16 พ.ค. เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Heatflation คืออะไร ทำไมเราต้องกังวล?

หลายคนน่าจะคุ้นเคยกับคำว่า Inflation หรือเงินเฟ้อ แล้วเคยได้ยินคำว่า Heatflation กันหรือไม่?
7
สภาพอากาศสุดขั้ว เป็นสิ่งที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับพืชพันธุ์เพาะปลูก ประกอบด้วยถั่วลิสง โกโก้ และกาแฟ
2
พืชพันธุ์บางอย่างก็ได้รับผลกระทบจากการที่ฝนตกหนัก อุณหภูมิสูง แห้งแล้ง
3
เมื่อพืชพันธุ์เสียหายจากการที่อุณหภูมิสูงจัด ทำให้ราคาพืชพันธุ์เหล่านี้ในตลาดสูงขึ้น จึงเป็นที่มาของคำว่า “Heatflation” ซึ่งก็มาจาก Heat + Inflation หรือว่าเงินเฟ้ออันเกิดมาจากอุณหภูมิที่สูงนั่นเอง
2
ทาง World Economic Forum (WEF) ก็ได้ออกมาเตือนว่า Heatflation เป็นภัยต่อความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะสำหรับคนกลุ่มเปราะบาง
1
📌แล้วอุณหภูมิที่สุดขั้วและความแห้งแล้ง กระทบต่อความมั่นคงทางอาหารอย่างไร?
คลื่นความร้อนที่รุนแรงและความแห้งแล้ง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายต่อพืชพันธุ์ได้
เช่น ทำให้พืชพันธุ์อ่อนแอต่อแมลงและเกิดโรคได้ นอกจากนี้ยังทำให้คุณภาพของพืชพันธุ์แย่ลง เกิดผลผลิตที่มีสารอาหารน้อยลงและเน่าเสียได้ง่ายขึ้น
2
ความแห้งแล้งทั่วยุโรปส่วนใหญ่ในปี 2023 ทำให้ผลผลิตพืชพันธุ์ลดลงอย่างมาก
ผลผลิตข้าวโพด ลดลงไป 25%
2
และผลผลิตถั่วเหลืองสำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยง ก็ลดลงไป 10%
ในอิตาลี ผลผลิตข้าวสาลีและข้าวก็ลดลงไปถึง 30% หลังจากที่อิตาลีประสบกับความแห้งแล้งอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ 70 ปี
แต่ไม่ใช่แค่ในยุโรปที่ประสบปัญหาความแห้งแล้งและอุณหภูมิร้อนจัดจนกระทบกับผลผลิต ทั่วโลกก็กำลังเผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน
เมื่อเร็วๆ นี้ เกิดการขาดแคลนถั่วลิสงที่ส่งออกไปยัง EU เนื่องจากอุณหภูมิเปลี่ยนรูปแบบ และอากาศสุดขั้วในภูมิภาคที่เพาะปลูก ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งได้รับผลกระทบจากความแห้งแล้งในช่วงฤดูเพาะปลูกปี 2022/23 ถือได้ว่าเป็นความแห้งแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษ
📌อุณหภูมิสุดขั้วและความแห้งแล้ง กระทบกับราคาอาหารอย่างไร?
แรงกดดันต่อความมั่นคงทางอาหาร ส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ หรือที่เราเรียกกันว่า Heatflation เมื่ออุปสงค์อาหารก็ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปพร้อมกับการที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้น
จากรายงานที่จัดทำร่วมกันระหว่าง World Meteorogical Organization ของ UN และ Climate agency ของ EU ชี้ให้เห็นว่ายุโรปเป็นภูมิภาคที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างรวดเร็วมากที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ โดยอุณหภูมิสูงขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอื่นๆ ในโลกถึง 2 เท่า
1
สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น น้ำมันมะกอก และน้ำตาล ก็เริ่มขึ้นราคาในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการที่อุณหภูมิสูง และความแห้งแล้งในประเทศที่เพาะปลูก โดยเฉพาะในยุโรป
การที่อุณหูมิสูงจัดส่งผลกระทบให้ต้นทุนการผลิตน้ำตาลสูงขึ้น เป็นผลจากความแห้งแล้งในยุโรป จากข้อมูลพบว่า EU ถือเป็นผู้ผลิตน้ำตาลบีทชูการ์อันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งคิดเป็นกว่าครึ่งของผลผลิตน้ำตาลบีทชูการ์ต่อปี ทำให้กระทบกับอุปทานน้ำตาลทั่วโลก
ยิ่งไปกว่านั้นการผลิตน้ำตาลอ้อยในประเทศผู้ผลิตหลักๆ เช่น บราซิล ก็ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพอากาศที่สุดขั้ว ส่งผลให้ราคาสูงขึ้นเช่นกัน
ต้นทุนของน้ำตาลทั่วโลกเพิ่มสูงสุดขึ้นนับตั้งแต่ปี 2011 ตามมาด้วยความกังวลเรื่องอัตราการผลิตที่ต่ำกว่าปกติจากประเทศต่างๆ อย่าง ไทยก็เผชิญกับภัยแล้งรุนแรงเช่นกัน
เช่นเดียวกันกับอินเดีย ที่ราคาน้ำตาลก็สูงขึ้นมากกว่า 3% ภายใน 2 สัปดาห์ ในเดือนกันยายนปีที่ผ่านมา จนแตะระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี หลังจากที่อินเดียเผชิญกับปัญหาฝนตกน้อยในพื้นที่เพาะปลูกหลักๆ ของประเทศ และกลายมาเป็นคนกังวลอย่างมากในช่วงฤดูเพาะปลูกที่กำลังจะมาถึงนี้
📌เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อปกป้องความมั่นคงทางอาหารในอนาคต?
เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงอย่างรุนแรงและความแห้งแล้ง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพืชพันธุ์โดยตรง ก็เลยควรจะมีมาตรการที่เข้ามาเพื่อสร้างระบบอาหารที่ยืดหยุ่นได้มากขึ้น และปกป้องความมั่นคงทางอาหารในอนาคต
ทาง WEF ได้แนวทางไว้ว่า แต่ละประเทศสามารถทำอย่างไรได้บ้าง เพื่อช่วยบรรเทา หรือแก้ไขปัญหา Heatflation
  • ​ลงทุนในการเกษตรกรรมที่มีความยืนหยุ่น เช่น พืชพันธุ์ที่ทนต่อความแห้งแล้ง หรือระบบชลประทาน
  • ​ปลูกพืชที่มีความหลากหลาย จะได้ไม่ต้องพึ่งพาพืชพันธุ์เพียงไม่กี่อย่าง
  • ​ลดขยะจากอาหารเหลือทิ้ง
  • ​นโยบายที่ช่วยสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร เช่น การอุดหนุนเกษตรกรและสร้างธนาคารอาหาร
2
ผู้เขียน: ชนาภา มานะเพ็ญศิริ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : บริษัท ก่อการดี จำกัด
════════════════
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
════════════════
Reference
โฆษณา