Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ข่าวไฮไลท์ญี่ปุ่น
•
ติดตาม
13 พ.ค. เวลา 00:38 • ข่าว
ญี่ปุ่นกุมขมับ 10 อันดับกลุ่มธุรกิจที่ขาดคนทำงานประจำ เตรียมรับมือสังคมสูงวัยระดับสุดยอด 2568
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศต้นๆ ที่ประสบปัญหาภาวะขาดแคลนแรงงาน ทั้งที่เคยเป็นประเทศมหาอำนาจ
ทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีระดับสูงมาก่อน แต่
ปัจจุบัน โครงสร้างของญี่ปุ่นที่เปลี่ยนไปมีจำนวน
ผู้สูงอายุมากขึ้น และกำลังจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ
ระดับสุดยอด (Super Aged Society)ในปี 2568
เด็กเกิดใหม่น้อยลง ส่งผลให้แรงงานที่จะป้อนสู่
ตลาดมีน้อยลง กำลังขาดแคลนแรงงานมากขึ้น
อีกทั้งรูปแบบการทำงานที่มีความหลากหลาย
อุปสงค์ความต้องการแรงงานมีมากขึ้น
Image Credits: Pixabay, ญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงานฝีมือหรือพนักงานประจำ พร้อมเตรียมรับมือมากมาย ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super Aged Society)ในปี 2568
ยิ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้แรงงานไม่เพียงพอแก่ความต้องการด้วย สิ่งที่ตามมา คือ บุคลากรที่มีทักษะ
ฝีมือหรือความรู้เฉพาะด้านระดับมืออาชีพ กับ จำนวนแรงงานที่จะมาช่วยทำงานมีกำลังคนไม่พอ ส่งผลให้ผลผลิตลดต่ำลง บวกกับการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน
ตามค่าครองชีพที่สูงขึ้น
กับ “เพดานรายได้” ที่เป็นปัญหาต่อการหาบุคลากร
และการรักษาบุคลากร และข้อจำกัดเรื่องเวลาทำงานต่างๆ ที่เป็นปัญหาที่สะสมมากมายก่ายกอง กำลังเป็นปัญหารุมเร้าผู้ประกอบการที่ยังไม่มีมาตรการการ
แก้ไขปัญหาที่เด่นชัด
Image Credits: Pixabay, ปี 2566 บริษัทญี่ปุ่นต้องล้มละลายเพราะขาดแคลนคนใน ถึง 260 บริษัท สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
มีบริษัทที่ต้องล้มละลายเพราะขาดแคลนคนใน
ปี 2566 ถึง 260 บริษัท สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
ความรับผิดชอบของผู้ที่ยังทำงานอยู่แต่ละคนก็จะ
ต้องมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบมากขึ้น ทำให้
แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานประจำน้อยลง
จากการสำรวจของแนวโน้มการขาดแคลนบุคลากร
ของบริษัท ณ เดือนมกราคม 2567 พบว่า บริษัทที่
ขาดพนักงานประจำมี 52.6% สูงกว่าปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน 0.9 จุด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักๆ จะเป็นสายงานไอที
วิศวกรรม ที่ทำหน้าที่ปรับปรุงและพัฒนาระบบ
ให้บริการข้อมูลข่าวสารขาดแคลนอย่างเห็นเด่นชัด
มากถึง 77.0% สร้างสถิติใหม่อยู่ในเกณฑ์ที่สูงมากที่สุด
ในปีนี้ ทั้งสายงานด้านการแพทย์ การบริบาล ก่อสร้าง
ลอจิสติกส์ เป็นต้น ก็จะขาดแคลนประมาณ 70%
เช่นเดียวกัน
พนักงานที่ไม่ใช่พนักงานประจำขาดแคลน 29.9%
น้อยกว่าปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน 1.1 จุด ที่มี
แนวโน้มยังอยู่ที่เกณฑ์ประมาณ 1.1% หากแยกตามประเภทของกลุ่มธุรกิจที่ประกอบอาชีพแล้ว ร้านอาหารขาดแคลนมากที่สุด 72.2%
Image Credits: Pixabay, ญี่ปุ่นขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ กับ ขาดจำนวนคนทำงานที่จะมาช่วยงาน
[10 อันดับกลุ่มธุรกิจที่ขาดแคลนพนักงานประจำ
(ณ เดือนมกราคม 2567)]
1. บริการข้อมูลข่าวสาร 77.0%
2. ก่อสร้าง 69.2%
3. โรงแรม 68.6%
4. ซ่อมบำรุง/หน่วยรักษาความปลอดภัย/
ตรวจเช็ค 68.4%
5. ธุรกิจให้เช่า 66.7%
6. การแพทย์/สวัสดิการ/ประกันสุขภาพ 68.4%
7. ขนส่ง/คลังสินค้า 66.7%
8. การเงิน 66.2%
9. ยานยนต์/ค้าปลีกอะไหล่ยานยนต์ 61.7%
10. ร้านอาหารและเครื่องดื่ม 57.8%
Image Credits: Pixabay, [ปี 2567 กลุ่มธุรกิจด้านการแพทย์ ก่อสร้าง ลอจิสติกส์ กว่า 70% จะขาดแคลนแรงงาน
