17 พ.ค. เวลา 13:30 • อสังหาริมทรัพย์

แย่สุดในรอบ 6 ปี แบงก์เข้ม ไม่ปล่อยสินเชื่อ คนไทยแห่ซื้อ "บ้านมือสอง"แซงบ้านใหม่ "บ้านแพง"เริ่มอืด

“สุรพล โอภาสเสถียร” ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (เครดิตบูโร) รายงาน หนี้คนไทย พบขณะนี้ บรรยากาศการยื่นขอสินเชื่อบ้าน ถูกปฏิเสธสูงมาก เรียกได้ว่า 100 ใบสมัคร ผ่านการพิจารณาเบื้องต้นแค่ 50ใบ เท่านั้น เหตุเพราะสถาบันการเงินมีการตรวจประเมินรายได้เข้มข้น เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ขอกู้มีศักยภาพเพียงพอหรือไม่
6
ภายใต้ ต้องมีรายได้แน่นอน มั่นคง เพียงพอ สม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ว่าลูกหนี้จะต้องมีความสามารถในการชำระหนี้ตามตารางการชำระหนี้ได้ตลอดรอดฝั่ง ขณะเดียวกัน เมื่อตรวจรายได้เสร็จ ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการตรวจเครดิตบูโร ว่า มีหนี้มากแค่ไหน มีประวัติการค้างชำระหรือไม่ เพื่อประเมินความตั้งใจในการชำระหนี้
3
  • กู้สินเชื่อไม่ผ่าน เหลือขายเยอะ "บ้านมือสอง" แซงมือ 1
เทียบตัวเลข การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ ณ ไตรมาสแรก ปี 2567 แผ่วลงอย่างเห็นได้ชัด มีเพียง 5.9 หมื่นบัญชีเท่านั้น ผู้ประกอบการต่างบ่นกันมาก เรื่องขายได้ยาก กู้ไม่ผ่าน บ้านเหลือขายเยอะ สะท้อนภาพ บรรยากาศเศรษฐกิจโตต่ำ มีปัญหาให้รอแก้
สอดคล้อง กับรายงานของ REIC (ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์) ฉบับล่าสุด กำลังซื้อคนไทยอ่อนแอ ฉุดหน่วยที่อยู่อาศัย ที่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ และยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ ณ สิ้นไตรมาสแรก ปี 2567 อยู่ในจุดที่ตกต่ำสุดในรอบ 25 ไตรมาส หรือในรอบ 6 ปี
"ยอดการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่เพียง 121,529 ล้านบาท (ขยายตัวลดลง 20.5% ซึ่งน่าจะเป็นผลจากความสามารถในการขอสินเชื่อที่ลดลง และการที่สถาบันการเงินมีเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดมาก"
ส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลคงค้างทั่วประเทศ มีมูลค่าสูงขึ้นถึง 4,956,145 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% ต่ำที่สุดในรอบ 25 ไตรมาส เช่นกัน
1
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า ตลาดในระดับราคาเกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป มีการโอนกรรมสิทธิ์บ้านใหม่ ที่มากกว่าบ้านมือสอง ขณะที่ตลาดในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่เป็นบ้านมือสองที่สูงกว่าบ้านใหม่
1
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการ ผอ.REIC ยังห่วงว่า ภายใต้ขณะนี้ ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย ยังคงมีปัจจัยลบทั้งด้านมาตรการควบคุมตามเกณฑ์ LTV และหนี้ครัวเรือน แต่พบการที่ผู้ประกอบการทุกค่าย มุ่งเป้าหมายไปที่ การพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาแพงตามกระแสความนิยมในตลาด อาจมีความเสี่ยงตามมา
เนื่องจากพบว่า ที่อยู่อาศัยราคาสูงเหล่านี้เริ่มมียอดขายที่ชะลอตัวในขณะที่ปริมาณอุปทานมีการเพิ่มขึ้นอย่างมาก และหน่วยเหลือขายเริ่มสะสมเพิ่มมากขึ้นมาหลายไตรมาสติดต่อกัน และอาจทำให้เกิด โอเวอร์ซัพพลาย ใน segment ระดับราคานี้ได้
ที่มา : เครดิตบูโร, REIC
ติดตามข้อมูลด้านเศรษฐกิจและนโยบายรัฐบาล กับ ThairathMoney ได้ที่ 👇
ติดตามเพจ Facebook : Thairath Money ได้ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/ThairathMoney
โฆษณา