22 พ.ค. เวลา 03:34 • ประวัติศาสตร์
เส้นทางรถไฟสายมรณะ

ภาพ C566 หัวรถจักรไอน้ำ C56 หมายเลข 6 กำลังดันขบวนรถไฟข้ามสะพานไม้แห่งหนึ่งบนเส้นทางรถไฟสายมรณะ

หัวรถจักร C56 หมายเลข 6 คือหนึ่งในจำนวนหัวรถจักรรุ่น C56 ที่กองทัพญี่ปุ่นส่งข้ามน้ำข้ามทะเลมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะที่ไทยและพม่า
กองทัพญี่ปุ่นได้ส่งหัวรถจักร C56 หมายเลข 1 ถึงหมายเลขที่90 (90คัน)มาเพื่อใช้งานในการขนส่งยุทธปัจจัยและกำลังทหารเพื่อทำการรบในพม่า และยังใช้ขนส่งทหารที่ได้รับบาดเจ็บกลับมารักษาตัวที่ประเทศไทยด้วย
สำหรับทหารรถไฟหัวรถจักร C56 เปรียบเสมือนสหายศึกของพวกเขาเลยทีเดียว
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หัวรถจักร C56 บางส่วน ถูกทำลาย เกิดอุบัติเหตุ ทำให้หัวรถจักรพังเสียหาย
เมื่อสิ้นสุดสงคราม หัวรถจักรไอน้ำแบบ C56 มีเหลือรอดมาจำนวนประมาณ 46 คัน
C566 หรือ C56 หมายเลข 6 เป็นหนึ่งในหัวรถจักรที่เหลือรอดและเปลี่ยนเจ้าของจากกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงคราม เปลี่ยนมือมาเป็นของกองทัพอังกฤษในช่วงญี่ปุ่นยอมจำนน แล้วสุดท้ายก็เปลี่ยนมือมาเป็นของกรมรถไฟ หรือต่อมาคือการรถไฟแห่งประเทศไทย
หัวรถจักรถูกใช้งานภายใต้การดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทยในชื่อหมายเลข 704 (ซึ่งบางท่านอาจจะเคยเห็นภาพในช่วงที่ C566 ถูกใช้งานในประเทศไทยจำนวนหนึ่งเลย)
ในปี 1975 หรือ พ.ศ.2518 มีการเปิดตัวภาพยนตร์ พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ ซึ่งมีการนำเอาหัวรถจักร C566 หรือ 704 มาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ครับ
ภาพ C566 นี้คาดว่าถูกถ่ายในช่วงสงครามหรือไม่ก็หลังจากช่วงสงครามสิ้นสุดลงไม่นานครับ
โฆษณา