15 มิ.ย. 2024 เวลา 00:00 • การเมือง

บทความ Blockdit ตอน ลีกวนยูสร้างชาติอย่างไร ตอน 19 ร้องเพลงชาติของชาติอื่น

สร้างผู้นำใหม่
วันหนึ่งในปี 1974 เมื่อสิงคโปร์ได้รับเอกราชมาเก้าปี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ฮันรุ่ยเซิน บอกลีกวนยูว่า เขาจะไม่ลงสมัครเลือกตั้งครั้งต่อไป “ผมอายุใกล้หกสิบปี ได้เวลาเกษียณแล้ว”
ลีกวนยูบอกว่า “คุณยังไม่แก่ จะหาใครมาแทนคุณได้ล่ะ”
หันรุ่ยเซินบอกว่า “ตอนนี้ทุกอย่างเดินไปได้ดี นักลงทุนเชื่อมั่นในตัวนายกฯ และคณะรัฐมนตรี แต่อนาคตล่ะ พวกเขามองไม่เห็นว่ามีคนหนุ่มที่ไหนจะสามารถมานั่งตำแหน่งการคลังแทนผมได้”
หันรุ่ยเซินบอกว่า พวกซีอีโออเมริกันเกษียณตอน 65 แต่ก่อนเกษียณหลายปี จะเสนอชื่อผู้มีความสามารถที่จะมาแทนแต่เนิ่นๆการคุยกันครั้งนั้นทำให้ลีกวนยูคิดว่า ตนเองจำเป็นต้องหาคนรุ่นใหม่ที่เก่งพอ มารับตำแหน่งต่อจากเขาอย่างจริงจังแล้ว
ความจริงผู้นำสิงคโปร์ก็คิดหาตัวตายตัวแทนมาหลายปีแล้วแต่หาไม่ได้ การหาคนระดับผู้นำมาทำงานการเมืองเป็นกระบวนการที่ยากมาก คนจำนวนไม่น้อยเก่ง มีภาวะผู้นำประสบความสำเร็จในการบริหาร แต่ไม่ใช่นักการเมืองโดยธรรมชาติ ไม่ทุกคนสามารถตอบคำถามทางการเมือง อธิบายเรื่องการเมืองต่อประชาชน รัฐสภา ฯลฯ
หันรุ่ยเซิน
คุณสมบัติสำคัญที่ไม่ได้สอนในโรงเรียนหรืออาจสอนไม่ได้คือภาวะผู้นำ ภาวะผู้นำเป็นผลรวมของความกล้า ความมุ่งมั่น บุคลิก ความสามารถที่ทำให้คนอื่นเดินตาม
ในบรรดารัฐมนตรีทุกคน หันรุ่ยเซินเป็นคนเก่งที่สุดในการคัดหาคน เขาเป็นคนค้นพบโกช็อกตง และชวนไปบริหาร Neptune Orient บริษัทเดินเรือแห่งชาติที่ขาดทุน โกช็อกตงทำให้มีกำไรได้สำเร็จ
หันรุ่ยเซินยังเป็นผู้ค้นพบ ดร. โทนี ตัน ที่ต่อมาเป็นรองนายกฯ ดร. โทนี ตัน เป็นอาจารย์สอนวิชาฟิสิกส์ในมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ และต่อมาเป็นผู้จัดการธนาคารที่ใหญ่ที่สุด Oversea-Chinese Banking Corporation และอีกหลายคน
ในปี 1970 เกิดเหตุยานอพอลโล 13 ขัดข้องกลางอวกาศระหว่างทางไปดวงจันทร์ มีโอกาสสูงมากที่ทั้งสามคนจะไม่ได้กลับมายังโลก นักบินอวกาศแก้ไขปัญหาอย่างใจเย็น โดยคุยกับศูนย์ควบคุมตลอดเวลาแก้ปัญหาไปทีละขั้นจนกลับโลกได้สำเร็จ
