24 พ.ค. เวลา 07:28 • สิ่งแวดล้อม

เข้าสู่ "ลานีญา" โลกจะเย็นลงหรือไม่ ?

ช่วงมีนาคม-เมษายนถือว่าเป็นหน้าร้อนตามปกติอยู่แล้ว แต่เมื่อบวกกับภาวะโลกเดือดแล้ว"เอลนีโญ"เข้าไปจึงทำให้อากาศร้อนมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในภาวะ “เอลนีโญ“ อ่อนกำลังลง และจะสิ้นสุด พ.ค.นี้ และเตรียมเข้าสู่ ”ลานีญา” ช่วงครึ่งหลังของปี ซึ่งโดยปกติจะทำให้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีฝนตกมากยิ่งขึ้น
เอลนีโญ เป็นคำที่เราคุ้นเคยกันมานาน โดยพ่วงกับเรื่องสภาวะโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก ส่วน "ลานีญา" ก็ถือเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสลมและกระแสน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่นดียวกับ เอลนีโญ
• เอลนีโญ (𝗘𝗹 𝗡𝗶𝗻𝗼) :
เกิดจากกระแสลมมีกำลังอ่อนลงและเปลี่ยนทิศทาง โดยพัดจากด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกไปทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก (อินโดนีเซียไปยังชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้) กระแสน้ำอุ่นจึงไหลไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียขาดฝนเกิดความแห้งแล้ง แต่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้กับมีฝนตกเพิ่มมากยิ่งขึ้น
• ลานีญา (𝗟𝗮 𝗡𝗶𝗻𝗮) :
เกิดจากกระแสลมพัดจากทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกตามปกติ แต่ว่ากระแสลมมีความรุนแรงมาก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหลมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากยิ่งขึ้น ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียมีระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นและฝนตกหนักมากกว่าปกติ ในทางตรงกันข้ามจะทำให้เกิดภาวะแห้งแล้งตามแนวชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้
ทั้งนี้อุณหภูมิของโลกโดยทั่วไปจะเพิ่มขึ้นในช่วงที่มี "เอลนีโญ" แต่ลดลงในช่วง "ลานีญา" แต่ประเด็นสำคัญคือทั้งเอลนีโญ-ลานีญา มีผลกระทบแตกต่างกันไปแล้วแต่ภูมิภาค เช่น การเกิดเอลนีโญในประเทศไทย จะทำให้หน้าร้อน มีอุณหภูมิร้อนเพิ่มขึ้น หน้าหนาวยังมีอากาศร้อน และหน้าฝนแห้งแล้ง
เอลนีโญ่/ลานีญ่าเกิดขึ้นทุกๆ 2-7 ปีโดยเฉลี่ย แบบไม่มีตารางกำหนดตายตัว และจะกินระยะเวลาประมาณ 9-12 เดือน เมื่อปี 2023 เกิดสภาวะเอลนีโญตั้งแต่ตอนกลางปีและกำลังจะสิ้นสุดลงในปี 2024 นี้ แต่ก่อนหน้านั้นในปี 2020-2022 เกิดลานีญาติดกันถึง 3 ปี
โดยปีที่แล้วหรือปี 2023 เป็นปีที่มีอุณหภูมิร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมา หรือ ร้อนขึ้น 1.48 องศาเซลเซียสเทียบกับยุคก่อนใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงในด้านของอุณหภูมิของผิวน้ำทะเล เนื่องจากปัจจัยส่วนนึงมาจากมนุษย์สร้างขึ้น หรือ ภาวะโลกเดือดบวกกับเอลนีโญ ทำให้เกิดอากาศร้อนต่อเนื่องมาจนถึงปีนี้ 2024 ค่ะ
• หมด "เอลนีโญ" เข้าสู่ "ลานีญา" โลกจะเย็นลงแล้วใช่ไหม ?
