ความสุขที่แท้จริง

ความสุขเป็นรากฐานของชีวิตทั้งมวล ทุกชีวิตต่างปรารถนาความสุขด้วยกันทั้งสิ้น ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าสุขกามานิ ภูตานิสัตว์โลกทั้งหลายปรารถนาความสุขจากการได้เห็น การได้ยินได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มร ได้สัมผั และได้จากการนึกคิดถึงสิ่งต่างๆ
ความสุขที่แท้จริงคือ การหลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข นั่ง นอน ยืน เดิน ก็เป็นสุข เป็นสุขอยู่ตลอดเวลา ไม่เลือก ภาวะเวลาและ ถานที่ ความสุขเช่นนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์ต่างปรารถนา
สมาธิเป็นสิ่งที่นำมนุษย์เข้าสู่ความสุขที่แท้จริงนี้ได้ เป็นความสุขที่ต่อเนื่องกันทุกอิริยาบถ ทุกกิจกรรมเพราะเมื่อใจของใครสามารถเข้าสู่ภายใน เข้าไป นิทกับจุดศูนย์กลางกาย ผู้นั้นจะได้พบกับโลกส่วนตัวพบความอัศจรรย์ พบแหล่งกำเนิดแห่งความสุขที่มนุษย์ทั้งมวลปรารถนา เป็นแหล่งแห่งความสุขที่มีอยู่ในตัวของเรา เป็นความสุขที่แตกต่างไปจากความสุขธรรมดาที่พบอยู่ในชีวิตประจำวัน
ในเวลานั้น ผู้ที่มีใจหยุดได้ จะรู้ได้ทันทีว่าความสุขที่ตนเคยพบอยู่ทุกวันก่อนหน้านี้เป็นเพียงความ นุก นาน เพลิดเพลินกันชั่วคราวเท่านั้น เกิดขึ้นชั่วครู่แล้วก็ดับหายไป เป็นความสุขเพียงเล็กน้อยไม่สามารถครอบครองได้ ซ้ำยังมีความทุกข์เจือปนอยู่
ความสุขเหล่านั้น แตกต่างจากความสุขภายใน ที่เป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่ แจ่มใสเจิดจ้าอยู่ตลอดเวลาให้ทั้งความสุขและปัญญาโดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยจากผู้ใดนอกจากใจที่หยุดแล้วของตัวเอง
เมื่อใดใจหยุด เมื่อนั้นจะได้คำตอบให้ตัวเองว่า ได้พบสิ่งที่แ วงหามาตลอดชีวิตแล้ว เป็นความสุขที่แท้จริง ที่ไม่รู้จักเบื่อและสามารถสุขได้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เหมือนการเปิดเถาปินโตเข้าไปเป็นชั้นๆเมื่อใดเข้าถึงดวงธรรมภายใน จะรู้ด้วยตัวเองว่า ความรู้จริงภายในนั้นกว้างใหญ่ ไม่มีขอบเขตเป็นความรู้คู่ความสุข เต็มไปด้วยภูมิปัญญา เป็นสิ่งที่ค้นหาได้ด้วยใจอันเปียมไปด้วย ความสุขปลอดภัย และมีความพอใจที่แท้จริง
ไม่จำเป็นต้องแสวงหาที่ไหนอีกต่อไป นอกจากปล่อยใจให้ไหลลงไปในกระแสแห่งความสว่างไสวตรงศูนย์กลางกายเท่านั้นถ้าจะแยกความสุขที่ได้รับจากสมาธิตามกาลเวลาที่ส่งผลอีกนัยหนึ่ง
จะสามารถแยกได้เป็น สุขในปัจจุบัน คือความสุขที่ได้จากใจหยุดนิ่งในปัจจุบัน หรือสุขที่ได้จากฌานหรือสุขที่ได้จากการเข้าถึงพระธรรมกายในขณะที่ปฏิบัติธรรม เป็นสุขทันตาเห็นที่เราเริ่มต้นปล่อยใจให้ผ่อนคลายจากเรื่องราวที่วุ่นวายต่างๆ ในชีวิตประจำวัน จากความเครียดที่เกาะกินใจ เมื่อใจเริ่มหยุด ความสุขก็จะเกิดขึ้นจากตรงนี้และเมื่อได้ปฏิบัติต่อไป ความสุขจากสมาธินั้นจะลุ่มลึกไปตามลำดับจากสุขน้อยไปสู่สุขที่ยิ่งๆ ขึ้นไปจนถึงสุขอย่างยิ่งคือพระนิพพานอันเป็นบรมสุข
ดั่งคำพุทธพจน์ที่ว่า "นิพพาน ปรมสุข" 1 นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ความสุขเหล่านี้เราหาพบได้จากการหยุดใจ ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงพระอรหัตซึ่งจะเหนือจากสิ่งที่เราหาได้จากการกิน ดื่ม พูด คิด จากรูป รส กลิ่นและเสียงโดยทั่วไป อันเป็นเพียงความเพลินให้ลืมทุกข์ชั่วคราวซึ่งความสุขจากการดื่มกินเมื่อเทียบสุขที่เกิดจากการหยุดนิ่ง ก็เปรียบเสมือนเศษของความสุขเท่านั้นท่านจึงได้กล่าวเอาไว้ว่า "นตฺถิ นฺติปรสุข" สุขยิ่งกว่าหยุดนิ่งไม่มี
นี้เป็นสุขที่ได้ในปัจจุบันสุขในอนาคต คนที่มีสมาธิ ตายแล้วจะไปสู่สุคติโลก วรรค์ ถ้าหมดกิเล ก็ไปเสวยสุขที่ยอดยิ่งในพระนิพพาน นี้เป็นสุขที่จะพึงได้ในอนาคต
จากหนังสือ DOU วิชา MD 101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสมาธิ
โฆษณา