ลีกวนยูพลันพบว่าในสถานการณ์ฉุกเฉิน จิตวิทยาเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง หลังจากนั้นเขาก็ใช้นักจิตวิทยาและจิตแพทย์ในการทดสอบผู้สมัครที่จะมาเป็นผู้นำและตำแหน่งบริหารประเทศ
1
ลีกวนยูพบว่า ระบบการค้นหาผู้นำที่ดีที่สุดพัฒนาโดยบริษัทเชลล์ พวกเขาดูคุณสมบัติสามอย่างคือ พลังของการวิเคราะห์จินตนาการ และสำนึกความจริง (sense of reality)
รวมกันเรียกว่า helicopter quality คือความสามารถมองเห็นข้อเท็จจริงหรือปัญหาในภาพใหญ่ แยกแยะและซูมเข้าไปในรายละเอียดวิกฤต (critical details) ผู้สมัครคนหนึ่งที่โดดเด่นมากคือ ตันเต็กชุย (Tan Teck Chwee) ไม่มีผู้ทดสอบคนใดหลอกเขาได้ ไม่ใช่เพราะไอคิวสูงมากของเขาเท่านั้น แต่เขามีคุณสมบัติอ่านคนได้จากสีหน้า น้ำเสียง ภาษากาย ซึ่งสอนกันยาก ต่อมาเขารับตำแหน่งประธาน Public Service Commission ช่วงปี 1975-1988
1
(Public Service Commission - PSC เป็นองค์กรใต้รัฐธรรมนูญของสิงคโปร์ดูแลเจ้าหน้าที่สิงคโปร์ พิจารณาแต่งตั้งคนในตำแหน่งสูง และดูแลเรื่องทุนเล่าเรียนของรัฐบาล)
อีกคนคือลิมกิมซัน ผู้ที่รับตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแทนโกเคงซวีในตอนที่โกเคงซวีไปสร้างกองทัพสิงคโปร์ ลีกวนยูให้ลิมกิมซันเป็นคนหนึ่งที่คัดเลือกผู้สมัครของพรรค PAP ในการเลือกตั้ง เพราะเขาอ่านคนได้แม่นยำและถูกต้องเสมอ
1
ไม่ทุกคนที่เก่งมีคุณสมบัติอ่านคนได้ แม้แต่คนเก่งก็มีจุดอ่อนเรื่องนี้ ยกตัวอย่าง เช่น โกเคงซวี รัฐมนตรีคู่บุญของลีกวนยู มักรับคนมาทำงานแบบดูแค่ประวัติบนกระดาษ ผ่านไปพักหนึ่ง ก็ต้องหาคนใหม่
2
ร้องเพลงชาติของชาติอื่น
ลีกวนยูเขียนหนังสือไว้หลายเล่ม เขาบอกว่าเขาบันทึกเรื่องต่างๆ ไว้สำหรับคนสิงคโปร์รุ่นใหม่ซึ่งเห็นความเจริญก้าวหน้า ความมั่งคั่งเป็นเรื่องง่าย และไม่รู้ประวัติศาสตร์ว่าคนรุ่นก่อนๆ สร้างชาติมาได้อย่างไร
ลีกวนยูกล่าวว่า “ผมต้องร้องเพลงชาติของสี่ประเทศ เพลงชาติอังกฤษ God Save the Queen เพลงชาติญี่ปุ่น Kimigayo เพลง ชาติมาเลเซีย Negara Ku และสุดท้ายเพลงชาติสิงคโปร์ Majulah Singapura
นี่คือการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันในรอบหกสิบปีที่ผ่านมา...
“ยุทธศาสตร์หนึ่งของผมคือทำให้สิงคโปร์เป็นโอเอซิสในเอเชียอาคเนย์ เพราะถ้าเราได้มาตรฐานของโลกที่หนึ่ง (First World) นักธุรกิจและนักท่องเที่ยวก็จะทำให้เราเป็นฐานธุรกิจและการท่องเที่ยวของพวกเขาในภูมิภาคนี้...
