Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
•
ติดตาม
21 พ.ค. เวลา 01:00 • สิ่งแวดล้อม
ทีทำการอุทยานแห่งชาติทะเลบัน
เอื้องมะลิปากขน กล้วยไม้ที่สำรวจพบ ในอุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล
เอื้องมะลิปากขน Dendrobium planibulbe Lindl. โดยกล้วยไม้ชนิดนี้สำรวจพบที่อุทยานแห่งชาติทะเลบัน จ.สตูล ความสูงจากระดับน้ำทะเล 250 - 700 เมตร เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย เจริญด้านข้าง ลำต้น ยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร มีลำลูกกล้วย ที่เกิดจากการบวมพองของปล้อง 1 ปล้องที่โคนต้น รูปทรงรี เป็นสัน 4 เหลี่ยมตามยาว สีเขียวหรือสีม่วง สูงประมาณ 3-4 เซนติเมตร
ต่อจากลำลูกกล้วยขึ้นไป เป็นลำต้นที่มี ใบติดอยู่ แบบเรียงสลับ ปล้องยาว 2-2.5 เซนติเมตร ใบ สีเขียวหรือสีม่วง รูปใบหอกแกมรี ปลายมน ขนาด 1x5 เซนติเมตร ไม่มีก้านใบ ฐานใบแผ่ออกหุ้มต้น
ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออก ที่ส่วนลำต้นส่วนบน ที่ไม่มีใบ ดอกขนาด 2 เซนติเมตร สีขาว มีเส้นหลายเส้นสีแดงจางๆ (บางครั้งลายสีแดงดังกล่าวจางมาก) และมีจุดสีม่วงแต้ม ที่ส่วนปลายสุดของทุกกลีบ กลีบเลี้ยงบน ยาวประมาณ 10-11 มิลลิเมตร คางดอกลึกประมาณ 10-11 มิลลิเมตร เช่นกัน กลีบดอก ยาว 10 มิลลิเมตร มีขนสั้นๆ ปกคลุมบริเวณขอบกลีบจากกึ่งกลางกลีบจนถึงปลาย
กลีบปาก ยาวประมาณ 12 มิลลิเมตร หูกลีบปาก ขนาดใหญ่ ปลายตัด ตั้งขึ้น มีลายเส้นสีแดงคล้ายเส้นเลือดฝอยชัดเจน ปลายกลีบปากแคบ ขนาด 1.6x4 มิลลิเมตร ยื่นตรงมาข้างหน้า ขอบกลีบมีขนยาวๆ เป็นครุย สังเกตได้ชัดเจน กลางกลีบปากมีชั้นเนื้อเยื่อสีเหลืองสด ขนาดใหญ่ ติดอยู่ พบตามต้นไม้ในป่าดิบชื้นระดับสูง หรือป่าดิบชื้นหินปูน ช่วงเวลาในการออกดอก กันยายน - มีนาคม
ที่มา : ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
#เอื้องมะลิปากขน #ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ #สุราษฎร์ธานี #กรมอุทยานแห่งชาติ #กล้วยไม้ป่า
ธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม
สื่อทางเลือก
บันทึก
4
3
4
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย