22 พ.ค. 2024 เวลา 11:00 • การศึกษา

## Episode69: Kinesiology of Shoulder complex#3

The acromioclavicular joint##
ข้อต่อ “Acromioclavicular joint(AC joint)” เป็นข้อต่อที่เกิดจากการเชื่อมต่อกันระหว่างปลาย lateral end ของกระดูก clavicle กับปลายของ acromion process ของ scapula โดยมี articular disc ช่วยรับแรงอยู่ภายในข้อต่อ ข้อต่อนี้เปรียบเสมือนว่าเป็นหลังคาที่คลุม shoulder complex ไว้ครับ
.
ลักษณะของ articular surface ของ AC joint จะมีลักษณะค่อนข้างเรียบแบน เป็นข้อต่อแบบ plane joint ดังนั้นการเคลื่อนไหวจะเป็นลักษณะของการ gliding มากกว่าการ roll-slide ครับ
ความมั่นคงของ AC joint นอกจากจะมาจาก articular capsule และ articular disc ที่อยู่ด้านในแล้ว AC joint ยังมี ligament ที่หุ้มอยู่ด้านบนและล่างต่อข้อต่อ เลยมีชื่อเรียกตามตำแหน่งที่เกาะอยู่ว่า “Superior/Inferior acromioclavicular ligament”
นอกจากนี้ ยังมี “Coracoclavicular ligament” ที่เกาะจาก coracoid process ขึ้นมาเกาะที่ inferolateral part ของ clavicle ทำให้เป็นตัวที่สร้างความแข็งแรงให้กับ AC joint อีกด้วย โดยจะแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ “conoid ligament” และ “trapezoid ligament” ความสำคัญของ ligament 2 ตัวนี้นอกจากจะสร้างความมั่นคงแล้ว ยังเป็นตัวที่ดึงให้ clavicle เกิด posterior rotation ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของ SC joint และ AC joint ตอนที่เรายกแขนครับ
ส่วนของกล้ามเนื้อที่ช่วยสร้างความมั่นคงของ AC joint คือกล้ามเนื้อ trapezius และ deltoid เพราะถ้าดูตามจุดเกาะของกล้ามเนื้อทั้ง 2 ตัวนี้จะเกาะผ่านรอบๆของ AC joint เลยครับ
สำหรับท่าที่ข้อต่อชิดกันมากสุด(close pack position) ของ AC joint จะอยู่ในท่า 90° abduction ส่วนท่าที่ข้อต่อหลวมที่สุด(loose pack position) จะอยู่ในท่า resting position หรือท่าที่แขนอยู่ข้างลำตัวนั่นเอง
ต่อมาถ้าพูดถึงเรื่องของการเคลื่อนไหวของ AC joint จะแตกต่างจาก SC joint คือ SC joint จะเกิดการเคลื่อนไหวได้มาก ทำให้ clavicle เคลื่อนไหวไปตามการเคลื่อนไหวของ scapula ได้ดี แต่ AC joint จะตรงข้ามกัน คือการเคลื่อนไหวจะเกิดได้น้อยกว่า แต่การเคลื่อนไหวนั้นจะมีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของหัวไหล่
โดย AC joint จะมีการเคลื่อนไหวได้ 3 degree of freedom คือ
Upward/Downward rotation เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดรอบแกน AP axis เพื่อให้ mechanic ในการยกแขนทั้ง flexion, abduction เกิดได้สมบูรณ์ โดยการ upward rotation ที่ AC joint จะเกิดในช่วงท้ายๆของการยกแขน เพราะจะทำให้ coracoclavicular ligament ตึงขึ้น ดึงให้ clavicle เกิด posterior rotation และดึงให้กระดูกทั้ง 2 ชิ้นเคลื่อนที่ไปด้วยกัน(มุมระหว่าง clavicle กับขอบบนของ scapula ค่อนข้างคงที่ตลอด)
Medial/lateral rotation เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดรอบแกน vertical axis เช่นเมื่อเกิด scapular protraction ที่ AC joint จะเกิด medial rotation ทำให้ glenoid fossa หันจากด้าน lateral ไปทางด้าน anterior มากขึ้น เป็นต้น
Anterior/posterior tipping เป็นการเคลื่อนไหวรอบ frontal axis เกิดไปพร้อมกับการเกิด anterior/posterior tilt ของ scapula
การเคลื่อนไหวของ AC joint แม้จะเคลื่อนไหวได้ไม่มากแต่มีส่วนสำคัญในการปรับ alignment ของสะบัก ให้แนบไปกับ thorax ได้ดีเวลาที่เรายกแขนขึ้นข้างบนครับ
ถ้าชอบเนื้อหาแบบนี้ผมฝากกด like กดแชร์ กดติดตามเพจphysioupskillด้วยนะครับ ส่วนถ้าใครมีข้อสงสัยอะไรก็commentไว้ด้านล่างได้เลยครับ
_PhysioUpskill_
#Physioupskill
#shouldercomplex
#kinesiology
⭐สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เพิ่มเติม สามารถอ่านบทความอื่นๆได้ที่ https://physioupskill.com/บทความ/ หรือดูรายละเอียดคอร์สเรียนของเพจได้ที่ https://physioupskill.com/คอร์สเรียน/ ได้เลยครับ
Ref.
Neumann, D. A. (2017). Kinesiology of the musculoskeletal system: Foundations for Rehabilitation. Mosby.
Drake, R., Vogl, A. W., & Mitchell, A. W. M. (2019). Gray’s Anatomy for Students.
โฆษณา