28 พ.ค. 2024 เวลา 10:40 • หุ้น & เศรษฐกิจ

⚠️ เกษียณควรมีเงินเก็บจริงๆเท่าไหร่กันแน่หลังคนส่วนใหญ่มองข้ามเงินเฟ้อ‼️

หลายๆคนคงได้วางแผนเกษียณไว้กันเรียบร้อยแล้ว และก็มีอีกหลายๆคนที่กำลังวางแผน หรือเริ่มที่จะวางแผนอยู่ ดังนั้นวันนี้นิคกี้มีการทำแผนคร่าวๆมาให้ดูกันค่ะว่าจริงๆแล้ว แผนการเกษียณที่วางกันไว้นั้นเพียงพอจริงๆหรือไม่
2
โดยปกติแล้วเวลาเราจะวางแผนเกษียณกัน เรามักเริ่มต้นด้วยคำถามว่า เราอยากมีเงินใช้หลังเกษียณต่อเดือนกี่บาท? จะเกษียณที่อายุเท่าไหร่? และ คาดว่าจะมีอายุหลังเกษียณอีกกี่ปี? ซึ่งพวกนี้เป็นคำตอบที่ตอบกันได้อยู่แล้ว แต่สิ่งนึงที่หลายๆคนมักจะลืมไปก็คือ เรื่องของอัตราเงินเฟ้อ นั่นเองค่ะ
2
อัตราเงินเฟ้อเป็นภัยคุกคามหลังของชีวิตหลังเกษียณ ซึ่งถ้าให้อธิบายง่ายๆ อัตราเงินเฟ้อ คือ ภาวะที่ของแพงขึ้น หรือ เงินจำนวนเท่าเดิมแต่ซื้อของได้น้อยลงนั่นเองค่ะ และเงินเฟ้อเองก็ตกอยู่ในกฏเดียวกับอัตราดอกเบี้ยคือ มันมีการทบต้นทุกปีนั่นเองค่ะ
📌 ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย
✅ วันนี้มีเงิน 150 บาท แต่ข้าวจานละ 50 บาท เราจะซื้อข้าวกินได้ 3 จาน
❌ ผ่านไป 10 ปี เรามีเงินเท่าเดิมที่ 150 บาท มาซื้อขาวจานเดิม ร้านเดิม ปริมาณเท่าเดิม แต่เพราะเงินเฟ้อ ทำให้ราคาข้าวขยับขึ้นเป็น 75 บาท ดังนั้นสรุปว่า เราจะซื้อข้าวได้แค่ 2 จานเท่านั้น
ดังนั้นถ้าเราอยากจะให้ชีวิตเหมือนเดิม อยากกินข้าวได้เท่าเดิม หรืออยากใช้ไลฟ์สไตล์เหมือนเดิม เราจะต้องเผื่อเงินไว้มากขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งในที่นี้คือ ต้องมีเงิน 75 x 3 = 225 บาท นั่นเองค่ะ
🎯 วางแผนเกษียณให้ถูกต้องตั้งแต่วันนี้โดยคำนวณเงินเฟ้อเข้าไปด้วย
จากตัวอย่างข้างต้น เราจะเห็นแล้วว่าถ้าเราอยากทำทุกอย่างหลังเกษียณได้เหมือนกับที่วางแผนไว้ในตอนนี้ เราจะต้องเก็บเงินเพิ่มขึ้นอีกแน่ๆแหละ แต่จะมากหรือจะน้อยแค่ไหน อันนี้แล้วแต่อายุของแต่ละคนค่ะ โดยคนที่อายุน้อยๆก็จะโดน “กฏของดอกเบี้ยทบต้น” เล่นงานอย่างหนักหน่วง ส่วนคนที่ใกล้เกษียณแล้ว ก็จะโดนผลกระทบตรงนี้น้อยกว่าค่ะ
1
📈 วิธีอ่านตาราง
วิธีอ่านไม่ยากค่ะ นิคกี้ได้แบ่งระดับของเงินเดือนหลังเกษียณไว้ตามสีเลยค่ะ ไล่ตั้งแต่ 10,000 บาท ไปยัง 50,000 บาท และมีการแบ่งไว้ตามแนวตั้งอีกด้วยว่า เรามีเวลาอีกกี่ปีก่อนที่จะเกษียณ
รวมถึงมีช่อง เงินที่คาดว่าจะต้องมี ณ วันเกษียณ ไว้ให้ด้วย ซึ่งอันนี้ย้ำนะคะว่า เป็นเงินเดือนที่ยังไม่ได้หักเงินเฟ้อ (ซึ่งนิคกี้เดาว่าหลายๆคนใช้วิธีคำนวณแบบนี้เลย เช่น อยากมีเงินใช้เดือนละ 3 หมื่น และคาดว่าจะมีอายุอีก 20 ปี > ก็จับ 30,000 x 12 เดือน x 20 ปี ไปเลย)
ส่วนช่องที่สำคัญที่สุดคือช่อง “เงินที่ควรเก็บได้จริงๆ ณ วันเกษียณ” ซึ่งอยากที่นิคกี้เล่าไปข้างต้นแล้วว่า เงิน 30,000 ในวันนี้ กับเงินใน 30,000 ในวันหน้า ซื้อของได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นช่องนี้จะเป็นการเผื่อเรื่องนี้เอาไว้แล้วนั่นเองค่ะ (หรือพูดอีกแบบคือ เป็นจำนวนเงินในอนาคตที่จะทำให้คุณซื้อของได้เท่าเดิม)
📍เพื่อให้เห็นภาพ ยกตัวอย่างว่า นิคกี้อายุ 30 ปี อยากมีเงินใช้ต่อเดือนหลังเกษียณที่เดือนละ 30,000 บาท และคาดว่าจะมีอายุถึง 80 ปี และจะเกษียณตอนอายุ 60 ปี
1️⃣ เงินเดือน 30,000 บาท หลังเกษียณ ให้ดูที่ช่องสีชมพู
1
2️⃣ นิคกี้อายุ 30 และคิดว่าจะเกษียณที่ 60 แสดงว่า นิคกี้มีเวลาก่อนเกษียณอยู่ที่ 60-30 = 30 ปี > ดังนั้นเราก็จะไปดูที่แถว 30 ปี และสีชมพูค่ะ
3️⃣ ถ้าดูตามข้อ 1 และ 2 จะพบว่า มูลค่าเงิน 30,000 บาท ตอนนิคกี้เกษียณในอีก 30 ปีข้างหน้า จะเหลืออยู่แค่ 12,359 บาทเท่านั้น (ซื้อของได้เท่านี้เลยในปัจจุบัน เพราะอีก 30 ปีของแพงขึ้นหมด)
4️⃣ เงินที่คาดว่าจะต้องมี ณ วันเกษียณ ช่องสีชมพู แบบปกติที่คนทั่วไปคิดกัน ก็จะเท่ากับ 30,000 บาทต่อเดือน x 12 เดือน x 20 ปี ก็จะออกมาเท่ากับ 7,200,000 บาท ค่ะ > อันนี้จะเท่ากันหมดทุกช่วงอายุ เพราะยังไม่ได้หักเงินเฟ้อ
1
แต่ที่ไม่เท่าคือ เงินที่ต้องเก็บต่อเดือน ค่ะ เพราะอย่างนิคกี้เองต้องมีเงิน 7.2 ล้าน แต่นิคกี้มีเวลาอีก 30 ปีก่อนเกษียณ ดังนั้นนิคกี้ต้องเก็บเงินเดือนละ 2 หมื่นบาท
ส่วนถ้าเป็นคนที่อีก 10 ปีจะเกษียณ จะต้องเก็บเงินเดือนละ 6 หมื่นบาท‼️
5️⃣ แล้วถ้านิคกี้อยากใช้จ่ายได้เหมือนคนมีเงินเดือนละ 3 หมื่นบาท ตอนเกษียณล่ะ ควรมีเงินเท่าไหร่กันแน่ คำตอบให้ไปดูตรงช่อง “เงินที่ควรเก็บได้จริงๆ ณ วันเกษียณ” ค่ะ โดยช่องนี้จะมีการคำนวนเผื่อเงินเฟ้อที่ปีละ 3% ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ในกรณีของนิคกี้เอง จะเป็น 17,476,289 บาท 🤯
ถ้าเราคิดเลขแบบคนทั่วไป เราจะมีเงินเก็บแค่ 7.2 ล้าน แต่จริงๆแล้วเราต้องใช้เงินถึง 17 ล้าน‼️
1
🔥 เห็นแบบนี้แล้ว นิคกี้แนะนำว่า รีบวางแผนกันใหม่ รีบเก็บเงิน และรีบลงทุนค่ะ 🔥
⚠️ จะเห็นว่ายิ่งอายุน้อย เงินที่ต้องเก็บจริงๆ จะมากกว่าที่คิดเป็นเท่าตัว
⚠️ ยิ่งอายุน้อยๆ เงินที่คิดว่าตอนนี้พอใช้ แต่พอถึงเวลาเกษียณจริงๆ มูลค่าหายไปเกินครึ่ง
‼️ ตารางนี้ใช้ตัวเลขเงินเฟ้อที่ 3% ต่อปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณอีก 20 ปี และหลังเกษียณไม่มีเงินเฟ้อ ดังนั้นถ้าใครคิดว่าจะอายุยืนมากๆ และเงินเฟ้อจะไปต่อเรื่อยๆ ตัวเลขจริงๆจะเยอะกว่านี้อีกค่ะ
1
ถ้าเพื่อนๆเห็นว่าเป็นประโยชน์ อย่าลืมกด like กด share และกด follow นิคกี้ไว้ด้วยนะคะ จะได้มีคนเกษียณสุขในประเทศไทยกันเยอะๆค่ะ 😊
ปล. ใครวางแผนมีตังใช้หลังเกษียณเหมือนคนเงินเดือน 5 หมื่นบาท ถ้าอายุยังน้อยๆ ต้องเก็บเงินเกือบ 30 ล้านเลยทีเดียวค่ะ เป็นล้มแพร็บ 😰
3
โฆษณา