ตามหลักแล้ว อุณหภูมิโลกจะลดลง เมื่อเกิดสภาวะลานีญา แต่ลานีญามีความสัมพันธ์กับฝนเพียงแค่ 25% แต่มีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิกว่า 90% ซึ่งอาจทำให้อุณหภูมิลดลง แต่ด้วยปัจจุบันโลกอยู่ในภาวะโลกเดือด จึงอาจจะทำให้อุณหภูมิลดลงแค่ 0.2-0.3 องศาเซลเซียส ถือว่าแทบไม่ได้เกิดความรู้สึกว่าอากาศเย็นลงมากมายนัก หรือ ไม่ได้รู้สึกเย็นขึ้นเลย
จากสภาวะโลกเดือดที่กล่าวยกขึ้นมาบ่อยครั้ง ทำให้มีโอกาส 59% ที่ปี 2024 นี้จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีมา แล้วก็มีโอกาสถึง 80% ที่ปีนี้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเกิน 1.5 องศาเซลเซียสก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม
จากข้อตกลงปารีส หรือ Paris Agreement ความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change-UNFCCC) ในปี 2015 ได้ทำข้อตกลงกับประเทศที่เข้าร่วมว่า ต้องช่วยกันทำให้โลกร้อนไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเทียบกับตอนก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม
และเมื่อปี 2024 นี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะทะลุ 1.5 องศาเซลเซียสไปแล้ว จะทำให้ระยะเวลาการทำเป้าหมายระยะยาวของข้อตกลงเหลือเวลาน้อยลง หากเราไม่ช่วยกับลดก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกกล่าวว่าในแต่ละปีอาจจะมีปัจจัยธรรมชาติค่ะที่ทำให้อุณหภูมิอาจจะต่ำลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่แนวโน้มของโลกในระยะยาว คือ โลกจะร้อนขึ้นเรื่อยๆ โดยแต่ละทศวรรษร้อนขึ้นกว่าทศวรรษที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นเรื่องของ "ภาวะโลกเดือด" ที่เกิดจากมนุษย์เป็นคนสร้างนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องจับตามองในยุคสมัยนี้
เรื่องของเอลนีโญ และ ลานีญา เป็นเรื่องของปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถจะควบคุมได้ แต่ "ภาวะโลกเดือด" และ "'ปรากฏการณ์เรือนกระจก" คือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และสามารถที่จะแก้ไขควบคุมได้
ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเรา "จริงจัง" ในการแก้ไขมากน้อยขนาดไหน เพราะว่าเรื่องของ "ภาวะโลกเดือด" ที่เราสัมผัสได้ในทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว
เราทุกคนในธุรกิจ และอุตสาหกรรมปรับอากาศและทำความเย็น กำลังเข้าสู่การ "เปลี่ยน" ผ่านยุคสมัยของอุตสาหกรรมในแต่ละปี ไปพร้อมๆ กัน ทั้งในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ที่ควบคู่ไปกับความยั่งยืนและความพยายามในการต่อสู้กับสภาวะเปลี่ยนแปลงของอากาศทั่วโลก เพื่อจะได้มีปีใหม่ปีต่อๆ ไป และอนาคตของพวกเราทุกคน
📍 เปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็น GWP ต่ำ
📍 เราเปลี่ยนเพื่ออะไร ?
ไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศและทำความเย็นของคุณ แต่ยังสอดคล้องกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสากลที่ยั่งยืนเพื่ออนาคตของโลก และคนรุ่นต่อไป
เข้าสู่ปีที่ 10 เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนา เปลี่ยนแปลง เพื่อสิ่งที่ดีที่สุดให้กับทุกท่าน l 𝗖𝗵𝗮𝗻𝗴𝗲 𝗳𝗼𝗿 𝘁𝗵𝗲 𝗯𝗲𝘁𝘁𝗲𝗿
ดูรายละเอียดสารทำความเย็นทั้งหมดได้ที่ : https://www.coldersolution.co.th/products/
ติดต่อเรา :
Line id : @Colder หรือคลิก : https://lin.ee/VEnKS4M
#น้ำยาแอร์ #น้ำยาทำความเย็น #สารทำความเย็น #Refrigerant #ระบบHVAC #ภาวะโลกเดือด #GWP
โฆษณา