20 พ.ค. เวลา 18:09 • ปรัชญา
บทสวดที่ชาวพุทธควรจะสวด เป็นบทสวดที่ดีที่สุด นั่นก็คือ บทสวด ปฏิจจสมุปบาท ความหมายคือ เป็นบทสวดตอนที่พระพุทธเจ้าแสดงหลักธรรมชาติ หรือหลักความจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่วัฏฏะปกปิดไว้
2
บทสวดธรรมะสำหรับผู้ป่วยอาการหนัก หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายใกล้ทำกาละ ช่วงเวลามรณะกาเล ก่อนสิ้นลมหายใจ และหลังสิ้นลมหายใจ
1
ผู้ที่ยังแข็งแรงเป็นปกติ ก็สามารถฝึกสวดได้ เพื่อเตือนสติและเข้าไปอยู่ในจิตสำนึก สามารถท่องจำอย่างคล่องแคล่ว
อิธะ ภิกขะเว อะริยะสาวะโก
ปะฏิจจะสะมุปปาทัญเญวะ
สาธุกัง โยนิโส มะนะสิกะโรติ
- ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดี
ซึ่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า
อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ
- เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี
อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ
- เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ
- เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี
อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ
- เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป
ยะทิทัง
- ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
อะวิชชาปัจจะยา สังขารา
- เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย
สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง
- เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง
- เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง
- เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส
- เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
ผัสสะปัจจะยา เวทะนา
- เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เวทะนาปัจจะยา ตัณหา
- เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง
- เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
อุปาทานะปัจจะยา ภะโว
- เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
ภะวะปัจจะยา ชาติ
- เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ
- เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกขโทมนัส
อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน
เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ
ทุกขักขันธัสสะสะมุทะโย โหติ
- ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
อะวิชชายะเต๎ววะ
อะเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ
- เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ
แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร
สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ
วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป
นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ
สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ
ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา
เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา
ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน
อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ
ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ
- เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ
ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ
- เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นแล ชรา มรณะ
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะทั้งหลาย จึงดับสิ้น
เอวะเม ตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหตีติ
- ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้
โฆษณา