16 พ.ค. 2024 เวลา 09:00 • สุขภาพ

ข้อควรระวังในคนไข้ที่กินยาวาร์ฟาริน

ยาวาร์ฟาริน คือยาในกลุ่ม "ยาต้านการแข็งตัวของเลือด" หรือเรียกว่ายาละลายลิ่มเลือด ใช้เพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด รวมถึงลิ่มเลือดที่อาจไปอุดตันตามหลอดเลือดในอวัยวะต่างๆ เช่น หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดปอด หลอดเลือดดำขา เป็นต้น วันนี้หมอจะมาแชร์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ "ข้อควรระวังในคนไข้ที่กินยาวาร์ฟาริน"
ยาตีกัน! - ยาบางชนิดมีผลทำให้ระดับยาวาร์ฟารินในเลือดเปลี่ยนแปลง
ยาที่เพิ่มฤทธิ์ของวาร์ฟาริน เช่น
  • ยาแก้ปวด(Piroxicam, Indomethacin)
  • ยาฆ่าเชื้อ(Co-trimoxazole, Ciprofloxacin)
ยาที่ลดฤทธิ์ของวาร์ฟาริน เช่น
  • ยากันชัก(Carbamazepine, Phenytoin)
  • ยาฆ่าเชื้อ(Rifampicin, Dicloxacillin)
อาหารที่เสริมฤทธิ์การทำงานของยาวาร์ฟาริน = เลือดออกง่าย
  • มะม่วง
  • มะละกอ
  • น้ำเกรฟฟุ๊ต (Grapefruit juice)
  • น้ำมันตับปลา
  • อาหารเสริมประเภทกลูโคซามีน
  • กระดูกอ่อน
อาหารที่ลดฤทธิ์การทำงานของยาวาร์ฟาริน = อุดตันง่าย
  • ตับ
  • ผักใบเขียว เช่น คะน้า บล็อกโคลี กะหล่ำปลี ผักขม ถั่วเขียว
  • ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
  • เห็ด
  • อะโวคาโด
  • สาหร่ายทะเล
เคล็ดลับแนะนำ
  • หากรับประทานอาหารเหล่านี้เป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ควรเปลี่ยนแปลงปริมาณอาหารที่รับประทานจากเดิม เนื่องจากจะส่งผลให้ค่า INR เปลี่ยนแปลงไป
  • ไข้, ภาวะติดเชื้อ ทำให้เพิ่มฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน เสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกง่ายขึ้น
บทความโดย
หมอมิ้นท์ พญ.วรัชยา วลัยลักษณาภรณ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสมองและระบบประสาท
อ่านบทความน่าสนใจเพิ่มเติมที่ www.udeemeesuk.com
โฆษณา