20 พ.ค. เวลา 10:01 • สุขภาพ
โรงพยาบาลเอกชัย

ไข้เลือดออก ภัยเงียบที่ไม่ว่าใครก็มีโอกาสเป็นได้

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาที่เฉพาะเจาะจงกับตัวโรค จึงเป็นการรักษาไปตามอาการมากกว่า
สำหรับเชื้อไข้เลือดออกที่พบได้ในประเทศไทย เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) มี 4 สายพันธุ์ คือ Dengue 1 (DEN1), Dengue 2 (DEN2), Dengue 3 (DEN3) และ Dengue 4 (DEN4)
เมื่อใครที่มีการติดเชื้อเดงกีสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งไปแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้นๆ ไปตลอดชีวิต แต่คนๆ นั้นอาจจะติดเชื้อและเป็นโรคจากสายพันธุ์อื่นๆ ในภายหลังก็ได้
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่มีความรุนแรงต่างกัน ผู้ป่วยบางรายเมื่อถูกยุงที่มีเชื้อกัดแล้ว มีการพบการติดเชื้อจริงแต่ไม่มีอาการแสดงใดๆ เลยก็มี หรือในผู้ป่วยบางรายมีไข้เพียงเล็กน้อย หรือบางรายมีอาการไข้สูง อ่อนเพลีย หรือแม้กระทั่งบางรายมีไข้สูงมาก มีเกร็ดเลือดต่ำ มีเลือดออกได้ หากผู้ป่วยรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจมีเลือดออกมาก และมีภาวะช็อครุนแรง จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ซึ่งการติดเชื้อไวรัสเดงกีครั้งหลังๆ จากเชื้อคนละสายพันธุ์ (Secondary infection) อาจทำให้มีอาการรุนแรงมากขึ้นได้
😲 เราจะป้องกันหรือลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไข้เลือดออกนี้ได้อย่างไร ?
👉 ระวังไม่ให้ถูกยุงกัด
👉 ทำความสะอาดพื้นที่อยู่อาศัย กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
👉 การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก
🌟 วัคซีนไข้เลือดออกมีความจำเป็นไหม ?
ปัจจุบันนี้วัคซีนไข้เลือดออกมี 2 ชนิด คือ Dengvaxia® และ Qdenga®
1️⃣ วัคซีนชนิด Dengvaxia®
เป็นชนิดเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนแรง (Live-attenuated) เกิดจากโครงสร้างไวรัสไข้เหลืองเป็นแกน ผสมกับไวรัสเดงกี 1-4 จากผลการศึกษาที่ 25 เดือนหลังฉีดวัคซีน สามารถป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ ร้อยละ 65 ป้องกันการนอนโรงพยาบาล ร้อยละ 80 และป้องกันติดเชื้อแบบรุนแรง ร้อยละ 93
โดยอายุที่สามารถฉีดได้ คือ ตั้งแต่ 6-45 ปี โดยจะฉีดทั้งหมด 3 เข็ม แต่ละเข็มห่างกัน 6 เดือน สามารถฉีดได้เฉพาะผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้ว ผู้ที่ไม่เคยเป็นไข้เลือดออก ควรปรึกษาแพทย์และตรวจเลือดก่อนรับการฉีด
2️⃣ วัคซีนชนิด Qdenga®
เป็นวัคซีนชนิดใหม่ล่าสุด เป็นชนิดเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนแรง (Live-attenuated) และเกิดจากโครงสร้างของไวรัสเดงกี 2 เป็นแกน ผสมกับไวรัสเดงกี 1-4 ซึ่งจากผลของการศึกษาที่ 12 เดือนหลังฉีด สามารถป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการ ร้อยละ 80 ป้องกันการนอนโรงพยาบาล ร้อยละ 90และป้องกันการติดเชื้อแบบรุนแรง ร้อยละ 86 โดยอายุที่สามารถฉีดได้ คือ ตั้งแต่ 4-60 ปี โดยจะฉีดทั้งหมด 2 เข็ม แต่ละเข็มห่างกัน 3 เดือน และสามารถฉีดได้ทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน และไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน
โฆษณา