22 พ.ค. เวลา 06:44 • ปรัชญา
ถ้าตามหลักของพุทธศาสนา ตามคำสอนเท่าที่ผมพอเข้าใจอย่างผิวเผินนะครับ
ทุกอย่างบนโลกนี้อยู่ภายใต้หลักเหตุและผลครับ เมื่อเหตุมันเกิด ผลมันก็ต้องเกิด และผลที่เกิดก็มีโอกาสที่จะเป็นเหตุอีกอย่างหนึ่ง ของผลที่จะตามมาอีก
เมื่อเหตุมันดับ ผลมันก็ดับ
ถ้าเราพิจารณากันว่า "กรรม" คือผลของการกระทำ มันก็แปลว่า ผลมันเกิดขึ้นแล้ว มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ และมันจะยังคงอยู่ไปจนกว่าต้นเหตุของมันจะดับ
ถ้าการหนีกรรม หมายถึง ไม่สนใจมัน ไม่ยอมรับมัน อยากผลักมันไปไกล ๆ หรือไปไกล ๆ จากมัน ก็คงจะทำได้แหละครับ แต่ "กรรม" มันก็จะยังคงอยู่ เพราะมันเกิดขึ้นมาแล้ว หนีไปสุดหล้าฟ้าเขียวยังไง มันก็ยังคงอยู่แบบนั้นแหละ
มันก็ควรแปลว่า การหนีไม่มีประโยชน์อะไร
ในอริยสัจ 4 ในสองข้อแรกที่ว่าถึงทุกข์ สิ่งที่จะต้องกระทำคือ ทุกข์(หรือผล)คือการกำหนดรู้ ส่วนสมุทัย(หรือเหตุแห่งทุกข์)คือการละ ท่านไม่เคยบอกไว้เลยว่า ทุกข์ต้องหนี ต้องละ หรือใด ๆ เพราะมันเกิดขึ้นมาแล้ว สิ่งที่ทำได้คือรู้ หรือเรียนรู้
ส่วนสองข้อหลังของอริยสัจ ว่าด้วยเรื่องการพ้นจากความทุกข์ก็ประกอบด้วย มรรค(การทำเหตุ) และนิโรธะ(ผลที่จะได้จากการเจริญมรรค) มันก็เป็นเรื่องเหตุและผลเช่นกันครับ
ซึ่งคนโดยส่วนมาก เมื่อมีทุกข์หริอมีกรรมเกิดขึ้น เรา ๆ ก็จะทำการ"หนี"ด้วยกันทั้งนั้น ทำให้ทุกข์ที่มียังคงอยู่ เพราะเราไปจัดการแก้กันผิดจุดครับ
โฆษณา