25 พ.ค. 2024 เวลา 09:13 • ยานยนต์

18 ข้อควรระวังจากช่างติดตั้ง wall charger(EV)

ใช้รถไฟฟ้าไม่กลัวไฟไหม้เหรอ?
เรื่องไฟไหม้เป็นความกังวลของคนที่จะซื้อรถไฟฟ้า ทุกคน แต่ในความเป็นจริงปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยๆที่ใครหลายคนอาจจัยังไม่รู้ คือปัญหาไฟไหม้ของระบบชาร์ตไฟให้กับรถไฟฟ้า ของ เครื่อง wall charger (ที่ติดตั้งสำหรับชาร์ตรถที่บ้าน) โดยจากประสบการณ์ในการติดตั้งเครื่องชาร์ตกับช่างโดยตรง ทำให้ได้เรียนรู้ข้อควรระวัต่างๆงจากทีมช่าง มาแชร์ให้ได้เรียนรู้ไปด้วยกัน โดย 9 ข้อควรระวังในการติดตั้ง wall charger เพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยมี ดังนี้
1.ขนาดมิเตอร์และขนาดสายไฟฟ้าต้องรองรับกับขนาดwall charger
2.ตู้ consumer และเบรกเกอร์ แบบ plug on(แบบที่ใช้กับลูกเบรคเกอร์ที่มีขาเสียบ)ไม่เหมาะกับงานwall charger
3.การต่อสายเข้ากับจุดเชื่อมต่อต่างๆ สายไฟควรย้ำหางปลาด้วยไฮโดรลิค ก่อนนำไปต่อทุกจุด
4.จุดเชื่อมต่อทุกจุดต้องแน่นเพียงพอ และเบรคเกอร์ควรติดตั้งให้มีช่องว่างเพื่อระบายความร้อนได้
5.สายเมนที่ต่อเข้าเมนเบรคเกอร์ทั้งสองเส้นไม่ควรเดินสายLและะNแยกกัน ควรเดินในท่อเดียวกัน(ภายในอาคาร)
6.ระบบตู้ไฟต้องมีการเดินสายดิน และแท่งกราวน์ต้องขนาดได้ตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อให้ได้ค่ากราวน์ที่ได้ตามข้อกำหนด
7.การต่อสายกราวน์กับแท่งกราวน์ควรใช้split bolt จะแน่นกว่าแบบตัวรัดรูปหัวใจ
8. เมนเบรคเกอร์ MCB.ไม่ควรใช้แบบที่เป็นกันดูด(wall charger จะมีกันดูดติดมาเป็นsetอยู่แล้ว การติดกันดูดก่อนอีกชุดอาจทำให้การชาร์ตมีปัญหาได้
9. ขนาดสายไฟในตู้ไฟ ต้องมีขนาดรองรับกับกระแสไฟ
10.หลีกเลี่ยงการม้วนสายไฟในระบบชาร์ต และสายของเครื่องชาร์ต
11.สายที่ใช้ควรใช้สายทองแดงขนาดเหมาะสม ไม่ควรใช้สายอลูมิเนียม
12.คำนวนหรือวัดloadไฟทั้งหมดและเอามารวมกับเครื่องชาร์ตก่อนจะติดตั้งเสมอ (เมื่อติดตั้งโดยใช้มิเตอร์ร่วมกับไฟบ้าน)
13.ระบบเดินสายของการไฟฟ้านครหลวงและภูมิภาค มีความแตกต่างกัน ต้องศึกษาก่อนติดตั้ง(กรณีต้องขอมิเตอร์ลูกใหม่หรือเพิ่มTOUการไฟฟ้าอาจตรวจแล้วให้แก้ไขทำใหุ้ยุ่งยาก)
14.ควรติดตั้งเครื่องชาร์ตให้อยู่ในร่ม ไม่โดนแดดและฝนจะดีที่สุด
15.จุดติดตั้งควรมีการระบายอากาศที่ดี
16.ต้องติดตั้งระบบชาร์ตในระยะที่พ้นมือเด็ก
17.เมื่อช่างติดตั้งเสร็จ ควรทดสอบการชาร์ต และทวนสอบกระแสไฟขณะขาร์ตอีกครั้ง
18.จุดติดตั้งครื่องชาร์ตและชีเสียบชาร์ตของรถขณะจอดชาร์ต ต้องไม่ไกล้กันเกินไป (สายชาร์ตยาว 5 เมตร ขณะชาร์ตต้องไม่ม้วนสาย)
ปัญหาเรื่องจุดเชื่อมต่อต่างๆของระบบไฟหลวม และปัญหาการสะสมความร้อนต่างๆ ถือเป็นเรื่องหลักๆที่จะทำให้เกิดไฟไหม้ได้ การเลือกอุปกรณ์ และขั้นตอนการติดตั้งจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะบางทีเราอาจลืมไปว่าตอนเราชาร์ตรถนั้นมันจะกินไฟเทียบเท่ากับการเปิดแอร์ขนาด 18,000 BTU พร้อมๆกันถึง 5 ตัว (แถมการชาร์ตรถต่อเนื่องยังไม่มีการตัดไฟเหมือนแอร์อีก)
บ้านของผมเองก็เช่นกัน ตอนผมชาตร์รถมันใช้ไฟประมาณ 3 เท่าของไฟทั้งบ้านผมเลยทีเดียว ดังนั้นใครกำลังจะติดตั้งเครื่องชาร์ตไว้ใช้ที่บ้านเพื่อความประหยัด ข้อควรระวังต่างๆที่ผมรวบรวมมา คงพอจะช่วยเป็นแนวทางที่ทำให้ทุกคนได้ใช้รถไฟฟ้าอย่างปลอดภัยกันทุกบ้านนะครับ
โฆษณา