Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTV Wealth
•
ติดตาม
13 พ.ค. เวลา 07:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ กลุ่มหนุน-กลุ่มต้าน ยื่นหนังสือกึงก.แรงงาน
หนุน – ต้าน ขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศ ต่างเคลื่อนไหว ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อสะท้อนปัญหา
เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันแรงงานแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ประกาศเตรียมขึ้นค่า ค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ทำให้ในวันนี้ มีความเคลื่อนไหวของ 2 กลุ่มทั้งฝั่งลูกจ้าง ที่เดินทางไปยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อสนับสนุนขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วทั้งประเทศ ขณะที่ฝั่งนายจ้างนำโดย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็เดินทางเข้าพบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อสะท้อนปัญหาเช่นกัน
สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย - สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หนุนขึ้นค่าแรง
ลูกจ้างยื่นหนังสือหนุนขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ
ที่กระทรวงแรงงาน เช้าวันนี้ สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พาสมาชิกทั้งแรงงานในภาคเอกชนรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างภาครัฐ เข้ายื่นหนังสือต่อนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อแสดงจุดยืนสนับสนุนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วทั้งประเทศ
นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลสมาชิกทำให้เห็นว่าแรงงานต้องเจอกับค่าครองชีพและราคาสินค้าแพง เหมือนกันทั่วทั้งประเทศ หากปรับค่าจ้างต่างกันจะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ แรงงานในชนบทอพยพไปสู่เขตที่มีค่าจ้างสูงกว่า จึงเรียกร้องให้ปรับค่าจ้างเท่ากันทั่วประเทศ
นอกจากนี้ยังขอให้รัฐบาลหาทางคุมราคาสินค้า เพราะทุกครั้งที่เตรียมขึ้นค่าจ้างราคาสินค้าปรับขึ้นไปก่อนแล้ว รวมถึงขอให้กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นค่าจ้างแลกเข้า จัดทำโครงสร้างค่าจ้างในทุกสถานประกอบการ เพื่อให้การปรับขึ้นค่าจ้างมีความชัดเจน ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างสามารถวางแผนอนาคตได้
นอกจาก ยื่นหนังสือแล้ว กลุ่มลูกจ้างได้ยังแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ นำเอา ผัก ผลไม้ เครื่องปรุง และสินค้าอุปโภคบริโภคติดป้ายราคา มาตั้งโต๊ะที่หน้ากระทรวงแรงงาน สะท้อนถึงราคาสินค้าในปัจจุบันแพงขึ้น พร้อมกับเตรียมครกกับสาก มาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานตำ เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เป็นการตอกย้ำว่าการจะผลักดันค่าแรง 400 บาททั่วทั้งประเทศตามที่ได้ประกาศไว้
กิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ หนุนขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศ
เอกชน 92 สมาคมการค้า ยื่นค้านขึ้นค่าจ้าง 400 บาททั่วประเทศ
ขณะที่หลังจากรับหนังสือจากฝั่งลูกจ้าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ประชุมร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เพื่อหารือถึงผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
โดยก่อนการพูดคุย นายชนินทร์ ชลิศราพงศ์ กรรมการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นตัวแทน หอการค้าทั่วประเทศ 76 จังหวัด สมาคมการค้า 92 สมาคม ผู้ประกอบการกว่า 15,000 บริษัท ยื่นหนังสือการคัดค้านขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ และขอให้ใช้คณะกรรมการค่าจ้างหรือ ไตรภาคี เป็นกลไกในการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างยังเป็นธรรม
1
ด้านนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุว่า หลายธุรกิจได้ก้าวข้ามปรับค่าจ้าง 400 บาทไปแล้ว แต่ก็ยังมีอีกส่วน โดยเฉพาะเป็นกลุ่มSMEs ที่ค่าจ้างขั้นต่ำยังไม่ถึง 400 บาท ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้หารือกันไม่ได้หารือเพียงแค่วันนี้แล้วจบ จะรับเรื่องของทั้งฝั่งภาคธุรกิจ และลูกจ้าง
เพื่อหาจุดที่ลงตัว ซึ่งก่อนจะถึงวันที่ 1 ตุลาคม ที่ประกาศไว้ ว่าจะปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศอาจจะต้องมีการหารืออีกหลายรอบ ซึ่งรัฐมนตรีแรงงาน ยอมรับว่า ตนเองไม่สามารถที่จะตัดสินใจได้เพียงตัวคนเดียว จะนำเรื่องนี้ ไปหารือกับนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
หอการค้าทั่วประเทศ คัดค้านขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ
เอกชนย้ำ ค่าแรงขั้นต่ำต้องเคารพมติไตรภาคี
ด้านนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ระบุว่า หอการค้าทุกจังหวัดได้มีการประชุมร่วมกันกับสมาคมการค้าทั่วประเทศมีความกังวลว่าถ้าเป็นการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำมาเป็น 400 บาททั่วประเทศ ทุกจังหวัดพร้อมกัน ก็มีความกังวลเกี่ยวกับความพร้อมว่าเราจะปรับตัวทันหรือเปล่า ซึ่งแต่ละจังหวัดมีความพร้อมต่างกันโดยเฉพาะสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ตอนนี้ค่าแรงอยู่ที่วันละ 330 บาท
ซึ่งจะทำให้ค่าจ้างกระชากขึ้นมามากว่า 20% จึงอยากให้ไปดูตามภาคส่วนต่างๆด้วยถ้าส่วนไหนมีความพร้อมเขาคงจะยินดีที่จะขึ้นค่าจ้าง สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล แต่เพื่อความยั่งยืนของธุรกิจของไทยและทั้งอุตสาหกรรม จึงมองว่า สิ่งสำคัญคือต้องเคารพกติกา เคารพมติของไตรภาคี
นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากราคาพลังงานพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นต้นทุนสำคัญ โดยภาคเอกชนย้ำจุดยืนข้อเรียกร้องที่เคยเสนอมาตลอด คือ ต้องตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน หรือ กรอ. พลังงาน เพื่อทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ทำงานร่วมกันเพื่อปรับโครงสร้างพลังงานทั้งระบบ เป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุ
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTV Wealth :
https://www.facebook.com/PPTVWealth/
Facebook :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
Facebook Video :
https://www.facebook.com/PPTVHD36/videos
Twitter :
https://twitter.com/PPTVHD36
Instagram :
https://www.instagram.com/pptvhd36/
LINE VOOM :
https://pptv36.tv/174l
TikTok :
https://www.tiktok.com/@pptv.thailand
ค่าแรง
เศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทย
1 บันทึก
3
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย