16 พ.ค. เวลา 03:48 • ความคิดเห็น

The wonderful wisdom of Kirit Shah

เด็กวัยรุ่นอินเดียที่เกิดในเมืองไทย เป็นรุ่นที่หกของครอบครัวที่มาตั้งรกรากค้าขายเล็กๆ ถูกส่งไปเรียนอินเดียตั้งแต่เด็ก แต่เกเร ไม่ชอบเรียนหนังสือ เรียนมหาลัยก็เรียนได้แค่สองปีแล้วขอพ่อกลับบ้านเพราะไม่ชอบเรียน
พ่อผู้ซึ่งส่งออกข้าวเป็นธุรกิจเล็กๆ ก็ยังไม่อยากให้กลับเพราะยังไม่มีวิชาชีพอะไรเลย ก็เลยให้สมุดบันทึกประจำครอบครัวมาหนึ่งเล่ม เป็นสมุดบันทึกเก่าแก่ตกทอดกันมาหลายสิบปี ในนั้นมีชื่อคน เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของคู่ค้าทั่วโลก บางที่อยู่มีหลายชื่อและจะมีดอกจันท์อยู่บางชื่อที่ให้รู้ว่าใครสำคัญ แล้วพ่อก็บอกให้เขาเดินทางไปทั่วโลกเพื่อไป update สมุดบันทึกเล่มนี้ว่าใครยังอยู่ ใครสำคัญและเปลี่ยนเป็นใครแล้ว
และเขาก็ออกเดินทางตามคำสั่งของพ่อไปตามทวีปต่างๆ ไปพบ ไปเจอ ไป update สมุดบันทึกเล่มนั้น…
1
เป็นเรื่องราวเริ่มต้นเมื่อเกือบหกสิบปีก่อนของคุณกิริต ชาห์ (kirit Shah) มหาเศรษฐีระดับแสนล้าน ติดอันดับต้นๆของ forbes ชาวไทยอินเดียในวัย 72 ปี ผู้มีบริษัททั่วโลก 300 บริษัทกว่า 60 ประเทศ รวมถึงมีเรือขนส่งเกือบร้อยลำและเป็นเจ้าของ mega wecare อันโด่งดัง
พอได้ฟังเรื่องราวของคุณกิริตที่ HOW Club ที่คุณกิริตมาเล่าแบบอบอุ่นและเมตตาผู้ฟังรุ่นใหม่มากๆเมื่อวานก็ได้แต่คิดในใจว่า ทำไมไม่เคยได้ยินเรื่องราวและบทเรียนชีวิตอันน่าตื่นเต้นของคุณกิริตมาก่อน ไปพยายามหาในบทสัมภาษณ์ก็ไม่มี เป็นอาณาจักรระดับโลกที่ made in Thailand ที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้ เลยอยากจะสรุปเรื่องราว ประสบการณ์และ wisdom ของคุณกิริตมาแบ่งปันครับ…
6
โอกาสเกิดจากการเดินทาง
ไม่รู้ว่าเป็นกุศโลบายของพ่อหรือเพราะไม่รู้จะเอายังไงกับเด็กที่เรียนไม่จบคนนี้ แต่ทำให้คุณกิริตได้เดินทางท่องโลก และส่วนใหญ่ไปประเทศโลกที่สามที่ค้าข้าวด้วยและยังไม่เจริญในสมัยนั้น ได้ไปเห็นดูไบสมัยที่ยังมีถนนเส้นเดียวไปอาบูดาบี้ ไปอาฟริกา ฯลฯ ได้ไปพบปะผู้คน ทำให้คุณกิริทได้เห็นโอกาส เห็นช่องทางต่างๆมากมาย
พอกลับมาที่ไทย คุณกิริตก็เลยอยากจะทำมากกว่าที่บ้านค้าข้าว อยากขายทุกอย่างไปทั่วโลกตามที่เห็นมา คุณกิริตจึงเริ่มหาคนรุ่นใหม่ 10 คนโดยไปรับจากมหาวิทยาลัยดีๆของเมืองไทย พยายามส่งไปทั่วโลก แต่การณ์ไม่เป็นดังคาด คนไทยไม่ได้ชอบไปประเทศที่ลำบาก ไม่มี “travel leg” รับเท่าไหร่ก็ออกหมด คุณกิริตเลยต้องเปลี่ยนวิธีใหม่ ไปหาคนรุ่นใหม่ที่หิวกระหายกว่านั้น
