16 พ.ค. เวลา 03:09 • หุ้น & เศรษฐกิจ

# สัญญาณอันตรายตอนงบออก

การทำความเข้าใจงบการเงินและปฎิกิริยาตอบสนองต่องบการเงินเป็นเรื่องที่เราควรทำความเข้าใจ เพื่อที่จะได้หาความได้เปรียบจากงบการเงินที่ออกมา
ก่อนที่เราจะเข้าใจสัญญาณอันตรายเราต้องเข้าใจก่อนว่าตลาดคาดหวังอะไรจากงบการเงิน
ตลาดคาดหวังที่จะได้เห็นการเติบโตของรายได้และกำไร ยิ่งเติบโตมากยิ่งดี และตลาดจะให้ค่างบที่ออกมาแบบไร้ข้อสงสัยและเข้าใจง่ายมากกว่างบที่เต็มไปด้วยเหตุการที่เราต้องหาคำอธิบายให้กับบริษัท
เมื่องบออกมาดีและเข้าใจง่ายจะทำให้คนมองเห็นภาพกำไรในอนาคตของบริษัทไปในทางเดียวกัน ทำให้เกิดแรงซื้อมหาศาลหลังงบออก
ดังนั้นสัญญาณอันตรายของหุ้นหลังงบออกคือ “งบแสดงการเติบโตแต่หุ้นไม่ขึ้น”
ปกติแล้วราคาหุ้นจะตอบสนองงบที่แสดงการเติบโตอย่างรวดเร็วหลังประกาศงบการเงิน อาจจะมีบ้างที่ตอบสนองช้าแต่โดยมากใช้เวลาไม่เกิน1-2สัปดาห์
ถ้าหุ้นที่คุณถืออยู่งบออกมา(แล้วคุณรู้สึกว่า)ดี แต่ราคาของหุ้นไม่ตอบสนอง หรือตอบสนองด้วยปฎิกิริยาที่ไม่ดีแปลว่ามีโอกาสที่คุณจะเข้าใจงบตัวนั้นผิดพลาด หรือมองงบในแง่ดีเกินไป
ปัญหาที่มักพบในงบที่ออกมาแล้วเราคิดว่าดีแต่หุ้นไม่ขึ้นคือ
1.งบแสดงการเติบโตแต่เป็นการเติบโตที่น้อยเกินไป
ตลาดชอบหุ้นที่มีการเติบโต20%ขึ้นไป เพราะการเติบโตที่รวดเร็วจะกดPEให้ลดลง และการเติบโตที่รวดเร็วบ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของบริษัท
บริษัทที่แข็งแกร่งย่อมขยายงานได้ง่ายและมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าและsupplier ดังนั้น งบที่ออกมาจะมีGPที่เสถียรหรือปรับตัวสูงขึ้น ทำให้กำไรโตได้เยอะ
ในทางกลับกันบริษัทที่โตต่ำกว่า10%ย่อมแสดงถึงช่วงเวลาที่ยากลำบากของบริษัทในการขยายงาน หุ้นพวกนี้เลยเป็นหุ้ที่ตลาดไม่ค่อยให้ความสนใจ
2.รายได้โตแต่GPลด
การที่GPลดหมายความว่าตัวบริษัทมีปัญหาในด้านการจัดการไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ถ้าเป็นGPลดจากการให้โปรโมชั่นที่มากเกินไปยิ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่ารายได้ที่เติบโตขึ้นอาจเป็นการเติบโตที่ไม่ถาวร เพราะอาศัยการทำการตลาดเพื่อช่วยดันยอดขาย
ถ้าเป็นGPลดจากต้นทุนวัตถุดิบแปลว่าตัวบริษัทไม่สามารถคุมชีวิตตัวเองได้ เพราะGPเป็นหนึ่งในตัวที่บอกถึงความแข็งแกร่งของบริษัท
GPที่สูงบ่งบอกถึงอำนาจการต่อรองกับลูกค้า คุณลองคิดดูว่าถ้าบริษัทในตลาดซึ่งเปิดเผยงบการเงินแสดงGPระดับ30-50%ให้ลูกค้าเห็น แต่ลูกค้ากลับไม่สามารถต่อราคาให้สินค้าถูกลงมาได้ นั่นหมายความว่าสินค้าตัวนั้นเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง มีการทดแทนได้ยาก
GPที่ไม่ผันผวนแสดงถึงความสามารถของบริษัทที่จะควบคุมต้นทุน ในบางบริษัทเราอาจมองว่าเป็นบริษัทที่ขายสินค้ามีแบรนด์ แต่ถ้าตัวบริษัทไม่สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบได้ PEของบริษัทก็ไม่ควรดีกว่าบริษัทที่เป็นcommodity เพราะต้องคอยลุ้นspradeวัตถุดิบทุกไตรมาส
แน่นอนว่ามีบริษัทที่แข็งแกร่งแต่GPไม่สูงอยู่ด้วย แต่ถ้าสังเกตุในงบการเงินจะเห็นว่าGPของบริษัทพวกนี้แม้จะไม่สูงแต่มีความเสถียรมาก และมีinventory turnoverที่สูงเพื่อมาชดเชยGPที่ต่ำ
บริษัทที่รายได้โตแต่GPลดและหุ้นไม่ขึ้นเป็นหนึ่งในลักษณะบริษัทที่ทำให้คนส่วนใหญ่ขาดทุน เพราะแง่มุมดีๆจากรายได้ที่โตจะเป็นตัวทำให้เรารู้สึกอยากซื้อหรือถือหุ้น แต่การที่หุ้นไม่ขึ้นหรือปรับตัวลงย่อมแสดงให้เห็นว่าคนในตลาดมีความกังวลเรื่องการควบคุมต้นทุนของบริษัท
3.กำไรโตจากรายได้อื่น
การเติบโตที่มีคุณภาพควรมาจากกิจการหลักของบริษัท ถ้ากำไรมาจากอัตราแลกเปลี่ยน การขายทรัพย์สินบางตัว หรือไม่ได้มาจากกิจการหลัก ตลาดจะไม่ให้ค่ากำไรส่วนนี้มาก
เพราะกำไรส่วนนี้เป็นกำไรที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ดังนั้นกำไรส่วนนี้ควรถูกคิดPEแยกออกจากกำไรหลัก และควรได้PE 1
3 อย่างนี้เป็นสัญญาณอันตรายในงบการเงิน สิ่งที่ควรระวังในการอ่านงบคืออย่ามีbias ซึ่งการมองงบให้สอดคล้องกับกราฟราคาจะเป็นตัวช่วยให้เรากรองหุ้นที่เรามีbiasออกไป และเอาหุ้นงบดีที่มีความแข็งแกร่งเข้ามาแทน
โฆษณา