1
“จะสำเร็จได้ สิงคโปร์จะต้องเป็นศูนย์กลางสากลสามารถดึงดูดรักษา และดูดคนเก่งจากทุกมุมโลก”
เขาบอกว่า ตอนนี้สิงคโปร์เป็นแบรนด์เนมไปแล้ว “ความพอใจที่สุดของผมมาจากการรวมพลังความมุ่งมั่นที่จะทำให้สถานที่นี้คัดสรรคนจากความสามารถ ปลอดคอร์รัปชั่น และความเท่าเทียมของทุกเชื้อชาติ และมันจะสืบทอดต่อไปหลังจากผม”
1
ลีกวนยูบอกว่า เขาสรุปได้จากประสบการณ์การพัฒนาของหลายประเทศในเอเชียว่า ต้องมีคนเก่งคนดี จึงจะมีรัฐบาลที่ดี ไม่ว่าระบบรัฐบาลดีอย่างไร ถ้าผู้นำเลว ก็พาลงเหวได้ ในทางตรงข้าม เขาเห็นหลายที่ที่มีระบบไม่ดี แต่คนดี ก็ยังพัฒนาไปไกลกว่าคนดีจึงสำคัญกว่าระบบดี เขาบอกว่าปัจจัยสำคัญที่สุดที่เป็นตัวตัดสินสร้างสิงคโปร์ขึ้นมาได้คือความสามารถของรัฐมนตรีและข้าราชการที่มีคุณภาพ และการใช้คนถูกตำแหน่งก็ช่วยได้มาก
7
ลีกวนยูบอกว่าโชคดีของสิงคโปร์อย่างหนึ่งคือ แม้เป็นประเทศเล็ก แต่มีคนเก่งเยอะ เพราะพวกเขาเน้นเรื่องการศึกษามาตลอด พวกเขาไม่ได้ต้องการสร้างมาตรฐานการศึกษาแค่ระดับภูมิภาค แต่ในระดับโลก
2
ติวเข้มเป็นนายกฯ
ผู้บริหารประเทศสิงคโปร์คัดเลือกคนที่จะมาเป็นนายกฯ คนที่สองมาหลายปีก่อนโอนถ่ายอำนาจ นั่นคือโกช็อกตง (Goh Chok Tong 吴 作棟) ลีกวนยูก็ติวเข้มโกช็อกตงมาล่วงหน้าถึงเก้าปีโกช็อกตงไม่ใช่ตัวเลือกตรงของลีกวนยู แต่เป็นตัวเลือกจากการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอย่างรอบคอบก่อนรับตำแหน่งนายกฯ โกช็อกตงมีประสบการณ์ในตำแหน่งรองนายกฯมาเจ็ดปี
1
ลีกวนยูวิเคราะห์โกช็อกตงไว้ว่า “ตัวสูง เก้งก้าง งุ่มง่าม พูดภาษาอังกฤษด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน พูดไม่เก่ง แต่มีความสามารถ ความมุ่งมั่น” เมื่อเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ลีกวนยูส่งโกช็อกตงไปเรียนทักษะการพูด หาครูชาวอังกฤษมาสอนเขา รวมทั้งรัฐมนตรีใหม่ๆ หลายคน
1
การเป็นผู้นำประเทศต้องพูดเป็น พูดอย่างผ่อนคลายและเป็นธรรมชาติ นี่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนจะมาเป็นผู้นำเก่งแค่ไหนก็ต้องสื่อสารเป็นด้วย สื่อสารเป็นคือทำให้คนฟังคล้อยตามได้
1
ผ่านไประยะหนึ่ง โกช็อกตงก็พัฒนาการพูดดีขึ้น ลีกวนยูพูดกับบรรดารัฐมนตรีว่า “รัฐมนตรีที่ดีไม่ใช่พวกที่จูบทารกและยิ้ม รัฐมนตรีที่ดีคือพวกที่ต้องตัดสินใจเรื่องที่ประชาชนไม่ชอบ และยังยิ้มได้ แล้วพิสูจน์ให้เห็นว่ามันทำงานได้ผล นั่นคือการเป็นรัฐบาล”
คนเป็นรัฐมนตรีต้องทำงานหนัก ไม่ใช่โชว์ ไม่ใช่สร้างคะแนนนิยม เมื่อคนใหม่พร้อมแล้ว และหลังจากเป็นนายกฯมา 31 ปี ลีกวนยูก็ลงจากตำแหน่งโดยไม่อาลัยอาวรณ์
โกช็อกตงรับไม้ต่อจากลีกวนยู เป็นนายกฯสิงคโปร์คนที่สองในปี 1990 เจอเหตุการณ์ทดสอบภาวะผู้นำหลายเรื่อง เช่น วิกฤตต้มยํากุ้งในปี 1997 โรคซาร์สระบาดในปี 2003 ก็สอบผ่านมาได้
ในปี 2004 ลีเซียนหลง (Lee Hsien Loong 李顯龍) บุตรชายลีกวนยูก็รับไม้ต่อ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่สาม และในปีนี้ (2024) ก็ส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง (Lawrence Wong 黄循財) รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโกช็อกตงไม่เข้าไปนั่งทำงานในออฟฟิศของลีกวนยูที่ Istana Annexe ที่ลีกวนยูใช้ทำงานมายี่สิบปี แต่ไปหาห้องทำงานใหม่ ไม่มีใครอยากนั่งในห้องเดิมของยักษ์ใหญ่
1
ประเทศไทยเรียนรู้อะไรจากสิงคโปร์ได้บ้าง
เรื่องหนึ่งที่เราเห็นเมื่ออ่านประวัติของลีกวนยูคือ สิ่งที่อยู่ในหัวของเขาตลอดชีวิตคือ “ฉันจะพัฒนาประเทศอะไรได้อีกไหม” เขาหายใจเข้าออกเป็นการพัฒนาประเทศ
3
นี่คือความแตกต่างระหว่างลีกวนยูกับผู้นําส่วนใหญ่ในโลก รวมทั้งประเทศไทย
1
นี่คือความแตกต่างระหว่างนักการเมืองกับรัฐบุรุษสิ่งที่อยู่ในหัวของนักการเมืองตลอดเวลาคือ “ฉันจะอยู่ในอำนาจต่อไปอีกนานที่สุดได้อย่างไร”
4
ในเรื่องศาสนา เราเรียนศาสนาต่างๆ ด้วยการศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ มันทำให้เราเข้าใจชีวิตดีขึ้น เราก็อาจทำอย่างเดียวในเรื่องการเมือง คือศึกษาการเมืองเปรียบเทียบ แล้วใช้ประโยชน์จากการศึกษามาพัฒนาชาติของเราสิงคโปร์ก็ใช้วิธีนี้ตอนที่สร้างชาติใหม่ๆ ในปี 1965 ดังที่ลีกวนยูเล่าว่า “ในปี 1965 เรามีเวลายี่สิบปีศึกษาตัวอย่างของรัฐที่ล้มเหลวมาแล้ว ดังนั้นเรารู้ว่ามีอะไรที่ต้องหลีกเลี่ยง”
3
ไทยเราก็มีตัวอย่างสิงคโปร์ให้ศึกษาเช่นกัน อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ
โกชอกตงกับลีเซียนหลง
นี่ก็คือ case study ของจริง แม้แต่เติ้งเสี่ยวผิงก็ศึกษาสิงคโปร์โมเดล และนำไปปรับใช้จริง ถ้าเติ้งเสี่ยวผิงใช้สิงคโปร์โมเดลไปพัฒนาจีนจนสามารถก้าวพ้นความยากจน ทำไมเราที่เป็นประเทศเล็กกว่าจะทำไม่ได้?
1
เริ่มที่เปรียบเทียบความแตกต่าง รักษาส่วนที่ดีอยู่แล้ว แก้ไขส่วนที่เราอ่อนด้อยกว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างไทยกับสิงคโปร์คือ ไทยมีคอร์รัปชั่น สิงคโปร์ไม่มี (หรือน้อยมากจนถือว่าไม่มี) ไทยมีการซื้อเสียง สิงคโปร์ไม่มี ไทยมีผู้นำแบบตัวแทน สิงคโปร์ไม่มี ไทยมีการโกงกินอย่างเป็นระบบและทุจริตเชิงนโยบาย สิงคโปร์ไม่มี
3
บทลงโทษของไทยมีสองมาตรฐาน สิงคโปร์ไม่มี ไทยวางแผนระยะสั้น (ส่วนมากจบใน 4 ปีเลือกตั้ง) สิงคโปร์วางแผนระยะยาว
1
ไทยปกครองระบอบ demagoguery ซ่อนในเปลือก democracy สิงคโปร์เป็น soft authoritarian (เผด็จการอย่างอ่อน) ซ่อนในเปลือก democracy ไทยยังมีความเชื่อ “โกงไม่เป็นไรถ้าเอามาแบ่งกัน” สิงคโปร์เชื่อว่า “โกงก็คือคุก” ฯลฯ
5
หากสิงคโปร์สร้างชาติจนกลายเป็น ‘first world’ โดยไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเลย ก็แปลได้อย่างเดียวว่า สิ่งที่แตกต่างระหว่างสำเร็จกับไม่สำเร็จคือคน
แต่การพัฒนาคนเป็นเรื่องใหญ่ เพราะคนที่พัฒนาแล้วคือคนที่มีความรู้ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และมีจริยธรรมจะ ‘คิดเป็น วิเคราะห์เป็น และมีจริยธรรม’ ได้หมายถึงการปฏิรูปหลายระบบ ระบบการศึกษา - สอนให้เด็กคิดเป็น ระบบจริยธรรม - สอนให้อายเป็น ละอายต่อคอร์รัปชั่น รังเกียจคนคอร์รัปชั่น ฯลฯ
4
ดังนั้นต่อให้ไทยเลือกใช้สิงคโปร์โมเดลแค่บางส่วน เราก็ยังต้องปฏิรูปประเทศในแทบทุกด้านเช่นกัน
สิ่งนี้เกิดขึ้นได้ยาก เพราะผู้นำไทยจำนวนมากเห็นว่า ปกครองคนโง่ง่ายกว่า นักการเมืองจึงไม่เคยคิดโครงการที่ใช้เวลา 20 ปี แค่คิดระยะสั้นๆ สี่ปี ให้ประชาชนเห็นตอนเลือกตั้ง เราได้รับการปลูกฝังให้รักชาติแต่เด็ก โดยยืนตรงเคารพธงชาติ และภูมิใจในเอกราชของเรา แต่ไม่ค่อยปลูกฝังความรักชาติแบบที่ต้องการให้ชาติพัฒนา
4
เมื่อเรารักบ้านที่เราอยู่อาศัย เราก็เก็บกวาดบ้านให้สะอาดซ่อมแซมส่วนผุพัง ทาสีใหม่เป็นระยะ ตรวจดูรอยปลวก รอยแตกของกระเบื้องหลังคา ฯลฯ ประเทศก็เช่นกัน ถ้าเรารักประเทศของเราจริงๆ เราก็ต้องรักษามันให้สะอาด ไม่ให้ปลวกกัดกิน เราไม่ขายเสียงเพราะ มันก็คือการทําลายชาติ เป็นต้น
1
เมื่อประเทศมีปัญหา เราชอบโทษนักการเมือง ซึ่งไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกทั้งหมด เพราะเราเองนั่นแหละที่ปล่อยให้นักการเมืองเลวๆ เข้าไปมีอำนาจ คุณภาพนักการเมืองก็สะท้อนคุณภาพประชาชน
5
ลีกวนยูพูดถึงความเจ็บปวดของการร้องเพลงชาติของชาติที่มายึดครองสิงคโปร์ หากเราไม่ระวัง ก้าวไม่ทันโลก เราก็อาจถูกชาติอื่นกลืน ทั้งทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ค่านิยม เศรษฐกิจ ในโลกศตวรรษที่ 21 การสูญเสียสิ่งเหล่านี้ก็ไม่ต่างจาการสูญเสียเอกราช เราไม่ต้องรอให้รัฐสร้างนโยบายการศึกษาที่ทําให้เราฉลาดคิดเป็น เราทำเองได้เลย เราไม่ต้องรอคนเทศน์เรื่องจริยธรรม เราเริ่มเองได้เลย
ทุกอย่างเริ่มที่เรา
4
หมายเหตุ วินทร์ เลียววาริณ
นี่เป็นตอนสุดท้ายของซีรีส์ชุด 'ลีกวนยูสร้างชาติอย่างไร'
ยังไม่จบทั้งหมด แต่จะรวมเรื่องที่เหลือและกระจัดกระจายตามที่ต่างๆ ไว้ในฉบับรวมเล่ม และจะมีภาพประกอบมากกว่าที่นำเสนอใน Blockdit รวมเป็นเล่มสมบูรณ์ครบความ
3
ชื่อหนังสือคือ 'สร้างชาติจากศูนย์' เป็นเล่มที่ 3 ในชุด ขะ-หยาย-กะ-บาน
2
วางตลาดในเดือนตุลาคมนี้
โฆษณา