1
ภาษาและความหิว
คุณกิริตเลยไปรับเด็กจบใหม่จากอินเดียมาสิบคน คนอินเดียในสมัยนั้น (และสมัยนี้ด้วย) มีความหิวกระหายเป็นอย่างมากเพราะประชากรเยอะจนล้น อยากออกนอกประเทศ อยากเอาตัวรอด คุณกิริตเน้นรับคนที่มีความรู้ที่คุณกิริทไม่มีเพราะเรียนไม่จบคือเอาเด็กจบวิศวะและจบบริหารมา แล้วส่งให้เดินทางทั่วโลกตลอดเวลา ในช่วงหนึ่งออฟฟิศมีพนักงาน 100 คน จะมีเก้าอี้แค่ 30 ตัวเท่านั้น เพราะคุณกิริตต้องการให้เดินทางไปค้าขายทั่วโลก หมุนเวียนเปลี่ยนกันไป
3
คำถามในการสัมภาษณ์
ซักพักก็มีเด็กจบใหม่จากอินเดียมาสัมภาษณ์แทบยกคลาส คุณกิริตเล่าขำๆว่าเขาไม่รู้จะถามทางวิชาการอะไร เลยถามสามคำถามหลักว่า Do you smoke? Do you drink? Are you non vegetarian? ใหม่ๆ คนถูกสัมภาษณ์ก็งง แต่ถ้าใครมีทั้งสามข้อคือทั้งสูบบุหรี่ ทั้งกินเหล้า ทั้งกินอาหารปกติ คุณกิริตก็จะรับเลยเพราะต้องการคนที่ไม่เรื่องมาก เข้าสังคมได้ ไปประเทศไหนก็กินอาหารท้องถิ่นได้ พอหลังๆเด็กๆรู้คำถาม คุณกิริตเลยต้องเปลี่ยนไปถามเรื่องทัศนคติและข้อจำกัดแทน โดยเน้นคนที่หิวกระหายและชอบผจญภัยเป็นหลัก
2
ลำบากก่อนได้เปรียบก่อน
คุณกิริตเล่าว่า สมัยบุกเบิกใหม่เมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน คุณกิริตเดินทาง 9 เดือนต่อปี ไปประเทศที่ไม่มีใครไปดูไบยังไม่เจริญมีแค่ถนนเส้นเดียวไปอาบูดาบี้ เมืองตะวันออกกลางก็ยังไม่พัฒนา อาฟริกาก็ยังดิบอยู่มาก คุณกิริตบอกว่าพอมีทีมงานที่เดินทางแหลกและพูดภาษาอังกฤษได้ก็เป็นข้อได้เปรียบอย่างมากเมื่อเทียบกับบริษัทไทยด้วยกัน ขายสินค้าอย่างเดียวกัน ยอมลำบากกว่าคู่แข่งแต่พอถึงเวลาโอกาสก็มาถึงก่อนใคร
2
คุณกิริตเล่าว่าตอนปี 1972 ที่เกิด oil shock อยู่ดีๆราคาน้ำมันบาร์เรลละ 1.5 เหรียญกลายเป็น 20 เหรียญ เงินไหลเข้าตะวันออกกลางมหาศาล มีความต้องการสินค้าตั้งแต่ข้าว ยันซีเมนต์ คุณกิริตจากการที่ไปปูทาง รู้จักคน และทำการค้าอยู่แล้ว ใครอยากได้อะไรก็ขายหมด ยังไม่มีของก็รับปากมาก่อนแล้วไปหาของมาขาย กิจการก็เจริญเติบโตมาตั้งแต่ตอนนั้น ทำเงินได้ปีละหลายร้อยล้านบาทในวัยหนุ่มสามสิบต้น
1
Trading trading trading
