25 พ.ค. เวลา 01:29 • ปรัชญา
เรื่องราวของจิตใจ นั่นพูดกันยาก เหมือนกับ ว่า เราไปพบสัตตบุรุษ ท่านนั่งนิ่ง อยู่ที่โคนโพธิ์ ฝนตกแดดออก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า อสรพิษเลื้อยขึ้นมาที่เรือนกาย ท่านก็นั่งนิ่งเฉย ไม่ขยับเขยื้อนกาย กายนั่นไม่สั่นไหว เราก็ไม่รู้ว่า ท่านนิ่งด้วยอะไร อะไรทำให้ท่านนั่งนิ่ง เหมือนพระปฏิมากรรม ท่านทำได้อย่างไร เราก็ตอบไม่ได้ เพราะเราเข้าไม่ถึงในสิ่งที่ท่านกระทำ
แต่เราเห็นแล้ว เราก็อยากทำตามท่านบ้าง แต่ก็ยากเย็นแสนเข็น ที่จะทำให้กายนิ่ง จิตนิ่งได้ อารมณ์มันคอยจะกระพือทำให้หวั่นไหว มีความเจ็บปวดรัดรึงเรือนกาย เราก็บังคับกายให้นิ่งไม่ได้ แต่พอกายนิ่งได้หน่อย ความเจ็บปวดปวดร้าว เหมือนนั่งอยู่ในกองไฟ จิตเราก็ทนไม่ไหว เหมือนในกายมันอัดแน่น มีกระแสลมพริ้วเชือดเฉือนจิต มันทุกข์ทรมาน
เหมือนเดินเข้าไป ให้มีมีดแหลมคมเชือดเฉือนจิต เป็นสีแสงดำม่วงปรากฏ ทั้งเจ็บทั้งปวดทุกข์ทรมาน ก็พยายามประคองจิตประคองกาย ต่อสู้อณูธาตุที่เป็นกรรม รักษากายให้นิ่งจิตนิ่งปลดเปลื้องทุกข์ไห้ไหล ออกไปจากเรือนกาย เพื่อสะสางธาตุทั้งสอง ขันธ์ห้า วิญญาณทั้งหก มีเป็นกรรม ..ให้มาเป็นธรรม มันชั่งทุกข์ทรมาน เมื่อไหรหนอ จะยุติกรรม หยุดเกิดไม่มีกาย
..ไปนั่งนิ่งๆ นั่งเฉย มดกัดยุงกัด เราก็นิ่งก็เฉย เราก็ทนไป นั่งนิ่งๆ ทนต่ออารมณ์ที่มันคัน .มันเจ็บ จะได้ไปทน ..ทนปากคนที่เหมือนมดเหมือนยุงที่มันกัด ..แค่มดตัวเล็กๆ ยุงตัวน้อยขอเลือดสังหยอด ยังให้ไม่ได้ ..แล้วจะไปทนปากคน คำติคำชมไปได้อย่างไร
ที่ทนนิ่งเพิกเฉยในโลกธรรม นิ่งไม่ให้เกิดมรกรรม ไม่ไปยึดไปถือเข้ามาเให้เกิดเป็นตัวเป็นตน เป็นตัวโกรธโมโหโกรธา ลมเข้าก็โกรธ ลมออกก็โกรธ เลือดในกายติดขัดเป็นสีดำ หน้าดำหน้าแดง เป็นอิทธิฤทธิ์ของอารมณ์โกรธ ..หากนิ่งเสียได้ กายวาจาใจ ก็ไม่แปดเปื้อนด้วยอารมณ์ ที่หูที่ตาไปสัมผัสไปยึดไปถือ เจ้ามาให้แก่ ..จ้ตก็มีสติ ให้กายนิ่ง จิตนิ่ง ปลดเปลื้องอารมณ์กรรมตัวกระทำ
โฆษณา