17 พ.ค. เวลา 07:07 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ผลประกอบการไตรมาส 1/2567: Alibaba/ JD.com/ Tencent.

สรุปสถานการณ์
  • รายได้ Alibaba เติบโต 7% สูงกว่าคาด แต่กำไรลดลงจากการรับรู้การขาดทุนจากเงินลงทุน
  • ผลประกอบการ JD.com สูงกว่าคาด ได้แรงหนุนจากยอดขายสินค้าเติบโตแข็งแกร่ง และมีโปรโมชันช่วยกระตุ้นยอดขาย
  • กำไร Tencent สูงกว่าคาด เติบโตสูงสุดในรอบ 3 ปี ได้แรงหนุนจากโฆษณาออนไลน์ และกลุ่ม Business Services
Alibaba บริษัท E-Commerce รายใหญ่ของจีน
Top 10 Holdings ของกองทุนหลัก: KF-BIC, KF-CHINA และ KFCMEGA
  • Alibaba ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/2567 รายได้อยู่ที่ 221,874 ล้านหยวน +7% YoY สูงกว่าคาดที่ 219,791 ล้านหยวน และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ +5% YoY มีสัญญาณของการฟื้นตัวของ E-Commerce แม้ว่าผู้บริโภคจะใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง
- รายได้จาก E-Commerce จีน (Taobao และ Tmall) ที่มีสัดส่วน 42% ของรายได้ +4% YoY เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ +2% YoY
- รายได้จาก E-Commerce ต่างประเทศที่มีสัดส่วน 12% ของรายได้ +45% YoY ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อหน้า ได้แรงหนุนจาก AliExpress
- รายได้จากธุรกิจ Cloud ที่มีสัดส่วน 12% ของรายได้ +3% YoY เท่ากับไตรมาสก่อนหน้า
- รายได้จากธุรกิจด้านโลจิสติกส์ Cainiao ที่มีสัดส่วน 11% ของรายได้ +30% YoY
- รายได้จากธุรกิจ Local Consumer Services ที่มีสัดส่วน 7% ของรายได้ +19% YoY
- รายได้จากธุรกิจ Digital Media and Entertainment ที่มีสัดส่วน 2% ของรายได้ -1% YoY
  • ทั้งนี้ กำไรของ Alibaba อยู่ที่ 3,270 ล้านหยวน -86% YoY มีสาเหตุหลักมาจากการรับรู้การขาดทุนสุทธิในการลงทุนหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งรวมถึงบริษัท AI อย่าง SenseTime Group และร้านค้าปลีก Sun Art Retail
  • ปัจจุบัน Alibaba ได้เร่งผลักดันธุรกิจในต่างประเทศ ท่ามกลางการความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจภายในประเทศ และจะเร่งขยายการเติบโตของบริษัทด้วยการลงทุนเพิ่มเติม
  • แม้รายได้ Alibaba จะเติบโตสูงกว่าคาด แต่กำไรลดลงมาก ส่งผลให้ราคาหุ้น -6%
JD.com บริษัท E-Commerce อันดับสองของจีน
Top 10 Holdings ของกองทุนหลัก: KFCMEGA
  • JD.com ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/2567 รายได้อยู่ที่ 260,100 ล้านหยวน +7% YoY และสูงกว่าคาดที่ 258,400 ล้านหยวน ได้แรงหนุนจากยอดขายที่เติบโตแข็งแกร่งทั้งในกลุ่มสินค้าทั่วไป อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมไปถึงมีโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย ในส่วนของกำไรสุทธิอยู่ที่ 7,100 ล้านหยวน สูงกว่าคาดถึง 13.9%
1
- รายได้จากการขายสินค้า +6.6% YoY ซึ่งมาจากสินค้าทั่วไป +8.6% YoY และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน +5.3% YoY
- รายได้จากส่วนบริการ +8.8% YoY โดยรายได้จาก E-Commerce และโฆษณา +1.2% YoY และรายได้จากธุรกิจโลจิสติกส์และบริการอื่นๆ +13.8% YoY
  • นอกจากจะมีโปรโมชันกระตุ้นยอดขายแล้ว ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา JD.com ได้เพิ่มกลยุทธ์การขายผ่านไลฟ์สด และบริษัทมีแผนที่จะขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศอีกด้วย
  • JD.com ได้ซื้อหุ้นคืนแล้วกว่า 1,300 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ และวางแผนที่จะซื้อหุ้นคืนเพิ่มเติมมูลค่า 3,000 ล้านดอลลาร์ จนถึงเดือนมีนาคม 2570 ส่งสัญญาณว่าบริษัทยังมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพการเติบโตในระยะยาว
  • ไมเคิล เบอร์รี่ “The Big Short” นักลงทุนชื่อดังชาวสหรัฐฯ ผู้บริหารกองทุน Scion Asset Management ได้เพิ่มการลงทุนในหุ้นจีน โดยได้ซื้อหุ้น JD.com เพิ่มขึ้นถึง 80% ทำให้มีสัดส่วนการลงทุนสูงสุดในพอร์ต ณ สิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
Tencent บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ของจีน เจ้าของ WeChat
Top 10 Holdings ของกองทุนหลัก: KF-BIC, KF-CHINA, KF-HCHINAD และ KFHASIA
  • Tencent ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1/2567 รายได้อยู่ที่ 159,500 ล้านหยวน +6% YoY สูงกว่าคาดที่ 158,800 ล้านหยวน ได้แรงหนุนจากโฆษณาออนไลน์ ขณะที่กลุ่ม Business Services เติบโตได้ดี แต่ธุรกิจเกมชะลอตัว ในส่วนของกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นแข็งแกร่งกว่าคาดถึง 62% อยู่ที่ 41,900 ล้านหยวน ซึ่งสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2564
- รายได้จากโฆษณาออนไลน์ที่มีสัดส่วน 17% ของรายได้ +26% YoY ได้แรงหนุนจาก engagement ผู้ใช้งาน WeChat ที่เพิ่มสูงขึ้นถึง 80%
- รายได้จาก Social Networks ที่มีสัดส่วน 19% ของรายได้ -2% YoY
- รายได้จากธุรกิจเกมในประเทศที่มีสัดส่วน 22% ของรายได้ -2% YoY จากเกม Honour of Kings ที่มีฐานสูงจากกิจกรรมช่วงตรุษจีนปี 2566 และความนิยมของเกม Peacekeeper Elite ลดลง
- รายได้จากธุรกิจเกมในต่างประเทศที่มีสัดส่วน 9% ของรายได้ +3% YoY ได้แรงหนุนจากผู้เล่นเกม PUBG Mobile เพิ่มขึ้น และเกม Supercell กลับมาได้รับความนิยม
- รายได้จากธุรกิจ Fintech and Business Services ที่มีสัดส่วน 33% ของรายได้ +7% YoY
  • Gross Margin โดยรวมฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ที่ 83.9% เพิ่มขึ้นถึง 23% และธุรกิจ Cloud เข้าใกล้จุดคุ้มทุน โดย Gross Margin ในส่วนของ Cloud เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53% สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2016 สำหรับรายได้โฆษณาออนไลน์ที่ฟื้นตัวก็เป็นผลมาจากการนำ AI มาประยุกต์ใช้ ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอบริการได้ดียิ่งขึ้น
  • Tencent ได้มีการปรับโครงสร้าง ซึ่งส่งผลต่อรายได้และกำไรของธุรกิจเกมทั้งในจีนและต่างประเทศ คาดว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่วยให้ทิศทางของธุรกิจปรับตัวดีขึ้น และรองรับการเติบโตในไตรมาสต่อๆ ไป
หมายเหตุ: ข้อมูล Top 10 Holdings ของกองทุนหลัก ณ มี.ค. 2567 และที่มาข้อมูลบริษัทต่างๆ ดังนี้
  • Alibaba และ Tencent: Bloomberg, CNBC, Company website | รายได้ประกาศ 14 พ.ค. 2567 | อัปเดต ณ 15 พ.ค. 2567
  • JD.com: Bloomberg, Company website | รายได้ประกาศ 16 พ.ค. 2567 | อัปเดต ณ 17 พ.ค. 2567
>> ข้อมูล KF-BIC คลิก :
>> ข้อมูล KF-CHINA คลิก : https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.aspx?fund=KF-CHINA
>> ข้อมูล KFCMEGA-A คลิก : https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.aspx?fund=KFCMEGA-A
>> ข้อมูล KFHASIA-A คลิก : https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.aspx?fund=KFHASIA-A
>> ข้อมูล KF-HCHINAD คลิก : https://www.krungsriasset.com/TH/FundDetail.aspx?fund=KF-HCHINAD
นโยบายการลงทุนและคำเตือน
  • KF-BIC ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหลัก Schroder International Selection Fund BIC (Brazil, India, China) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี≥ 80% ของ NAV
  • KF-CHINA ลงทุนในหน่วยลงทุนของ Hang Seng China Enterprises Index ETF ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายของประเทศฮ่องกง และจัดตั้งและจัดการโดย Hang Seng Investment Management Limited โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี≥ 80% ของ NAV
  • KFCMEGA ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ และ/หรือ ETF ต่างประเทศที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในจีน และ/หรือมีรายได้หลักจากการประกอบธุรกิจในจีนอย่างน้อย 2 กองทุน โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV กองทุน โดยมีสัดส่วนการลงทุนในกองทุนใดกองทุนหนึ่งโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่เกิน 79% ของ NAV กองทุน
  • KFHASIA ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหลัก Baillie Gifford Pacific Fund (Class B Acc) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV | กองทุนหลักมีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศจีนและอินเดีย ผู้ลงทุนควรพิจารณาถึงการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
  • KF-HCHINAD ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหลัก FSSA Greater China Growth Fund โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชี ≥ 80% ของ NAV | กองทุนลงทุนกระจุกตัวในประเทศ หรือกลุ่มประเทศที่กองทุนลงทุน ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย
  • KFHASIA และ KF-HCHINAD ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
  • KF-BIC, KF-CHINA และ KFCMEGA ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
  • เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูล แต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือและความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
สอบถามข้อมูลกองทุน หรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ บลจ.กรุงศรี โทร. 02-657-5757
หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา หรือ ตัวแทนสนับสนุนการขาย/ เจ้าหน้าที่ขายหน่วยลงทุน
ติดตามกองทุนกรุงศรี อัปเดตข่าวสาร และกิจกรรมต่างๆ ได้ที่
#กองทุนกรุงศรี #NewsUpdate
โฆษณา