14 พ.ค. เวลา 11:04 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

กล้องเจมส์เว็บบ์ พบดาวเคราะห์หินที่โคจรใกล้ดาวแม่ มากกว่าวงโคจรของดาวพุธ ที่ยังคงมีชั้นบรรยากาศ

ทีมวิจัยจาก JPL ของ NASA ได้ใช้อุปกรณ์ NIRCam และ MIRI ของกล้องเจมส์เว็บบ์ ตรวจดูการแผ่รังสีความร้อนจากดาว 55 Cancri e ซึ่งโคจรรอบดาวฤกษ์ชื่อ 55 Cancri ด้วยระยะห่างที่ใกล้กว่าวงโคจรดาวพุธรอบดวงอาทิตย์ถึง 25 เท่า หรือประมาณ 2.2 ล้านกิโลเมตร และอยู่ห่างจากโลก 41 ปีแสง
แต่ดาว 55 Cancri e (หรืออีกชื่อคือ Janssen) นั้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าโลกถึง 2 เท่า จึงจัดเป็นดาวเคราะห์หินประเภท Super Earth คือใหญ่กว่าโลก แต่เล็กกว่าดาวเนปจูน ด้วยขนาดที่ใหญ่และวงโคจรที่ใกล้ดาวแม่มากๆนี้ ทำให้ 55 Cancri e มีอุณหภูมิด้านกลางวันสูง 1540 องศาเซลเซียส(ต่ำกว่าที่คาดการไว้ตอนแรกที่คาดว่าจะอยู่ที่ 2200 องศาเซลเซียส) และอาจมีพื้นผิวที่เต็มไปด้วยแม็กม่า ซึ่งข้อมูลนี้อาจเป็นตัวบ่งชึ้ว่าอาจมีการพาความร้อนระหว่างกลางวันและกลางคืนระหว่างชั้นบรรยากาศของดาว
และนอกจากนี้ข้อมูลจากการศึกษาสเป็กตรัมในครั้งนี้พบว่า 55 Cancri e อาจมีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วย คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือ คาร์บอนไดออกไซด์ จากการดูดกลืนคลื่นแสงในช่วงความยาว 4-5 ไมครอน และถือเป็นหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดของการพบบรรยากาศของดาวเคราะห์หินนอกระบบสุริยะดวงแรกในปัจจุบัน
การค้นพบนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญของการหาดาวที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
งานวิจัยชิ้นนี้ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสาร Nature เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา
ข้อมูลจาก
โฆษณา