[ปี 2567 กลุ่มธุรกิจด้านการแพทย์ ก่อสร้าง ลอจิสติกส์
กว่า 70% จะขาดแคลนแรงงาน]
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปวิธีการทำงาน ที่จะจำกัดการทำงานนอกเวลาและมีผลใช้งาน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 เป็นปัญหาที่เป็นที่กังวลกันในปีนี้ ว่า
จะทำให้สภาพการขาดแคลนแรงงานแย่ลง และ
อาจทำให้ฟังก์ชั่นการขับเคลื่อนถึงทางตันหรือไม่
หากดูสถานการณ์แรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ
สายงานด้านการก่อสร้าง ลอจิสติกส์ การแพทย์
3 กลุ่มธุรกิจแล้ว ลอจิสติกส์ขาดแคลนพนักงานประจำ 72% งานด้านการแพทย์ 71% งานก่อสร้าง 69.2%
ที่ขาดแคลนแรงงาน และคาดว่า หลังเดือนเมษายนปีนี้เป็นต้นไป จะเจอสภาพที่ยิ่งย่ำแย่ลงมากขึ้น
สำหรับในปีนี้ ณ เวลานี้ กว่า 70% ของบริษัทได้เผชิญกับสภาพที่ขาดแคลนแรงงานแล้ว
Image Credits: Pixabay, แพทย์ผู้ปฏิบัติงานและพยาบาลก็เกี่ยวข้องกับกฎหมายวิธีปฏิบัติงานด้วย
สายงานด้านการแพทย์ แพทย์ผู้ปฏิบัติงงานก็จะเกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าวด้วย แต่วิธีการทำงาน
ของพยาบาลก็เป็นกุญแจสำคัญต่อการปฏิรูปกฎหมายเช่นกัน
เพราะการขึ้นค่าจ้างที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรและการรักษาจำนวนบุคลากรให้คงอยู่ นั้น
ระดับค่าตอบแทนในการรักษาพยาบาลที่จะแก้ไขก็มีผลต่อการเข้าๆ ออกๆ ของบุคลากรด้วย ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของที่อยู่เบื้องหลังของวงการแพทย์แต่ละแห่ง
ที่จะต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดด้วย
Image Credits: แนวโน้มการขึ้นค่าจ้างมีผลต่อการหาบุคลากรหรือการได้มาซึ่งบุคลากรที่น่าพึงพอใจ
เมื่อปี 2566 แนวโน้มการดำเนินการ “ขึ้นค่าจ้าง”
มีความเข้มข้นมากกว่าปีปกติทั่วไป ซึ่ในงปีนี้ก็
เช่นเดียวกัน การขึ้นค่าจ้างเป็นปัจจัยสำคัญต่อ
บุคลากรด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังโรคระบาดโควิด-19 ได้
กลายเป็นโรคประจำถิ่น เศรษฐกิจเริ่มเดินหน้าสู่
สภาวะปกติตั้งแต่ปี 2566 ทำให้บุคลากรที่ขาดแคลน
ยิ่งเพิ่มมากขึ้นและต่อเนื่อง
ในปีนี้ คาดว่าสถานการณ์ของทั้งพนักงานประจำและพนักงานที่ไม่ประจำ ก็คงจะมีแนวโน้มที่ไม่แตกต่าง
จากปีที่แล้ว สายงานวิชาชีพที่ขาดแคลนอยู่ก็จะยิ่งขาดแคลนมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจที่รับรู้ที่ถึงบุคลากร
ที่ขาดแคลนมีแนวโน้มว่าจะดำเนินการขึ้นค่าจ้างให้
เพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากร
Image Credits: https://rbsp.jp/media/close/5595/, ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ ทำให้บริษัทที่อยู่ในแวดวงสาขาธุรกิจเดียวกัน ต้องคำนึงถึงแนวโน้มของบริษัทอื่นที่ทำธุรกิจเดียวกันด้วย บอกถึงความอยู่รอดของธุรกิจ
ในขณะเดียวกัน ค่าวัตถุดิบ พลังงานต่างๆ ที่ขึ้นราคา
ก็ทำให้หลายสายงานธุรกิจไม่อาจขึ้นค่าแรงให้ตามที่ต้องการได้ง่ายๆ ท่ามกลางสถานการณ์เหล่านี้ ทำให้บริษัทที่อยู่ในแวดวงสาขาธุรกิจเดียวกันต้องคำนึงถึงแนวโน้มของบริษัทอื่นที่อยู่ในสายงานธุรกิจเดียวกันด้วย
ว่าการขึ้นค่าแรงจะสัมพันธ์กับการสรรหาซึ่งบุคลากรและการรักษาบุคลากรได้อย่างไร จึงเป็นแง่มุมที่สำคัญของบริษัทในการที่จะคลี่คลายปัญหาบุคลากรขาดแคลน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
https://www.tdb.co.jp/report/watching/press/pdf/p240209.pdf
หากเนื้อหาสาระนี้ มีประโยชน์ต่อท่าน
กรุณา กด “ไลค์” กด “แชร์”
เสนอ “คอมเม้นท์”
เพื่อการปรับปรุงและนำเสนอสาระข่าวสาร
ดีๆ ต่อไปด้วยจักขอบคุณยิ่ง
ข่าว
ญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
บันทึก
2
1
1
2
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย