28 พ.ค. เวลา 13:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

โอกาสลงทุนหุ้นเวียดนาม ตลาดร้อนแรงแห่งอาเซียน

  • ปัจจัยการลงทุนในเวียดนาม
เวียดนามตั้งเป้าหมายการขยายตัวของ GDP ปีนี้ที่ 6.0%-6.5% ซึ่งสูงกว่าการขยายตัว 5.05% ในปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะโตเฉลี่ยเร็วที่สุดในเอเชียที่ 6.7% ต่อปีในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยมาจากปัจจัยสนับสนุนคือ การลงทุนจากภาครัฐ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
ประเทศเวียดนามได้ประโยชน์จากสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ส่งผลให้มีการลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้าเวียดนาม โดยเฉพาะภาคการผลิตที่ปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 80% ของ FDI ทั้งหมด ซึ่งในปี 2023 เวียดนามดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ได้ถึง 3.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือโตขึ้น 32% เมื่อเทียบกับปี 2022 ในขณะที่ FDI ของประเทศอื่นๆ ในแถบเอเชียปรับตัวลดลง และเวียดนามมีการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTAs) มากที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน รวมถึงปัจจุบันเวียดนามกำลังพัฒนาเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีแห่งใหม่ของเอเชีย
จากประเด็นสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ทำให้เวียดนามได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิต เนื่องจากเวียดนามมีความสามารถในการแข่งขันทางต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ด้วยความต้องการ diversify supply chain ในการจัดหาวัสดุจากหลากหลายแหล่งของผู้ผลิตระหว่างประเทศ ความมั่นคงทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ และแรงงานที่มีคุณภาพ
ยิ่งไปกว่านั้นเวียดนามได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์จากการที่มีชายแดนติดกับจีน และอยู่ใกล้กับเส้นทางเดินเรือขนส่งทำให้มีค่าแรงที่ถูก ส่งเสริมให้เวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางที่ดีที่สุดในการลงทุนจากนานาชาติ การลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลทำให้มีความต้องการแรงงานมากขึ้น
การเติบโตของกำไรต่อหุ้น (EPS) เวียดนามสูงที่สุดในอาเซียน โดยคาดว่าสูงถึง 32% ในปี 2024 และ 28% ในปี 2025 ด้านราคาของตลาดหุ้นเวียดนามเมื่อพิจารณาจากค่า Forward P/E เฉลี่ย 12 เดือนอยู่เพียง 10.7 เท่า ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ที่ประมาณ 14-15 เท่า
ความมุ่งมั่นของรัฐบาลเวียดนามในการประกาศร่าง Non-Prefunding สำหรับนักลงทุนต่างชาติ ทำให้นักลงทุนสนใจตลาดหุ้นเวียดนามและมีเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องในตลาดหุ้นมากขึ้นหากได้รับการอัพเกรดให้อยู่สถานะ Secondary Emerging Market ของ FTSE ภายในปี 2025
  • อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนต้องติดตาม ได้แก่
1. ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ
แม้ว่าเศรษฐกิจของเวียดนามคาดว่าจะเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่ยังคงอ่อนไหวต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจโลก หากประเทศคู่ค้า เช่น สหรัฐฯ เผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยเฉพาะภาคการส่งออก อาจจะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโต นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อของเวียดนามยังอยู่ในระดับสูงที่ประมาณ 3.4% ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อในประเทศ
2. ความเปราะบางของระบบการเงิน
ภาคธนาคารของเวียดนามยังคงมีความเปราะบางและค่อนข้างไม่โปร่งใส ในขณะที่อัตราการเติบโตของสินเชื่อที่สูงและการลดลงของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอาจสร้างความเสี่ยงด้านสภาพคล่องต่อระบบการเงิน
3. ความเสี่ยงทางการเมืองและการกำกับดูแล
การทุจริตในระบบราชการเป็นความท้าทายที่สำคัญของเวียดนาม นอกจากนี้ระบบกฏหมาย โดยเฉพาะด้านการบังคับใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและกฏหมายไซเบอร์ถูกมองว่าอาจเป็นอุปสรรคเพิ่มเติมสำหรับนักลงทุนต่างชาติ
4. ความเสี่ยงทางด้านตลาด
ตลาดหุ้นเวียดนามแม้จะมีศักยภาพ แต่ปัจจุบันยังถูกจัดประเภทเป็น frontier market และมีเสี่ยงต่อความผันผวนสูง อย่างไรก็ดี ทางการเวียดนามมีความพยายามในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของตลาด แต่ยังคงเผชิญกับความท้าทาย เช่น การใช้ระบบที่ยังไม่ได้มาตรฐานในการซื้อขายหุ้นและปัญหาสภาพคล่องที่ต้องได้รับการแก้ไข
ถ้าหากนักลงทุนท่านใด สนใจลงทุนกับกองทุนที่มีการลงทุนในเวียดนาม กองทุนเปิดพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ (PRINCIPAL VNEQ) เป็นทางเลือกที่ท่านสามารถพิจารณาได้
📌 กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารแห่งทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หรือมีธุรกิจหลักในประเทศเวียดนาม ที่เชื่อว่ามีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต
รวมทั้งตราสารทุนอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องและ/หรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ ทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าว และ/หรือตราสารทุนของผู้ประกอบการเวียดนามที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอื่น และ/หรือกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งทุน และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟตราสารทุนต่างประเทศ ที่เน้นลงทุนในตราสารทุนประเทศเวียดนาม โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
📌 Top Sectors (% NAV)
  • ธนาคาร 29.19%
  • เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 9.77%
  • เงินทุนและหลักทรัพย์ 7.96%
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ 7.52%
  • เหล็ก 7.31%
📌 Top Holdings (% NAV)
  • FPT CORP: FPT VN 9.77%
  • MOBILE WORLD INVESTMENT CORP: MWG VN 7.52%
  • MILITARY COMMERCIAL JOINT STOCK BANK: MBB VN 7.50%
  • HOA PHAT GROUP JSC: HPG VN 7.31%
  • Housing Development Bank: HDB VN 7.22%
📌 กองทุนมีความเสี่ยงระดับ 6 (เสี่ยงสูง)
นักลงทุนสามารถดาวน์โหลดหนังสือชี้ชวน ได้ที่…
คุณ ลลิภัสร์ กมลปรียาพัฒน์ ที่ปรึกษาการลงทุน Investment Strategist ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (มหาชน)
คุณ จิรไพบูลย์ รัตนภาณุรักษ์ (IP, FM, IA) รองผู้อำนวยการ ที่ปรึกษาทางการเงิน Investment Strategist ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
คำเตือน: ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน ข้อมูลนี้จัดทำโดยอาศัยที่มาจากแหล่งข้อมูลสาธารณะซึ่งปรากฎขณะจัดทำ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปแต่ละขณะ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลและพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
สามารถติดต่อเพื่อขอคำแนะนำการลงทุน หรือ ขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา โทร. 02 626 7777 หรืออีกช่องทางในการติดต่อผ่าน LINE Official Account CIMB THAI Wealth & Preferred คลิก https://lin.ee/GTvhTHd
โฆษณา