22 พ.ค. 2024 เวลา 23:26 • ธุรกิจ

หุ้น Nvidia +6% งบออก โตระเบิดแบบ “Triple-digit” ต่อเนื่อง กำไรโต 7 เท่า..

ไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา Nvidia หุ้นที่ถูกจับตามองมากที่สุดในช่วงเวลานี้ ได้เผยงบ Q1/2025 (ก.พ.- เม.ย. 2024) ออกมา
5
ซึ่งเป็นผลประกอบการที่นักลงทุนทั่วโลกต่างรอคอย
ว่า Nvidia จะกลายเป็นเดอะแบกของตลาดหุ้น หรือ จะพาพวกพ้องร่วงลงเหว..
และผลลัพธ์คือ.. งบ Nvidia ออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ทั้งรายได้และกำไร
ไตรมาสที่ 1 ปี 2025
Nvidia มีรายได้ 950,085 ล้านบาท (+262%)
กำไร 542,859 ล้านบาท (+628%)
คิดเป็นอัตรากำไรที่สูงถึง 57% เลยทีเดียว
1
จะเห็นว่า รายได้และกำไร ยังคงรักษาอัตราเติบโตแบบ Triple-digit หรือเลขสามหลัก ได้อย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน โดยเฉพาะกำไรที่เรียกได้ว่าโตระเบิด
ยอดขายของ Nvidia ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเพราะบริษัทต่าง ๆ เช่น Google, Microsoft, Meta, Amazon และ OpenAI ได้ซื้อชิป GPU ขั้นสูงของ Nvidia มูลค่าหลักแสนล้านบาท เพื่อใช้สำหรับอัปเกรด Data Center และใช้พัฒนา AI
2
เพราะ AI จะช่วยเพิ่ม Productivity ในเกือบทุกอุตสาหกรรม และช่วยให้บริษัทต่าง ๆ ประหยัดต้นทุนมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้
อีกทั้งคุณ Jensen Huang ที่เป็น CEO ของบริษัท ยังบอกด้วยว่า มีความต้องการชิป AI รุ่นใหม่ ซึ่งจะเปิดตัวปลายปีนี้ ที่ชื่อว่า “Blackwell” อย่างแข็งแกร่งอีกด้วย
สำหรับธุรกิจของ Nvidia นั้น ผลิตชิปประมวลผลเป็นหลัก และมีรายได้มาจากกลุ่มธุรกิจ
- ธุรกิจศูนย์ข้อมูล (Data Center) 824,448 ล้านบาท (+427%)
- ธุรกิจการ์ดจอเกม (Gaming) 94,848 ล้านบาท (+18%)
- ธุรกิจ Professional Visualization 15,577 ล้านบาท (+45%)
- ธุรกิจยานยนต์และหุ่นยนต์ (Automotive & Robotics) 12,002 ล้านบาท (+11%)
1
ที่น่าตกใจคือ ไตรมาสนี้ สัดส่วนรายได้มากถึง 87% มาจากธุรกิจ Data Center (ซึ่งรวมถึงชิป AI)
จึงจะบอกว่า Nvidia เป็นบริษัทผลิตการ์ดจอเกม ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว..
1
โดย Nvidia ได้ให้ Outlook ของผลประกอบการในไตรมาสหน้าว่า บริษัทจะทำรายได้อยู่ที่ราว ๆ 1,021,440 ล้านบาท
จากผลประกอบการของ Nvidia
ที่ออกมาสดใส และดีกว่าที่นักวิเคราะห์มองไว้ ถึงแม้ตลาดจะให้ความคาดหวังกับหุ้นตัวนี้สูงมากแล้วก็ตาม
ประกอบกับ Nvidia ได้ประกาศเพิ่มเงินปันผลรายไตรมาส อีก 150% ซึ่งจ่ายเป็นเงินสด
จาก 0.04 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น เป็น 0.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น
นอกจากนี้ Nvidia ยังประกาศแตกพาร์หุ้น จาก 1 หุ้น เป็น 10 หุ้น อีกด้วย
จากปัจจัยทั้งหมด ทำให้ราคาหุ้นของ Nvidia ตอบสนองเชิงบวกต่อเรื่องนี้ทันที
โดยปรับตัวขึ้น +6% ในช่วงซื้อขายนอกเวลาทำการของตลาด
หรือคิดเป็นมูลค่าบริษัทที่เพิ่มขึ้นกว่า 5,000,0000 ล้านบาท ในวันเดียว
1
และในเมื่อหุ้นพี่ใหญ่ขยับตัว
ราคาหุ้นของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับชิป และ AI ก็ปรับตัวขึ้นตามด้วยเช่นกัน..
