Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MONEY LAB
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
20 พ.ค. 2024 เวลา 03:00 • ธุรกิจ
Spotify แอปฟังเพลง ที่รายได้โต แต่ขาดทุน ต่อเนื่องทุกปี
- ปี 2019 รายได้ 267,574 ล้านบาท
- ปี 2020 รายได้ 311,721 ล้านบาท
- ปี 2021 รายได้ 382,452 ล้านบาท
- ปี 2022 รายได้ 463,903 ล้านบาท
- ปี 2023 รายได้ 524,032 ล้านบาท
ถ้าเราดูแค่นี้ จะเห็นได้ว่า ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา Spotify มีรายได้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และน่าจะดูมีอนาคตสดใส แต่ถ้าเราไปดูกำไรในช่วงเดียวกัน จะพบว่า
- ปี 2019 ขาดทุน 7,357 ล้านบาท
- ปี 2020 ขาดทุน 22,983 ล้านบาท
- ปี 2021 ขาดทุน 1,344 ล้านบาท
- ปี 2022 ขาดทุน 17,010 ล้านบาท
- ปี 2023 ขาดทุน 21,045 ล้านบาท
3
หรือก็คือ Spotify ยังขาดทุนต่อเนื่องในทุกปี แสดงว่าทุกครั้งที่เรากดฟังเพลง หรือพอดแคสต์ Spotify ยังไม่ได้กำไรเลย
1
เรื่องนี้เป็นเพราะอะไร ทำไม Spotify เหมือนคนที่กำลังเลือดไหลออกไม่หยุด ?
MONEY LAB จะย่อยเรื่องการเงิน การลงทุน ให้เข้าใจง่าย ๆ
1
เรารู้กันดีว่า Spotify เป็นโมเดลธุรกิจที่เก็บเงินจากผู้ใช้งานรายเดือน แล้วเราเอง ก็สามารถฟังได้ทุกอย่าง ตั้งแต่เพลง ไปจนถึงพอดแคสต์
แต่ถ้าเราไม่จ่ายเงิน ก็ต้องทนฟังโฆษณาคั่น และฟังได้แค่บางคอนเทนต์เท่านั้น
พอเป็นแบบนี้ ทำให้ Spotify มีรายได้จาก 2 ทาง นั่นคือ รายได้จากค่าบริการรายเดือน หรือ Subscription และรายได้จากค่าโฆษณาจากผู้ใช้งานฟรี
อย่างไรก็ตาม แม้ช่วงที่ผ่านมา Spotify จะมีรายได้เข้ามาไม่ขาดสาย แต่ทำไม Spotify ยังขาดทุนต่อเนื่องทุกปี ?
1
1. โมเดลธุรกิจที่เลือดไหลออกตลอดเวลา
แม้รายได้จะเพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่ Spotify ต้องแลกมา นั่นคือ ต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย โดยต้นทุนเหล่านั้นก็คือ ค่าตอบแทนที่ต้องจ่ายให้เจ้าของผลงานเพลง และพอดแคสต์
นอกจากนี้ เพื่อกระจายความเสี่ยง Spotify ยังมีคอนเทนต์ที่ผลิตขึ้นเองและซื้อลิขสิทธิ์มา แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการทยอยหักค่าตัดจำหน่าย ในแต่ละปีออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งค่าตัดจำหน่าย ก็ถูกรวมไปในต้นทุนด้วย
4
พูดให้เห็นภาพ เช่น ถ้า Spotify ซื้อลิขสิทธิ์รายการพอดแคสต์ A มา 9 ล้านบาท ถ้าหักค่าตัดจำหน่ายภายใน 3 ปี เท่ากับว่า ตรงนี้จะเป็นต้นทุนขายปีละ 3 ล้านบาท
2
พอเป็นแบบนี้ ทำให้ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แม้ Spotify จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 18.3% แต่ต้นทุนขายก็เพิ่มขึ้นถึง 18.2%
4
นอกจากนี้ โมเดลหาเงินของ Spotify จะขายโฆษณาให้กับผู้ใช้งานฟรี และหากเสียเงินรายเดือน ก็ไม่ต้องทนฟังโฆษณา ให้รำคาญอีกต่อไป
เรื่องนี้แม้จะเป็นเรื่องดี ที่จะให้ผู้ใช้งานจ่ายเงิน แต่กลับเป็นผลเสียกับ Spotify ที่จะต้องเสียรายได้จากค่าโฆษณาน้อยลงไปเรื่อย ๆ แทน
3
Spotify จึงต้องหวังพึ่งพารายได้หลัก จากค่าสมัครบริการรายเดือนจากผู้ใช้งาน เห็นได้จากสัดส่วนรายได้จากค่าสมัครบริการรายเดือนนั้น คิดเป็นถึง 87% ของรายได้ Spotify ทั้งหมดเลยทีเดียว
3
2. สงครามแย่งหูคนฟังยังคงดุเดือด
หูคนเรามีเพียง 2 ข้าง ซึ่งไม่มีทางฟังอะไรหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้อยู่แล้ว ทำให้ Spotify ต้องเจอคู่แข่ง
ที่จะมาแย่งหูคนฟังหลายเจ้า
ไม่ว่าจะเป็นคู่แข่งจากบิ๊กเทค เช่น Apple ที่มี Apple Music, Alphabet เจ้าของ YouTube Music ที่มีทั้งฐานลูกค้าและมีเงินทุนมหาศาล
2
ยังไม่รวมถึงคู่แข่งหน้าใหม่ เช่น TIDAL, Deezer ที่พร้อมจะมาแย่งหูคนฟังจาก Spotify ตลอดเวลา
2
มารู้ตัวอีกที Spotify ก็กำลังลอยคออยู่ท่ามกลางทะเลเลือด จึงต้องทุ่มงบวิจัยและพัฒนา เช่น ระบบ Echo Nest ที่แนะนำเพลงให้ตรงใจผู้ใช้งาน
ซึ่งค่าใช้จ่ายตรงนี้ คิดเป็น 13% ของรายได้ที่ Spotify ทำได้ในแต่ละปี โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนา เพิ่มขึ้นถึง 29.4%
3. ต้องขยายตลาดผู้ใช้งานไปเรื่อย ๆ
ถ้าเราไปดูสัดส่วนรายได้ Spotify ที่แบ่งตามฐานผู้ใช้งานในประเทศต่าง ๆ จะพบว่า มาจาก
- สหรัฐอเมริกา 39%
- สหราชอาณาจักร 9%
- ลักเซมเบิร์ก 1%
- อื่น ๆ 51%
จะเห็นได้ว่าแหล่งรายได้ของ Spotify มีการกระจายตัวในหลายประเทศ แต่ไม่มีประเทศที่สามารถเป็นฐานผู้ใช้งานหลัก ให้กับ Spotify ได้เลย ซึ่งนั่นเท่ากับว่า ต้องทุ่มเงินจำนวนมาก เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าในประเทศใหม่ ๆ เข้ามาใช้งาน
2
เมื่อต้องทุ่มเงินหนัก ทำให้ค่าใช้จ่ายการตลาดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นถึง 16.7% เลยทีเดียว
ทั้งหมดนี้ ทำให้ Spotify ที่แม้จะมีรายได้เติบโตต่อเนื่อง
แต่ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายการตลาด ค่าวิจัยและพัฒนา
ก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว จนไม่เหลือกำไร
3
ถึงอย่างนั้น แม้จะขาดทุนต่อเนื่อง แต่ธุรกิจก็ยังอยู่ได้ เพราะเก็บเงินจากผู้ใช้งานมาก่อน แล้วค่อยจ่ายให้เจ้าของเพลง พอดแคสต์ หรือเจ้าหนี้อื่น ๆ ในภายหลังแทน
นอกจากนี้ ถ้าหักเงินสดที่ใช้ลงทุนของ Spotify ออกไป กระแสเงินสดอิสระ หรือเงินที่เหลืออยู่จริง ๆ ที่เอาไปใช้จ่ายได้ ยังมากถึง 26,370 ล้านบาท
3
อย่างไรก็ตาม ถ้าเทียบกับคนตอนนี้ Spotify ก็คงเป็นคน
ที่เลือดกำลังไหลไม่หยุด และต้องหาอะไรบางอย่าง มาห้ามเลือดที่กำลังไหลออกมา
1
ซึ่งก็คงต้องติดตามกันต่อไปว่า Spotify จะคิดหาวิธีห้ามเลือดได้เมื่อไร หรือ Spotify จะต้องเลือดไหลออกไปเรื่อย ๆ จนหมดตัวในที่สุดแทน..
References
-
https://investors.spotify.com/financials/default.aspx
-
https://www.morningstar.com/stocks/xnys/spot/performance
ธุรกิจ
54 บันทึก
80
2
33
54
80
2
33
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย