ถอดบทเรียน "สิงคโปร์แอร์ไลน์" จากภัยร้าย โลกร้อน

🛬 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เครื่องบินสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ321 ประสบกับเหตุการณ์ตกหลุมอากาศรุนแรง ขณะบินอยู่ที่ความสูง 37,000 ฟุต ระหว่างบินเหนือน่านฟ้าเมียนมา ส่งผลให้ผู้โดยสารและลูกเรือได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก จนกระทั่งมีผู้เสียชีวิต ทำให้เที่ยวบิน SQ321 ต้องลงจอดฉุกเฉินที่สนามบินสุวรรณภูมิ
เหตุการณ์นี้สร้างความตื่นตระหนก และสร้างแรงกระตุ้นให้หลายฝ่ายทั่วโลกตั้งคำถาม-หาคำตอบถึงสาเหตุ รวมไปถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
ปกติแล้ว "หลุมอากาศ" (Turbulence) เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของอากาศในบริเวณพื้นที่หนึ่ง ที่ส่งผลต่อแรงกดอากาศ ทำให้เกิดกระแสลมขึ้นหรือลงอย่างรุนแรง โดยทั่วไปแล้วจะเกิดจากพายุฝน กระแสลมเหนือเทือกเขา หรือกระแสลมกรด (Jet Stream) ในกรณีที่อากาศแจ่มใส​ ซึ่งสามารถทำให้เครื่องบินเคลื่อนที่และเปลี่ยนระดับความสูงอย่างกะทันหัน
การตกหลุมอากาศของเครื่องบินเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบไม่รุนแรง แต่ไม่นานมานี้งานวิจัยพบว่า "วิกฤตโลกร้อน" เป็นตัวช่วยเร่งความปั่นป่วนของอากาศให้เกิดขึ้นถี่ และ รุนแรงมากขึ้น ซึ่งในช่วงปี 2050-2080 จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเพิ่มอีกด้วย
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์ Facebook ระบุว่า "เครื่องบินอาจตกหลุมอากาศบ่อยขึ้นแม้บินอยู่ในท้องฟ้าที่ปลอดโปร่งที่สัมพันธ์กับการที่โลกเข้าสูภาวะโลกเดือด"
"โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนที่ทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกสูงขึ้น 1.2-1.4 องศาก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยเฉพาะบรรยากาศระดับสูงจากผิวโลกขึ้นไป 20 กิโลเมตร อุณหภูมิบรรยากาศยิ่งร้อนมากขึ้น ทำให้ลมกรด (Jet Stream) ที่มีความเร็วสูงถึง 200-400 กม./ชม. มีความเร็วลดลง
ทำให้เกิดอากาศแปรปรวนในขณะที่อากาศปลอดโปร่งมากขึ้น ซึ่งทำให้เครื่องบินบินผ่านแรงยกจากปีกของเครื่องจะลดอย่างกะทันหัน เครื่องจะตกลงไปในมวลอากาศที่บางลง หรือ "หลุมอากาศ" โดยจะเพิ่มมากขึ้น 2 เท่าในปี 2050 ที่จะมีเครื่องบินต้องเจอกับหลุมอากาศที่รุนแรงมากขึ้นถึง 40%"
หรือสรุปได้คือ “ยิ่งโลกมีสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้นเท่าไหร่ หลุมอากาศก็จะยิ่งเกิดมากขึ้นเท่านั้น” ปกติแล้วหลุมอากาศจะถูกจับภาพกระแสลมจากพายุได้ แต่หลุมอากาศในวันฟ้าใสที่เกิดขึ้นกะทันหันไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยเรดาร์ จึงเป็นเรื่องยากมากสำหรับนักบินที่จะคาดการณ์ล่วงหน้า
ปัจจัยหลักที่เชื่อมโยงระหว่างภาวะโลกร้อนกับหลุมอากาศ ได้แก่ :
• อุณหภูมิที่สูงขึ้น
• ความชื้นที่เพิ่มขึ้น
• การเปลี่ยนแปลงของกระแสลม
การป้องกันและรับมือไม่ให้เกิดเหตุการณ์สูญเสียเกิดขึ้นอีก จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เช่น ผู้เกี่ยวข้องกับการบิน อย่างการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถรับมือกับหลุมอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐานความปลอดภัยจากนักบิน ลูกเรือ สู่ผู้โดยสาร
แต่นั่นคือการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเท่านั้น "สภาวะโลกร้อน" ที่เข้าใกล้กับชีวิตประจำวันของเราขึ้นทุกวัน นั้นเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องช่วยกันชะลอ และ หยุดยั้งสภาวะโลกร้อน ต้นเหตุที่แท้จริงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนอย่างรวดเร็วที่สุด
เราทุกคนในธุรกิจ และอุตสาหกรรมปรับอากาศและทำความเย็น กำลังเข้าสู่การ "เปลี่ยน" ผ่านยุคสมัยของอุตสาหกรรมในแต่ละปี ไปพร้อมๆ กัน ทั้งในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ที่ควบคู่ไปกับความยั่งยืนและความพยายามในการต่อสู้กับสภาวะเปลี่ยนแปลงของอากาศทั่วโลก เพราะธุรกิจต้องก้าวหน้าไปพร้อมกับโลกที่ดีกว่าเดิม
🍃 เปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็น GWP ต่ำ ไม่เพียงแต่เพิ่มประสิทธิภาพของระบบปรับอากาศและทำความเย็นของคุณ แต่ยังสอดคล้องกับกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสากลที่ยั่งยืนเพื่ออนาคตของโลก และคนรุ่นต่อไป
เข้าสู่ปีที่ 10 เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนา เปลี่ยนแปลง เพื่อสิ่งที่ดีที่สุดให้กับทุกท่าน l 𝗖𝗵𝗮𝗻𝗴𝗲 𝗳𝗼𝗿 𝘁𝗵𝗲 𝗯𝗲𝘁𝘁𝗲𝗿
ดูรายละเอียดสารทำความเย็นทั้งหมดได้ที่ : https://www.coldersolution.co.th/products/
ติดต่อเรา :
Line id : @Colder หรือคลิก : https://lin.ee/VEnKS4M
#น้ำยาแอร์ #น้ำยาทำความเย็น #สารทำความเย็น #Refrigerant #ระบบHVAC #ภาวะโลกเดือด #GWP #หลุมอากาศ #GlobalWarming
โฆษณา