AMD +1.7%
ASML +1.7%
ARM + 2.5%
SMCI +3.9%
TSMC +3.6%
เพราะนักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกว่า ธุรกิจเหล่านี้คงได้อานิสงส์เช่นเดียวกับ Nvidia และยังคงเติบโตได้ดีอยู่ ในอุตสาหกรรมที่กำลังร้อนแรงนี้..
NVIDIA เป็น 1 ใน 10 บริษัทใหญ่ ด้าน AI ใน MEGA10AI
- กองทุนเปิด MEGA 10 ARTIFICIAL INTELLIGENCE ชนิดสะสมมูลค่า (MEGA10AI-A) และชนิดเพื่อการออม (MEGA10AI-SSF) และยังมีกองทุนเปิด MEGA 10 ARTIFICIAL INTELLIGENCE เพื่อการเลี้ยงชีพ (MEGA10AIRMF) โดยจะเข้าไปลงทุนในบริษัท ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
2
โดยคัดเลือกมาจากบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) สูง และมีสภาพคล่องสูง รวมทั้งเป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ทั้งด้านที่เป็นผู้ผลิต ผู้พัฒนาสินค้าหรือบริการ และ/หรือที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งมีการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา จำนวน 10 บริษัท เช่น Microsoft, Nvidia, Alphabet, Meta, TSMC*
พิเศษ ! ตั้งแต่ช่วง IPO จนถึง 7 มิ.ย. 2567 ค่าธรรมเนียมการขาย สำหรับรายการที่ซื้อ MEGA10AI-A ตั้งแต่ 1 ล้านบาท
- ยอดซื้อตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปต่อรายการ ค่าธรรมเนียมการขาย 0.5% ของมูลค่าซื้อขาย
- ยอดซื้อตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปต่อรายการ ค่าธรรมเนียมการขาย 0.1% ของมูลค่าซื้อขาย
โดยค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้สั่งซื้อได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือภาษีอื่นใดแล้ว ศึกษารายละเอียดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมได้ที่ www.talisam.co.th
*บริษัทดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเกณฑ์การลงทุนและสภาวะการลงทุน ณ ขณะนั้น
MEGA10AI-A เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนผ่านการเพิ่มมูลค่าของหน่วยลงทุนเป็นหลัก (Total Return)
MEGA10AI-SSF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินระยะยาว
MEGA10AIRMF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและเริ่มต้นลงทุนได้ที่ บลจ.ทาลิส 02-0150215, 02-0150216, 02-0150222 หรือ www.talisam.co.th และผู้สนับสนุนการขายหลายราย
ผู้สนับสนุนการขาย ได้แก่
1. บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป จำกัด (มหาชน)
3. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)
4. บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)
5. บริษัทหลักทรัพย์ เว็ลธ์ เมจิก จำกัด
6. หลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
8. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัด
9. บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
10. บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
11. บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
12. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด
13. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน โรโบเวลธ์ จำกัด
14. บริษัท หลักทรัพย์ อินโนเวสท์ เอกซ์ จำกัด
15. บริษัทหลักทรัพย์พาย จำกัด (มหาชน)
16. บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
17. บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน เทรเชอริสต์ จำกัด
18. บริษัทหลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด
19. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน)
20. บริษัทหลักทรัพย์ สยามเวลธ์ จำกัด
21. บริษัทหลักทรัพย์ ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด
22. บริษัทหลักทรัพย์ ไพน์ เวลท์ โซลูชั่น จำกัด
23. บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด
24. บริษัท หลักทรัพย์ เคเคพี ไดม์ จำกัด
25. บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
26. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สายงานธุรกิจไพรเวทแบงค์ เฉพาะกองทุน MEGA10AI-A
27. บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด
28. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็กซ์สปริง จำกัด
29. บริษัท ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
ทั้งนี้ รายชื่อผู้สนับสนุนการขายหน่วยลงทุน อาจมีการปรับเปลี่ยนได้
คำเตือน: กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ และการลงทุนในกองทุนรวมตราสารแห่งทุนอาจมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะ เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงของกองทุนรวมก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF กรณีไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขทางภาษี จะไม่ได้สิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขของกองทุน
กองทุนนี้มีการลงทุนในต่างประเทศมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และมีการลงทุนกระจุกตัวของหลักทรัพย์ และ หมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก
ผลการดำเนินงานในอดีต/ ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
โฆษณา