หมึกกระดองลายเสือ เจ้าป่าใต้มหาสมุทร

หมึกกระดองลายเสือ หรือ หมึกแม่ไก่ (𝙋𝙝𝙖𝙧𝙖𝙤𝙝 𝙘𝙪𝙩𝙩𝙡𝙚𝙛𝙞𝙨𝙝) หมึกกระดองลายเสือมีลำตัวกว้าง ครีบกว้างทอดยาวตลอดด้านข้างของลำตัว ด้านหลังของลำตัวและส่วนหัวมีลายคล้ายลายเสือพาดขวาง และมีกระดอง (cuttlebone) เป็นแผ่นแข็งสีขาวขุ่น เป็นสารประกอบจำพวกหินปูน ซึ่งเรียกกันว่า "ลิ้นทะเล"
เพศผู้จะมีลายมีสีม่วงเข้ม ส่วนเพศเมียจะมีลายที่แคบกว่า และสีจางกว่า ที่บริเวณหัวมีหนวด (arm) 4 คู่ และหนวดจับ (tentacle) 1 คู่ และหนวดคู่ที่ 4 ข้างซ้ายของเพศผู้ใช้สำหรับการผสมพันธุ์ หมึกชนิดนี้จะออกหากินในเวลากลางคืน กินสาหร่าย กุ้ง ลูกปู หอย ปลา และหมึกทะเลด้วยกันเอง พบตามชายฝั่งที่ระดับน้ำลึกตั้งแต่ 10-110 เมตร ในอ่าวไทย และฝั่งทะเลอันดามัน
ซึ่งหมึกมีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ และมีความสำคัญในห่วงโซ่อาหาร รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
ที่มา : อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน จ.พังงา
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)
#หมึกกระดองลายเสือ #หมึกแม่ไก่ #อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน #กรมอุทยานแห่งชาติ #พังงา
โฆษณา