คุณกิริตเทรดทุกอย่างเท่าที่มีความต้องการในหลายสิบประเทศทั่วโลก วันหนึ่งๆ ต้องตัดสินใจสำคัญๆที่ trading desk สี่ห้าร้อยครั้ง คุณกิริตเล่าว่าหัวใจหลักของการทำธุรกิจ trading คือ การทำอย่างไรให้เรือบรรทุกสินค้าเต็ม ซื้ออาฟริกาไปขายอเมริกา ซื้ออเมริกาใต้มาขายตะวันออกกลาง ตอนสูงสุดๆ เคยมี trade volume เป็นหมื่นล้านเหรียญ
1
จุดแข็งของคุณกิริตคือทำให้ผู้ต้องการซื้อสินค้าได้สินค้าเร็วและบ่อยแทบจะ just in time จะได้ไม่ต้องสต๊อกเยอะ และหัวใจสำคัญของธุรกิจ trading คือวงเงินจากธนาคารในการหมุน ยิ่งมีวงเงินมากก็จะค้าขายได้มาก
คุณกิริตในตอนนั้นก็เลยไปปักหลักกู้เงินที่สิงคโปร์ซึ่งเป็น financial hub ใหม่ของโลก เทคนิคก็คือการทำความรู้จักนายธนาคารทุกธนาคารและนายธนาคารก็เปลี่ยนงานบ่อย ย้ายแบงค์บ่อย พอย้ายทีก็จะชวนให้ย้าย account เพิ่มวงเงินให้ คุณกิริตต่อรองจากการแข่งขันแย่ง account แบบนี้จนจากที่เคยจากค่าธรรมเนียมธนาคาร 0.25% จนเหลือแทบจะศูนย์ ทำให้กำไรขั้นต้นดีขึ้นมากเพราะธุรกิจเทรดดิ้งมาร์จิ้นบางมากๆ
1
เวลาไปติดต่อการค้าต่างประเทศ คุณกิริตบอกว่ามีสามช่องทางที่ช่วยในการเปิดประตูได้อย่างมาก ช่องทางแรกก็คือธนาคารที่เรากู้อยู่ เพราะธนาคารจะสามารถแนะนำลูกค้าอีกฝั่งหนึ่งได้ และพอธนาคารแนะนำก็จะเจอได้ง่าย ช่องทางที่สองคือ chamber of commerce ที่แต่ละประเทศมีเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างกัน ก็จะสามารถเปิดประตูที่ถูกให้ได้ไม่ยาก ช่องทางที่สามก็คือบริษัทที่ survey ทำวิจัยข้อมูลทางธุรกิจของประเทศนั้นๆ ก็มีข้อมูลและมี connection ที่ดีที่จะชี้เป้าที่ถูกได้
2
Hedging ด้วยธุรกิจขนส่ง
คุณกิริตเข้าสู่ธุรกิจขนส่งด้วยการมีเรือสินค้าตัวเองเพราะต้องการ hedging ความเสี่ยงจากการค้าขาย ช่วงแรกต้องซื้อเรือเงินสดเพราะธนาคารไม่เชื่อว่าจะทำได้ มีเกร็ดสนุกๆก็คือช่วงแรกก็ต้องตั้งชื่อเรือให้ชื่อญี่ปุ่นด้วยเพราะชื่ออินเดียหรือไทยไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ เรือคุณกิริตเลยลงท้ายด้วยคำว่า maru ทุกลำ
2
นอกจากทำธุรกิจขนส่ง มีเรือของตัวเองแล้ว ในมุมนัก trading คุณกิริตก็ซื้อขายเรือเพื่อทำกำไรและปรับพอร์ทให้เรือยังทันสมัยไม่เก่าด้วย คุณกิริตบอกว่าช่วงดีๆ เรือเก่าแค่ไหนก็จะมีคนซื้อ ช่วงไม่ดีเรือใหม่ก็ขายราคาถูก การซื้อขายเรือก็เลยกลายเป็นธุรกิจที่ทำกำไรดีมากๆอีกทางหนึ่ง
ด้วยความที่รักเมืองไทยและเห็นตัวเองเป็นคนไทย คุณกิริตเลยพยายามเอาบริษัทเดินเรือเข้าตลาดหลักทรัพย์ไทย ใช้เวลาอยู่นานจนสำเร็จในนาม precious shipping
Pay Peanut you get monkey
คุณกิริตจ่ายโบนัสให้พนักงานบางทีสูงสุด 5 ปี โดยมีวิธีคิดว่าถ้าเขาสามารถเทรดแล้วทำกำไรให้เราได้มากก็ต้องแบ่งให้เขาอย่างเต็มที่ คุณกิริตชอบใช้และพัฒนา homegrown จากเด็กรุ่นใหม่จบใหม่ที่กล้าผจญภัย แล้วให้อำนาจเขาเต็มที่ ทำผิดพลาดได้และเรียนรู้ให้เร็ว ทุกคนเดินทางไปเจอผู้คนทั่วโลก หาโอกาสใหม่ตลอดเวลา
ถ้าไม่กล้าจ่ายผลตอบแทนที่ยุติธรรมแล้วจะได้คนเก่งทำงานด้วยได้อย่างไร ถ้าจ่ายเป็นถั่วก็จะได้แค่ลิง
4
คุณกิริตบอกไว้แบบนั้น
Experience is collection of mistake
3
คุณกิริตสอนว่า ประสบการณ์ที่มีนั้นคือการทำผิดพลาดแล้วเรียนรู้จากมัน เราไม่มีทางจะสะสมประสบการณ์จากการเรียนรู้ความผิดพลาดคนอื่นได้ คุณกิริตยกตัวอย่างว่าถ้ามีคนบอกว่าอย่าเล่นสกีผาดโผนอาจจะขาหักได้ เราก็จะเล่นจนกว่าจะเรียนรู้จากการขาหักเอง อายุที่มากขึ้นก็จะทำให้มี wisdom มากขึ้น แต่ข้อดีของคนอายุน้อยจะไม่ค่อยกลัว (fearless) กล้าทำอะไรเสี่ยงๆที่คนอายุมากไม่กล้าทำได้ พอมีประสบการณ์เยอะ รู้เยอะก็อาจจะไม่กล้าทำ
90% lucky 10% very lucky
คุณกิริตเล่าว่าบางช่วงนั้นก็โตมาด้วยโชค ช่วงโตมากๆนั้นโชคดี 90% อีก 10% คือโชคดีมากๆ แล้วก็หัวเราะ แต่ผมฟังสองสามเรื่องจากคุณกิริตแล้วก็คิดถึงคำพูดของต้นสน สันติธารที่บอกถึงสมการแห่งโชคว่าเกิดจาก โอกาสบวกการเตรียมพร้อมเสมอ
สมัยหนุ่มๆ คุณกิริตเวลาจะบินไปตะวันออกกลางหรือประเทศไหนๆก็จะบิน first class (สมัยก่อนไม่มี business class) แล้วจะทิปเจ้าหน้าที่ที่ตรงออกตั๋วว่าจะขอนั่งกับคนท้องถิ่นที่เขากำลังจะไปเสมอ เพราะว่าเวลาหลายชั่วโมงบนเครื่องบินก็จะได้นั่งคุยกับคนท้องถิ่นที่ถ้านั่ง first class แล้วก็คงเป็นคนสำคัญที่โน่นแน่ๆแล้วก็สามารถต่อยอดหรือแนะนำใครให้เขาไปทำการค้าได้ทันทีเมื่อไปถึง
3
Mega we care ก็เกิดจากการนั่งติดกับนักธุรกิจตอนไปมุมไบแล้วเขาเล่าว่ามีเทคโนโลยีการผลิต soft capsule ที่เจ๋งมาก คุณกิริตเลยชวนมาหุ้นตั้งโรงงานเมืองไทย จนกลายเป็นธุรกิจหมื่นล้านในปัจจุบัน โชคในมุมของคุณกิริตจึงมีเรื่องการเสาะแสวงหาโอกาสอยู่ตลอดเวลาปนอยู่ในนั้น
1
