13 พ.ค. เวลา 09:28 • ข่าว

ผู้สูงอายุห้ามประมาท 91%ของผู้เสียชีวิตจากโควิด อายุมากกว่า 70 ปี

โควิด-19 ของไทยในปี 2567 ยังคงเดินหน้าเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ติดเชื้อแบบพีซีอาร์ ป่วยหนักมีอาการปอดอักเสบ ป่วยหนักมากต้องใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิต แม้จะยังน้อยกว่าสถานการณ์โควิดระบาดใหญ่ในปี 2564-2565 อยู่มากทีเดียวก็ตาม
12
นับจากต้นปี 2567
คือในช่วงสัปดาห์ 7-13 มกราคม
พบผู้ติดเชื้อแบบพีซีอาร์ 625 ราย
ปอดอักเสบ 177 ราย
ใส่ท่อช่วยหายใจ 125 ราย
เสียชีวิต 7 ราย
1
และเมื่อติดตามมาถึงเดือนเมษายน
คือในช่วงสัปดาห์ 7-13 เมษายน
ผู้ติดเชื้อแบบพีซีอาร์ 849 ราย
ปอดอักเสบ 242 ราย
ใส่ท่อช่วยหายใจ 86 ราย
เสียชีวิต 4 ราย
จนกระทั่งสัปดาห์ล่าสุดคือ
5-11 พฤษภาคม
สถิติต่างๆก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก กว่าหนึ่งเท่าตัว
เมื่อเทียบกับเดือนก่อน
ผู้ติดเชื้อแบบพีซีอาร์ 1880 ราย
ปอดอักเสบ 588 ราย
ใส่ท่อช่วยหายใจ 237 ราย
เสียชีวิต 11 ราย
โดยจำนวนผู้เสียชีวิตนั้นเป็นผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปีมากถึง 10 ราย คิดเป็น 91% ของจำนวนผู้เสียชีวิต
1
จึงสรุปได้ว่า
1
1) สถานการณ์โควิดในปี 2567 ของไทยเบาบางกว่า ช่วงปี 2564-65 เป็นอย่างมาก
2) แต่ในปี 2567 นี้ สถานการณ์โควิดในเดือนพฤษภาคม มีจำนวนสถิติทุกตัวเพิ่มมากกว่าเดือนมกราคมอย่างมีนัยสำคัญ
3) จำนวนผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดเป็นผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปี หรือเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว
คำแนะนำ
1) ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงอายุมากกว่า 70 ปี หรือมีโรคประจำตัว จึงควรปฏิบัติตัวให้เคร่งครัดเหมือนปีก่อน ทั้งเรื่องใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยบ่อย ไม่นำมือมาสัมผัสใบหน้าและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด
2) ผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปีและมีโรคประจำตัว ควรพิจารณาฉีดวัคซีนกระตุ้น 1 เข็ม
3) ในประชาชนทั่วไป ที่อายุน้อยกว่า 60-70 ปี และไม่มีโรคประจำตัว ยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น แต่ถ้าในบ้านมีผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยง 608 ควรปฎิบัติตัวให้เหมือนกลุ่มเสี่ยง เพื่อที่จะไม่นำเชื้อกลับมาติดยังญาติผู้ใหญ่ที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน
คาดว่าโควิด-19 จะมีผู้ป่วยและเสียชีวิตสูงขึ้นไปอีก 2-3 เดือน หลังจากเมื่อพ้นฤดูฝนแล้ว คาดว่าสถานการณ์โควิดก็จะเบาบางลงเป็นลำดับ
Reference
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา