว่างเมือง 19 แห่ง ที่มีความเคลื่อนไหวของคอมมิวนิสต์ ตอนหลังสหรัฐขอให้ Copy เอกสารให้รัฐบาลลาวอีกด้วย
ปีต่อมา F-102 Delta Daggers จากฝูงขับไล่สกัดกั้นที่ 509th ย้ายจาก Clark AB ฟิลิปปินส์มาดอนเมืองภายใต้ยุทธการ "Bell Tone" เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการป้องกันของ ทอ. เครื่องนี้อยู่ดอนเมืองหลายปีและย้ายไปอุดร เมื่อสนามบินอุดร Upgrade เสร็จครับ
ของเราได้รับ Lockhead RT-33A 8 เครื่อง( บ.ตฝ.๑๑) ตั้งแต่ปี 1955 แต่กว่าจะเข้าทำภารกิจลาดตระเวณถ่ายภาพในสงครามจริงก็ปลาย ๆ ปี 1960 แล้วครับ ส่วน RT-33 ของ สหรัฐในโครงการ Field Goal ที่ให้ข้อมูลมาผมเคยเห็นแล้วครับถ้าผมจำไม่ผิดโครงการนี้ เลิกในปี 1961 (ตามที่ผมบอกคือเพราะ ทอ. สหรัฐปลด RT-33) และ CIA ส่ง U-2 เข้า Overflights เวียดนามถ้าเพื่อน ๆ ดูเส้นทางการบิน(Flight Path) ของเครื่อง KC-135(สีเหลือง) กับเครื่อง B-52(สีแดงขาไป นำ้เงินขากลับ) จะนึกภาพออกเลยครับ
ว่าทำไมสหรัฐต้องทุ่มเงินมหาศาล สร้างอู่ตะเภาขึ้นมาเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครับเหนือแทนในเดือน กพ. 1962 แต่คาดว่าในลาว ยังมี Operation Gap อยู่ครับจึงอาจจะขอเรา ลว.ถ่ายภาพให้ ตอนหลังภารกิจทั้งหมด U-2 และ SR-71 ทำแทนครับ
เอกสารแนะนำสนามบินที่แจกให้กำลังพลที่มาประจำการ
ตามความจำเป็นในเวียดนามที่ต้องใช้ B-52 เพิ่ม แต่การทำของภารกิจมันต้องบินมาไกลมากจากฐาน Andersen ในเกาะกวม และฐานบิน Kadena ใน Okinawa ซึ่งเป็นภาระหนักสำหรับนักบินที่ต้องใช้เวลาในการปฏิบัติภารกิจยาวนาน และการเอา B-52 ไปไว้ในเวียดนามใต้ก็เสี่ยงต่อการถูกโจมตี จึงได้มีการตัดสินใจเลือกใช้ฐานทัพเรืออู่ตะเภา ในที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นให้เครื่อง KC-135 ใช้งาน และใช้เป็นสนามบินต่อระยะให้ B-52 การก่อสร้างเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคม 1965
มีการสร้างรันเวย์ขึ้นภายในแปดเดือนและฐานทัพเสร็จสิ้นลงเพียงสองปีหลังจากนั้น โดยมีรันเวย์ยาวทั้งสิ้น 11,500 ฟุต (3,505 เมตร) เปิดใช้งานเดือน กค. 1966 ในระหว่างทยอยก่อสร้าง มีเฮลิคอปเตอร์กล้วยหอม เครื่องบิน HU-16 Albatross และเครื่องลำเลียง C-130 Hercules เข้าไปใช้งาน
เรื่องที่ว่าทำไมสหรัฐถึงไม่ใช้สนามบินในฟิลิปปินส์ให้เป็นฐานของ B-52
นั่นเป็นเพราะว่า B-52 เป็น Strategic Bomber ที่ทำภารกิจข้ามทวีป(ตามดูเส้นทางการบิน Flight Path ของเครื่อง KC-135 สีเหลืองกับเครื่อง B-52 สีแดงขาไปน้ำเงินขากลับ ที่ทำภารกิจตลอดสงครามเวียดนาม) จะเห็นภาพชัด
ในตอนแรก B-52 ถูก Design ให้บินจากฐานในประเทศของมันทำภารกิจนิวเครียร์โดยการต่อระยะบินด้วย Tanker ในช่วงนั้น B-52 ประจำอยู่ฐาน Anderson ในเกาะกวม(ในแผ่นดินสหรัฐเอง)ส่วน Tanker มาจากที่ใหนก็ได้ ทั้งในญี่ปุ่น ในเวียดนามใต้ หรือต่อมาในอู่ตะเภา
แม้ว่าต่อมา B-52 จะถูกปรับให้เปลี่ยนบทบาทมาทำ Tactical Role ในการทิ้งระเบิดธรรมดา ในภารกิจ Arc Light เพื่อสนับสนุนกองกำลังภาคพื้นดิน แต่มันก็ยังขึ้นบินจากแอนเดอร์สันอยู่ดี แม้ว่าภารกิจจะชุกขึ้นสหรัฐมีทางเลือก ในการทำงานคือขยาย ฐานคล๊ากและอ่าวซูบิกในฟิลิปปินส์ แต่มันก็ช้ากว่า การสร้างสนามบินอู่ตะเภาเป็นฐานต่อระยะ และในสงครามเวียดนามส่วนใหญ่ B-52 จะทำภารกิจมากจากในกวม มากกว่าที่อู่ตะเภา
ภาพอ้างอิงจากบนลงล่าง ฐานทัพอากาศแอนเดอร์สัน เกาะกวม, ฐานคล๊าก ฟิลิปินส์ และ ดานัง ทั้งสามภาพ ถูกถ่ายในช่วงเวลาเดียวกับการเริ่มสร้างอู่ตะเภา
Design and Construction the Airport
นอกจากดอนเมืองแล้ว ในช่วงเริ่มต้นสงครามวียดนาม สนามบินที่เรามีเป็นสนามบินขนาดเล็กมีรันเวย์เดียวสั้นกว่า 1,000 เมตร (3,300 ฟุต) รองรับเจ็ตไม่ได้ ต้องทำ New design ตามมาตรฐานของสหรัฐ (แบบเดียวกับที่ ทำใหม่เลย ในเติ่นเซินเยิด เบียนหัว ดานัง) ....เอกสารพอมี แต่รูปไปลองค้น ๆ ดู มีแต่ของเวียดนาม ของไทยหายากสุด ๆ
ในขั้นตอนการออกแบบสนามบินและหาสถานที่ก่อสร้างเพื่อรองรับเครื่อง KC-135 Stratotanker เครื่องเติมน้ำมันกลางอากาศทั้งก่อนและหลังเครื่องเข้าทำภารกิจในเวียดนามเหนือ ( Tanker นี่ในทางการรบทางอากาศถือเป็น High Value Asset ครับ) แล B-52s ทางสหรัฐทำการวิเคราะห์ก่อนการก่อสร้างไว้อย่างรอบคอบนะครับ ใช้เงินเยอะ ต้องป้องกันความเสี่ยง จากการถูกข้าศึกโจมตีด้วย(ตอนนั้นหลายฐานบินในเวียดนามโดนแล้ว)
เมื่อสหรัฐได้มาสำรวจสนามบินอู่ตะเภา ที่เราก็ยังไม่ได้ประโยชน์มากนัก ก็คลิก เพราะสามารถสร้างท่าเรือที่อ่าวสัตหีบ(ผมเพิ่งดูภาพถ่ายทางอากาศ มันใกล้ จริง ๆ แฮะ) เอาระเบิดส่งมาทางเรือแล้วลากเข้ามาเตรียมใน Bomb Doc ที่ท้ายสนามบินแล้ว Load ขึ้น B-52 ไปได้เลย การออกแบบสนามบินก็ Design คล้ายกับที่เกาะกวม หรือในฟิลิปปินส์ พอออกแบบเสร็จอู่ตะเภาเลยกลายเป็นสนามบิน ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนั้นไปเลยครับ
ในที่สุดกองกำลังสหรัฐก็ย้ายออกจากดอนเมืองไปที่อู่ตะเภาทั้งหมด และ B-52 จากที่นี่สามารถ บินไปทำภารกิจทั้งในเวียดนามเหนือและใต้ได้โดยไม่ต้องเติมน้ำมันกลางอากาศ กองกำลัง USAF ที่อู่ตะเภาอยู่ภายใต้การบัญชาการของกองทัพอากาศแปซิฟิกของสหรัฐฯ (PACAF) ถ้าดูจากหาดทรายที่ใช้เป็นที่พักผ่อนของกำลังพลแล้ว ดูเผิน ๆ เหมือนไม่ได้อยู่ในประเทศไทยเลยครับ
*** ภาพอ้างอิงจาก The Complete Idiot's Guide to Vietnam war 2nd Edition
เครื่อง B-52 ลำแรกจริง ๆ ที่มาลงที่สนามบินอู่ตะเภาต้องลำนี้ครับ ตั้งแต่ปี 1965 เนื่องจากฐานทัพแอนเดอร์สัน ที่เกาะกวม (Anderson Air Base, Guam) มีพายุใต้ฝุ่นเข้า ก็เลยต้องมาขอลงฉุกเฉิน ตั้งแต่สนามบินยังสร้างไม่เสร็จดี
ฝูงบินแรกที่มาใช้งานในเดือนมิถุนายน 1966 (สนามบินยังสร้างไม่แสร็จทั้งหมด) คือ 4258th Strategic Wing (SAC) ย้ายมาจากฐาน Andersen เกาะกวม งานของฝูงบินนี้คือรับผิดชอบในการสนับสนุนการเติมน้ำมันของเครื่องบินรบของกองทัพอากาศสหรัฐ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้บรรลุภารกิจจึงได้บรรจุ KC-135 จำนวน 15 ลำในเดือน สค. 1966 ภายใน 3 ปีหลังจากนั้น ฝูงบินนี้สนับสนุนภารกิจทิ้งระเบิดไปถึง 48,000 เที่ยว
ฝูงบิน B-52 ฝูงแรกมาลงที่อู่ตะเภา มาถึงเมื่อวันที่ 10 เมย. 1967 โดยเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 จำนวน 3 ลำ ได้ลงจอดที่อู่ตะเภาหลังจากทำภารกิจทิ้งระเบิดในเวียดนาม และวันรุ่งขึ้นก็บรรทุกระเบิดใหม่ และกลับเข้าไป ทิ้งระเบิดระยะสูงต่อโดยภารกิจดังกล่าวมีนามเรียกขานว่า "Arc Light" โดยรวมแล้ว B-52 จากอู่ตะเภา ทำภารกิจทิ้งระเบิด 35,000 เที่ยวในระหว่างปี 1967 to 1970
รูปแสดงการทำภารกิจ Arc Light ในเวียดนาม
นอกจาก KC-135 และ B-52 แล้วสนามบินอู่ตะเภา เคยใช้เป็นฐานปฏิการของเครื่อง U-2 ด้วยครับ U-2 เป็นโครงการของ CIA เพื่อลาดตระเวณสังเกตการณ์ และรวบรวมข่าวกรองในปี 1964 สหรัฐ ส่ง U-2 ไปประจำการที่ Bien Hoa Air Base เวียดนามใต้เพื่อทำการลาดตระเวนเหนือท้องฟ้า เวียดนามเหนือเพื่อถ่ายรูป ฐานยิง SAM-2 ที่อยู่ใกล้กับฮานอยและท่าเรือไฮฟอง
สหรัฐสูญเสีย U-2 ไปลำนึง เครื่องมีปัญหาขณะ อยู่เหนือน่านฟ้าเวียดนามเหนือ นักบินประคองเครื่องเข้าเขตเวียดนามใต้ได้ แต่ตกเมื่อเกือบจะถึงฐาน Bien Hoa ต่อมา กค.1970 กองกำลังบางส่วนของสหรัฐย้ายมา อู่ตะเภารวมทั้งหน่วยบิน U-2 นี้ด้ว
สนามบินอู่ตะเภาเคยถูกแซปเปอร์(Sapper)มาเยี่ยมด้วยนะครับเดือน ธค. 1971 เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 1 หมู่ พยายามที่จะทำภารกิจ ก่อวินาศกรรมเพื่อทำลายเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 โดยใช้ระเบิด การป้องกันฐานบินทีมสารวัตรทหาร และหน่วยทหารป้องกันยิงพลุ ส่องสว่างเพื่อค้นหา และยิงไส่กลุ่ม Sapper จนล่าถอยออกไป
ภาพจำลองเหตุการณ์ยืมมาจากการป้องกันฐานบินดานัง ตอนTET Offensive
(เรื่องนี้ไม่มีการยืนยันเป็นทางการ เป็นการบอกเล่าของ อดีต สห. ที่ทำการป้องกันฐานทัพอากาศอู่ตะเภาในวันนั้นครับ)
ประวัติศาสต์การยุทธ(Battle History)
เล่าเรื่องประวัติศาสตร์การรบและข้อมูลแน่นปึ๊กให้เพื่อนฟังแบบแฟนพันธ์แท้
ขณะที่เราเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ก็ถูกสร้างไปพร้อมกัน
ติดตามเนื้อหาที่เกี่ยวข้องที่เฟสบุค "ชมรมผู้ศึกษาสงครามเวียดนาม"
ศึกษาประวัติศาสตร์ อย่างเป็นกลาง ปราศจากอคติ
แสดงความเห็นต่างได้อย่างผู้ศึกษาและเคารพประวัติศาสตร์
โฆษณา