หรือแม้แต่ตอนที่ไปพยายามซื้อเพชรมาขายที่โซเวียด ยูเนี่ยน เจอกฎ ระเบียบที่คนอื่นคงยอมแพ้ แต่คุณกิริตก็พยายามหาทางไปเจอ Director General ผู้มีอำนาจที่ใครๆก็กลัว ไปอธิบายจนฝั่งโน้นเข้าใจจนได้ธุรกิจมา ความพยายามอย่างไม่ลดละ ไม่ลองไม่รู้ ก็นำพามาซึ่งโชคดีเช่นกัน
Short gun clause
คุณกิริตสอนว่า ถ้าจะเริ่มทำธุรกิจกับใครให้ตกลงทางถอยไว้เสมอ คุณกิริตเรียกว่า short gun clause เพราะตอนที่จะร่วมธุรกิจกันนั้นมักจะหวานชื่น ไม่มีใครคิดว่าจะจบไม่ดีหรือต้องแยกทาง ถ้าไม่ตกลงไว้ก่อนก็จะเป็นปัญหาถึงขั้นฟ้องร้องกันได้
คุณกิริตเล่าเคสหนึ่งที่มีปัญหา ทำกับ partner ที่ partner ดูทุกอย่าง มี know how บริหารแต่ในที่สุดวิธีคิดก็ไปกันไม่ได้ คุณกิริตเขียน shortgun clause ไว้ ทำให้จบได้โดยไม่ทะเลาะกัน โดยเคสนี้เขาเล่าเป็นตัวอย่างที่ตกลงกันไว้ว่า ถ้าจะเลิก ทาง partner ที่มีและคุมทุกอย่างสามารถเสนอราคาซื้อจากคุณกิริตเท่าไหร่ก็ได้
สมมติว่า 100 บาท แต่คุณกิริทสามารถซื้อได้เช่นกันในราคา 50% ของราคาเสนอ ถ้าคุณกิริตไม่ซื้อ partner ก็จะซื้อราคาที่เสนอได้ เพราะตกลงกันไว้ว่า partner ผู้คุมทุกอย่างจะได้เปรียบ ซื้อไปก็รันต่อได้เลย ส่วนคุณกิริตถ้าซื้อก็จะต้องไปเริ่มใหม่หมด หาคนใหม่ มีความเสี่ยงสูงกว่ามาก ตอนตกลงตอนแรกก็ยุติธรรม พอแยกกันจริงๆก็ได้ใช้ short gun clause โดยที่ไม่ทะเลาะกัน
Sale is vanity, profit is sanity, cashflow is reality
1
ตอนปี 1997 ก่อนเกิดต้มยำกุ้งไม่นาน คุณกิริตถามฝ่ายการเงินว่าเงินสดฝากที่ไหนบ้าง ฝ่ายการเงินตอบด้วยความภูมิใจว่าฝากอยู่ไฟแนนซ์ต่างๆได้ดอกเบี้ย 21-24% คุณกิริตได้ฟังแล้วตกใจอย่างมากเพราะถ้าเขาให้ดอกเบี้ยเรา 24% ก็ต้องไปปล่อยกู้เกือบ 30%
ซึ่งไม่มีใครทำธุรกิจบนดอกเบี้ยนั้นได้ it’s too good to be true คุณกิริตเลยสั่งถอนเงินซึ่งฝากแบบ one day call คือต้องแจ้งล่วงหน้าหนึ่งวัน แต่ความเป็นจริงแล้วต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะถอนได้ครบ ซึ่งทำให้คุณกิริตรอดพ้นจากหายนะต้มยำกุ้งที่ไฟแนนซ์ปิดตัวกันหมดไปได้ และได้บทเรียนว่าแม้แต่คนที่ฉลาดที่สุดสมัยนั้นก็ผิดพลาดได้ที่ทำนายว่าจะไม่มีทางลดค่าเงิน
บทเรียนในครั้งนั้นของคุณกิริตก็คือ ยอดขายมันคือภาพลวงตา กระแสเงินสดเท่านั้นคือของจริง
On family and succession plan
