24 พ.ค. 2024 เวลา 05:46 • ปรัชญา
เราขอเห็นต่างนะคะ ผู้มีคุณธรรมไม่จำเป็นต้องมีขันติค่ะ ไม่อย่างนั้นแล้ว ในภาษาไทยคงไม่แยกคำว่า คุณธรรม และ ขันติธรรม ออกจากกัน คนที่มีขันติ ก็เพราะเป็นผู้เพียรฝึกที่จะอดทนอดกลั้น สงบระงับ แต่ก็ไม่อาจด่วนสรุปได้ว่า เขาเป็นผู้มีคุณธรรม ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ควรด่วนสรุปตัดสินผู้อื่น
คุณธรรม คือสภาพคุณงามความดีที่เป็นนามธรรม มันถูกปลูกฝังขึ้นในจิตใจ แต่สิ่งที่อยู่ในใจ ใครเลยจะรู้ได้ จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อแสดงออกผ่านสถานการณ์หนึ่งๆ ซึ่งทำให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่ามีคุณธรรม ไม่อย่างนั้นจะมีวลี "สถานการณ์สร้างฮีโร่" ได้อย่างไร? และเมื่อมาถึงยุคสมัยนี้ พวกเราต่างรับรู้กันผ่าน Social เพียงทำการแสดงผ่าน Facebook, Youtube พวกเราก็ด่วนสรุปตัดสินไปแล้ว ว่าคนๆนี้มีคุณธรรม เป็นคนดีย์! ด้วยเหตุนี้ เราจึงไม่ควรด่วนสรุปตัดสินผู้อื่น ขอนุญาตย้ำครั้งที่ 2
พวกเราถูกสอนกันมานานว่า "หนทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน" โปรดสังเกตว่า ไม่มีคำว่าเอกฉันท์มาต่อท้ายแต่อย่างใด คำว่าเอกฉันท์ใช้กับการลงมติ เรียกว่ามติเป็นเอกฉันท์ หรือ unanimous ทั้งในการบริหารกิจการธุรกิจ และการบริหารกิจการบ้านเมือง มันจึงเป็นคนละเรื่องกัน นอกจากนี้ ยังมีคำว่า ฉันทามติ (consensus) มาให้พวกเราได้แยกใช้อีก เพียงเพื่อจะบอกว่า เอาล่ะๆ มันไม่ใช่มติเอกฉันท์นะ มันเป็นแค่ฉันทามติ!
ผู้ที่เคยอ่านสามก๊ก น้อยคนนักที่จะพูดถึง "ซุยเป๋ง" ศิษย์สุมาเต็กโช มีผู้คนเอามาอุปมาว่าเขาคือ "ไทยเฉย" ขงเบ้งเองยังนับถือ แต่ทำไมผู้คนกลับไม่เป็นเอกฉันท์ ซ้ำกล่าวหาว่า ซุยเป๋งไม่เคยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เหมือนคนไร้หัวจิตหัวใจ ไร้คุณธรรม แต่คนอย่างซุยเป๋งผู้หลีกเร้นเข้าป่า หาได้แคร์ไม่ ไม่เผชิญหน้า ไม่ออกมาพิสูจน์อะไรใดๆ ใครจะทำอะไรปู่ซุยได้เล่า? ฉลาดล้ำกว่าใครเป็นไหนๆ
1
เราคิดว่าอย่างนั้นแหละค่ะ
ขออนุญาตไม่เห็นด้วย ไม่สปอยล์กันนะคะ
เห็นต่างได้เนาะ? เสรีภาพความคิด
ขอบคุณค่ะ^^
โฆษณา