คุณกิริตบอกว่า คนรุ่นแรกที่ประสบความสำเร็จจากความยากลำบากจนร่ำรวยมีคนเก่งรอบกาย แต่พอรุ่นสองก็ไม่ได้เติบโตมาแบบนั้น กลับมาจากเมืองนอกก็ไม่อยากทำงานลำบากแล้ว อยากอยู่กรุงเทพ ไม่อยากอยู่โรงงาน คุณกิริตเลยให้ทางเลือกกับลูกว่า ถ้าอยากทำงานเป็นมืออาชีพก็ต้องเป็นมืออาชีพจริงๆ ไม่สามารถอยู่ดีๆก็หนีเที่ยวได้ ต้องทำงานหนัก ไม่มีข้อยกเว้น ถ้าไม่อยากทำก็เป็นบอร์ดแล้วหามืออาชีพเก่งๆมาทำ legacy ของบริษัทก็จะได้ดำเนินต่อ run correctly and ethically คุณกิริตบอกไว้แบบนั้น
1
อายุ 30 ควรทำอะไร
มีคนถามว่าถ้าคุณกิริตอายุ 30 ในตอนนี้คุณกิริตจะทำอะไร คุณกิริตบอกว่าจะไปอินเดีย เพราะอินเดียเป็นประเทศที่กำลังเติบโตอย่างมาก และ tough มาก คนอินเดียทั้งฉลาดและแต่ละคนเป็น profit center ของตัวเองเพื่อความอยู่รอด โอกาสก็เยอะมาก ถ้ารอดที่อินเดียได้ก็จะแข็งแรงมากและทำอะไรที่ไหนก็ได้ และถ้าคุณกิริตมีพลังกว่านี้อีกสิบปีก็จะไปอาฟริกาเพราะตอนนี้อาฟริกาพร้อมที่จะเติบโตมากๆ มีระบบโทรคมนาคมที่ดี มีทรัพยากรเยอะมาก บินไปก็ไม่ยากแล้ว
1
คุณกิริตบอกน้องๆรุ่นใหม่ว่าให้ go for home run. Make the most out of it กระหายใคร่รู้ให้มาก (be curious) go meet people around the world กล้าถามให้มากเข้าไว้ สร้างโอกาสให้ตัวเอง
1
On Thailand
1
คุณกิริตรักและห่วงเมืองไทยมาก บอกทุกคนตลอดว่าตัวเองเป็นคนไทย คุณกิริตห่วงสังคมไทยที่กำลังเข้าสู่ aging society จะแก่ก่อนรวยและเรามีเวลาอีกไม่มากที่จะยกระดับตัวเอง ไม่เช่นนั้นลูกหลานเราจะลำบาก
คุณกิริตคิดว่าเรื่องสำคัญพื้นฐานที่สุดที่คนไทยจำเป็นต้องมีเพื่อที่จะสามารถสู้กับคู่แข่งจากประเทศอื่นๆ ที่ทั้งหิวกระหายทั้งเก่งได้ก็คือ พื้นฐานภาษาอังกฤษ เพราะถ้าเด็กไทยเก่งภาษาอังกฤษก็จะสามารถเข้าถึงความรู้ เข้าถึงเครื่องมือต่างๆของโลกได้ สื่อสาร เดินทางทำธุรกิจกับประเทศได้โดยไม่เป็นรอง แต่ถ้าอังกฤษยังเป็นปัญหาอย่างปัจจุบันก็จะโดนชาติอื่นแซง
1
แม้แต่กระทั่งธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็นหัวใจสำคัญ คนต่างชาติที่พูดภาษาได้ก็เข้ามาทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ คนไทยกลับได้ประโยชน์ไม่มากเท่าที่ควร ธุรกิจท่องเที่ยวจะพัฒนาและโตได้อีกมากถ้าภาษาอังกฤษของคนไทยแข็งแรงกว่านี้
คุณกิริตบอกว่าเราโชคดีกันที่อยู่ใน amazing country อย่างประเทศไทย มีภาษาเดียวพูดได้ทั้งประเทศ (อินเดียมี 22 ภาษา) มีศาสนาหลักร่วมกัน (อินเดียเดินไปกิโลนึงก็แบบนึงแล้ว) เป็น cheapest destination in the world อาหารการกิน การรักษาพยาบาล บริการด้วยรอยยิ้ม มีจุดแข็งมากมาย เราต้องช่วยกันทำให้ประเทศไทยแข็งแรงเพื่อส่งต่อให้ลูกหลานของเรา การศึกษาคือหัวใจสำคัญที่สุดที่เราต้องช่วยกัน คุณกิริตก็ช่วยเรื่องการศึกษากับเด็กๆที่ไม่มีโอกาสเป็นหมื่นคนทั้งที่ไทยและอินเดียอยู่ในปัจจุบัน
On successor
คุณกิริตชอบที่จะให้ซีอีโอในกลุ่มมีอายุน้อย 25-30 ปีก็เป็นซีอีโอได้แล้ว มีผู้บริหารอายุมากที่เติบโตมาพร้อมคุณกิริตจะตั้ง successor คนใหม่ที่มาแทน อายุน้อยกว่าแค่ 5-10 ปี คุณกิริทจะไม่ยอม จะให้ตั้งซีอีโอใหม่ที่เป็นอีก generation นึงเสมอ เพราะคนรุ่นใหม่จะกล้าเสี่ยงกว่า ถ้าไม่กล้าเสี่ยงก็จะ breakthrough ไปสู่น่านน้ำใหม่ๆไม่ได้
On dialogue.พูดคุยกับผู้คน
คุณกิริตใช้เวลาส่วนใหญ่ตอนนี้พบปะ สนทนากับผู้คนทุกวัย ทุกชาติ แทบจะทุกเย็น คุณกิริตบอกว่าต้อง ask wrong question ให้คู่สนทนาเล่ามากๆ และเรียนรู้จากคนอื่น แม้แต่ตอนที่บรรยายเสร็จ
คุณกิริตยังนั่งคุยกับน้องๆรุ่นใหม่ที่ HOW ต่ออีกเป็นชั่วโมงและบอกเสียงดังฟังชัดว่า “ talk to me so that I can learn from you experience” เป็นทั้งการให้เกียรติคู่สนทนาและเป็นการแสดงถึงความกระหายใคร่รู้ (curiousity) ที่คุณกิริตบอกทุกคนในห้องว่าต้องมีให้มากที่สุดเท่าที่จะมีได้ การถามด้วยความกระหายใคร่รู้ ไม่ได้ทำให้เราดูโง่ลงแต่อย่างใด
คุณกิริตเพิ่งเล่าด้วยความตื่นเต้นว่าเมื่อวันก่อนได้เจอกับบุรุษผู้มี palette เป็นพรสวรรค์ในการชิมไวน์หนึ่งในสิบของโลกและเป็นผู้ที่สร้าง fruad case เรื่องไวน์อันอื้อฉาวจนติดคุกติดตะราง ตอนนี้ออกมาแล้วกลับใจจะออกแบรนด์ไวน์ของตัวเอง คุณกิริตมีน้ำใจขนาดที่ว่าถ้าสนใจและอยากรู้บ้างก็จะชวนเขามาเล่าให้น้องๆในวงสนทนาฟัง
The three magic words
คุณกิริตพบรักและแต่งงานกับภรรยาตั้งแต่อายุน้อย ปัจจุบันครองรักกันมา 56 ปี คุณกิริตสอนคาถาแห่งการครองเรือนและความสงบสุขด้วยสามคำง่ายๆให้เราไว้ใช้ เพราะถ้าโต้เถียงกันหนักๆ ยังไงเราก็แพ้ภรรยา และก็ทำให้บรรยากาศมาคุไปทั้งคืน คาถาของคุณกิริตที่ง่ายๆมีแค่ ถ้าเมื่อไหร่ที่เริ่มไม่เห็นด้วย ทะเลาะกัน ให้พูดแค่ว่า…. Yes, my dear (ได้เลย..ที่รัก)
8
และทุกอย่างก็จะเป็นสุข…
เป็นบทสรุปของชีวิตหลากสีสันและ wisdom ของคุณ kirit Shah ที่ได้ฟังมาเมื่อวันก่อนครับ…..
โฆษณา